เพื่อนช่วยเพื่อน น้องช่วยพี่ พี่ดูแลน้อง


จนท.ที่พร้อมจะหลุดกรอบ ควรได้พบกับ 9 ยุทธการชวนคนแหกกรอบเติมนวัตกรรมใหม่ใส่องค์กร ได้แล้ว

     เพื่อนช่วยเพื่อน น้องช่วยพี่ พี่ดูแลน้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเมื่อเย็น ๆ ถึงค่ำของวันที่ 16 พ.ย.2548 ที่ผ่านมา ณ สถานีอนามัยลำกะ ผมรับนัดพี่เชษฐ์ และพี่ทา (หลานตาแขก) ไว้ โดยเพื่อน (พี่ทา) ช่วยเพื่อน (พี่เชษฐ์) เป็นผู้ประสานงานในการนัดหมายไว้ล่วงหน้าเป็นสัปดาห์แล้ว เพื่อให้ผมได้เข้าไปช่วยคิด ช่วยวางแผนการทำประชาคมตำบลในวันที่ 21 พ.ย.2548 (ครึ่งวันบ่าย) ที่จะถึง ณ ตำบลลำสินธ์ กิ่งอ.ศรีนครินทร์

     ร่างกำหนดการที่เอามาดูกันนั้น จะเต็มเหยียดไปด้วยเนื้อหา และมีลักษณะเป็นตารางการประชุมที่เราคุ้นเคยกันดี ในระบบราชการ แต่ครั้งนี้เมื่อเราจะออกจากกรอบคิดเดิม ก็ไม่น่าจะบล้อกความคิดของเวทีด้วยการกำหนดไว้ที่มองเหมือนจะชี้นำเสียเอง ครั้งแรกเมื่อไปถึงผมตั้งใจว่าจะขอปรับเป็นการเสวนาที่ปล่อยเวทีให้เป็นอิสระ วางกรอบเพียงกว้าง ๆ แต่เมื่อพิจารณาจากการที่พี่เชษฐ์ได้เตรียมการไว้หลาย ๆ ส่วนแล้ว ทำให้ต้องปรับเป็นการทำความเข้าใจ และแสวงหาทีมงานก่อน แต่ขอแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 2 ช่วง คือ

     ช่วงแรกคือวันที่ 21 พ.ย. ปรับเป็นโจทย์หลัก ๆ คือ 1) วันนี้สุขภาพของคนลำสินธ์เป็นอย่างไร ในมุมมองหมอ มุมมองแกนนำฯ และมุมมองผู้อำนวยการโรงเรียนในชุมชน และ 2) เรื่องเล่าตัวอย่างที่อื่น ๆ ที่ชาวบ้านลุกขึ้นมามีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพชุมชนของตนเอง 3) มอบหมายการบ้าน : แล้วเราจะทำอย่างไรกับสุขภาพของคนในชุมชนเราเอง

     ช่วงที่สอง คือวันที่ชุมชนพร้อม แต่ไม่ควรเกิน 10 วันนับจากวันที่ 21 พ.ย. ไปแล้ว ซึ่งเปลี่ยนจากเดิมที่จะทำความเข้าใจ แล้วระดมสมองชาวบ้านกันเลย ผมเสนอว่าน่าจะให้เป็นฝากการบ้านไว้ดีกว่า จากนั้นให้ใช้เครื่องมือคือการเดินพูดคุยกลุ่มย่อยในหมู่บ้านจากทีมนำฯ แล้วให้นำมาเล่าให้กลุ่มฟัง โดยแบ่งกลุ่มเป็นหมู่บ้าน มีทั้งหมด 9 กลุ่ม ทีมนำฯ กลุ่มละประมาณ 10 คน

     พูดคุยกันจนเข้าใจ และตกลงยกร่างขึ้นเพื่อกันลืม พร้อมทั้งพี่เชษฐ์ก็ได้จดบันทึกประเด็นต่าง ๆ ไว้แล้ว ต่อไปพี่ (พี่เชษฐ์และพี่ทา) ก็ดูแลน้อง (ผม) เพราะเวลาเกือบ 2 ทุ่มแล้ว ผมชักหิว พี่ทั้งสองคนเตรียมข้าวกล่องไว้ก่อนแล้วครับ (แต่ช่วงที่รอผมเลิกงานจากสำนักงาน เขาจัดการตัวเองไปก่อนแล้ว) ผมเลยจัดการคนเดียว พี่ ๆ คอยหาน้ำและบริการเล่าเรื่องโจ๊กคลายเครียดระหว่างจัดการข้างกล่องนั้น คงเหมือน ๆ กับการไปนั่งคาเฟ่นะครับ อิ่มแล้วก็แยกย้ายกันบ้านใครบ้านมัน

     ระหว่างขับรถกลับ ผมทบทวนดูแล้วว่าเมื่อช่วงเช้าแผนงาน/โครงการทั้งหมดได้รับการอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการบริหารโครงการ สสจ.พัทลุงแล้ว (ล่วงเข้ามาเดือนครึ่งของปีงบประมาณอีกแล้ว) ก็เห็นที่จะต้องรีบเร่งให้ จนท.ที่พร้อมจะหลุดกรอบเพื่อพบกับ 9 ยุทธการชวนคนแหกกรอบเติมนวัตกรรมใหม่ใส่องค์กร

หมายเลขบันทึก: 7373เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2005 02:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
การให้เป็นสิ่งที่ดีเสมอ  สำคัญให้แล้วอย่าหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราหวังแล้วไม่ได้ตามที่หวังเราจะเสียใจ  แต่ถ้าให้โดยไม่หวังเราจะมีความสุข  และถ้าได้กลับมาแม้เป็นแค่สิ่งเล็กเล็ก...แต่ที่ได้ทั้งหมดคือกำไรล้วนๆ
การคิดและทำแต่สิ่งที่ดีดี  ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเช่นไร  ผู้ที่ให้แต่สิ่งที่ดี   ย่อมมีความสุขใจมากกว่าแน่นอน  ชวนพวกเราร่วมปลูกต้นไม้ความดีก   สักวันหนึ่งต้นความดี  คงจะผลิดอกความดีออกมา  ขอให้พวกเราทุกทุกคมร่วมกันปลูกต้นความดีกันต่อนะ  และช่วยขยายเมล็ดพันธ์ให้เพื่อนๆของเราด้วย

     ผมเชื่อว่าถึงอย่างไรก็หวังผลตอบแทนครับ ไม่ว่าจะทำอะไรลงไป เพียงแต่สิ่งนั้นคืออะไร

     และไม่เชื่ออย่างที่สุดว่าใครคนใดคนหนึ่งจะไม่หวังอะไรเลยจริง ๆ

     ผมจึงหวังได้ประสบการณ์จากการปฏิบัติ ได้ขบคิดวิธีการแก้ วิธีการพัฒนา ซึ่งอันนี้ใครทำใครได้ แต่ต้องน้ำไม่เต็มแก้ว และปลายสุดก็หวังจะได้ความสุขจากการปฏิบัติ หรือได้ทำ ผมหวังสิ่งนี้ครับ อธิบายไปมากกว่านี้ไม่ได้หรอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท