แนวทางการพัฒนาระบบการเรียนแบบโครงงานสำหรับ “ผู้เรียนรู้ช้า”


ต้องสามารถ อธิบายได้ว่า การเรียนโดยทางเลือกใหม่นี้ จะสามารถทำให้ผู้เรียน มีกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระและวิชาต่างๆ ได้ใกล้เคียงกับกลุ่มเดิม ในขั้นตอนใดอย่างไร ที่ทำให้ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไปเข้าใจได้ง่ายๆ

 

สืบเนื่องจากการนำเสนอ สาเหตุทำให้ผู้เรียนมีระดับการเรียนรู้ต่ำ จากการแลกเปลี่ยนกับทีมงานของท่านขุนพลเม็กดำ เมื่อวาน ที่สวนป่าสตึก

 

ประเด็นสำคัญ คือ กลุ่มเม็กดำต้องการสร้างกระบวนการสอนที่สามารถช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของกลุ่มนักเรียนที่มีระดับการเรียนรู้ค่อนข้างต่ำ ที่สามารถอธิบายให้ผู้ปกครอง และบุคคลภายนอกเข้าใจได้ง่ายนั้น

 

นอกจากจะอธิบายตามหลักการการเรียนที่เน้นความสนใจ และการเรียนรู้ของเด็กก่อนการนำเข้าสู่สาระวิชา ก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องทั้งวางแผนการสนับสนุนการเรียนรู้ และดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ทั้งประเด็นความสนใจ ความถนัด และความสามารถในการเรียนรู้ แล้ว

 

ยังต้องสามารถ อธิบายได้ว่า การเรียนโดยทางเลือกใหม่นี้ จะสามารถทำให้ผู้เรียน มีกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระและวิชาต่างๆ ได้ใกล้เคียงกับกลุ่มเดิม ในขั้นตอนใดอย่างไร ที่ทำให้ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไปเข้าใจได้ง่ายๆว่า ผู้เรียนที่มีพหุปัญญาแบบหลากหลายสามารถเรียนรู้สาระต่างๆแบบเทียบเท่ากับกลุ่มผู้เรียนอื่นๆได้ แต่ต้องใช้เส้นทางแห่งการเรียนรู้แบบโครงงานที่แตกต่างกันไป

 ดังนั้นการเตรียมการจึงต้องมี แผนการเรียน การสอน และการนำเข้าสู่ประเด็นการฝึกทักษะในการทำงาน ที่แฝงด้วยสาระการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ออกมาเป็นขั้นๆ แบบ ศิษย์มีครู  

ฉะนั้น ต้องมี

 

·        เค้าโครงแนวคิด และ

 

·        แผนการเรียนการสอน แบบโครงงานที่อยู่ในความสนใจของผู้เรียน

 

·        แผนการนำการเรียนแบบโครงงานเข้าสู่การพัฒนาความรู้เชิงสาระ ทั้งแปด

 

·        การนำเข้าสู่สาระการเรียนรู้ เป็นขั้นๆ ไม่จำเป็นต้องครบในครั้งเดียว หรือวิชาเดียว

 

·        แต่ต้องมีองค์ประกอบย่อยที่ทำให้เห็นเป้าหมายในภาพรวมได้อย่างชัดเจน ว่าประเด็นใน จะมาจากโครงงานไหน ในช่วงไหนของการเรียน

 

·        การอธิบายอาจเป็นเพียงนำเสนอให้เห็นภาพรวม ไม่จำเป็นต้อง แจงสี่เบี้ย ก็ได้

 

·        เพราะโดยพื้นฐานนั้น ผู้ปกครองก็มักนับถือครูอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว นำเสนอ พอเข้าเค้าก็ได้แล้ว

 

·        แต่กับบุคคลภายนอกนั้น ต้องมีแผนผังที่อธิบายได้ชัดเจนครับ

 

ผมจึงขอเสนอว่า ขอให้ครูกลุ่ม หมูไม่กลัวน้ำร้อน ทั้งหลายเหล่านี้ ควรเตรียมตัวให้พร้อมทั้ง

 

·        แผนงานสอน พร้อมผังความคิดของสาระความรู้ทั้งรายสาระ รายวิชา และรายปี จนถึงภาพรวมทั้งหลักสูตร

 

·        โครงงานที่เหมาะสม และหลากหลายตามความพร้อมของแต่ละแห่ง แต่ละคน แต่ละชุมชน ตามเงื่อนไขของพื้นที่และฤดูกาล

 

·        ความรู้ที่มีอยู่จริง และที่ต้องการเพิ่ม ทั้งในโรงเรียนและชุมชน

 

·        ทักษะในการสนับสนุนการสอนแบบโครงงาน

 

·        และ ทรัพยากรการสอน ที่จำเป็นต้องมีมาสนับสนุนด้านต่างๆ ทั้งในโรงเรียน และชุมชนใกล้เคียง

  ขอให้โชคดี เป็นกำลังที่ดีของชาติต่อไป ขอขอบคุณในข้อเสนอและความเห็นดีๆ และเป็นแนวร่วมของการแก้ไขปัญหาการศึกษาของชาติครับ
หมายเลขบันทึก: 73732เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2007 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับ ท่านเล่าฮู

  จะขออนุญาตนำเข้าประกอบการนำเสนอในเวทีประชุมคณะอนุกรรมการ ศึกษาวิสัยทัศน์การศึกษาไทยในระยะ 10-20 ปี วันที่25 ศกนี้  

   ถ้ายังตกหล่นและวิชายังร้อนพุ่งพวย..ก็เพิ่มเติมขึ้นมาอีก เติมใส่ให้ครบเครื่องครบครันได้เสมอนะครับ

   ผมทราบว่า พิษการศึกษายังตกค้างอยู่ในก้นบึ้งตะกอนใจท่านเล่าฮูอีกหลายร้อยตัน ถ้าเป็นไปได้อาจจะชวนผู้ที่เกี่ยวข้องมาจัด เสวนาแบบจับเข่าเขย่าใจ กันสักครั้งก็ได้นะครับ ผมนะเชื่อมานมยานแล้ว งานไหน ถ้าเล่าฮู ทำหน้าที่พันท้ายนรสิงห์ เราจะมีเหตุผลไปอธิบายกับคนทั้งโลกได้ไม่อั้น

แต่ผมถนัดเป็นกองเชียร์นะครับครูบา ถ้าไปงัดท้ายผมกลัวตกน้ำเน่า ตายเหมือนปลาในนาผมตอนนี้ครับ ผมว่ายน้ำเน่าไม่ค่อยเป็นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท