เผยแพร่ บล็อก ผ่านทาง website ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค และจังหวัด


การใช้ website ของแต่ละหน่วยงานเป็นประตูเข้ามาสู่เวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ gotoKnow

 กำลังคิดหาวิธีการที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านทาง เวที GotoKnow อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นสำหรับเครือข่าย กศน. และยิ่งได้อ่านข้อเขียนของ ครูนงเมืองคอน ทีให้มองถึงเนื้อหาหรือองค์ความรู้ที่จะเขียนก่อนเทคนิควิธีการเขียน ยิ่งทำให้มองเห็นว่า แนวทางการเสริมแรงที่จะให้เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ถ้ายังไม่รู้เลยว่า จะบันทึกเรื่องอะไร  ก็เลยมาคิดหาแนวทางเป็นขั้นๆ คือ

  1.  เริ่มจากการอ่าน คือทำอย่างไร ให้ผู้ที่จะได้เข้ามาเป็นเครือข่าย ได้อ่าน ข้อเขียนของท่านอื่นๆก่อน  ซึ่งเริ่องนี้อาจจะยากสำหรับบางท่านที่อาจจะยังไม่เคยรู้จัก GotoKnow เลย ก็ต้องแนะนำให้รู้จัก แต่สำหรับกลุ่มคน กศน. กลุ่มหนึ่งที่น่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะเข้ามาอ่าน คือ ผู้ที่เกี่ยวกข้องกับงาน ICT โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานด้าน ICT ของแต่ละจังหวัด เพราะเขาจะต้องเปิด website ของ ศนจ. ที่เขาดูแล และที่แน่ๆ คือ จะต้องเปิด website ของตัวเองทุกวัน ถ้าสามารถดึงเอาข้อเขียนต่างๆ จาก GotoKnow ไปแสดงไว้ที่หน้า website ของจังหวัด ก็คงมีสักวันหนึ่งที่คลิกเข้าไปอ่านกันบ้าง
           หลังจากคิดแล้ว ก็นึกถึงวิธีการเกี่ยวกับ RSS ที่เขียนไว้ใน GotoKnow จึงตามไปอ่าน และทดลองทำ ก็ได้ผล โดยสามารถเอาหัวข้อใน บล็อก ของ GotoKnow ที่ได้บันทึก ไปปรากฎที่หน้าแรก ของwebsite ของตัวเองได้ (website งานสารสนเทศของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
          วิธีการเดียวกันนี้ ถ้าสามารถนำไปปรากฏที่หน้า website ของ ศนจ. แต่ละจังหวัดได้ ก็จะทำให้สมาชิก ของ website ของ ศนจ. ที่มีเกือบทั่วประเทศ ทุกวันนี้ มีโอกาสได้อ่านข้อเขียนดีๆ ได้มากขึ้น และเท่ากับเป็นการเปิดประตู จาก website ของ ศนจ. เข้ามาสู่เวทีของ GotoKnow
  2. ขั้นต่อมาก็เป็นการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่อง เพราะเมื่อได้เข้าไปอ่าน ก็อดที่จะแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ได้ ก็จะก้าวจากการอ่านอย่างเดียวเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
  3. สมัครสมาชิก เมื่อได้อ่านมากขึ้น แสดงความคิดเห็นมากขึ้น ก็คงอยากจะเป็นสมาชิกดูบ้าง
    4 นำเอา บล็อก ของตนเอง และสมาชิกอื่นๆ มาแสดงที่หน้า website ของ กศน.ก็จะทำให้เหมือนกับมี แพลนเน็ต (รวมบล็อก) เกี่ยวกับ กศน. ที่หน้า website ของ กศน.เอง ที่เชื่อมโยงกับ GotoKnow เพื่อเป็นประดูที่จะเปิดเข้ามาสู่เวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ GotoKnow

   ตอนนี้ได้ดำเนินการเปิดประดู GotoKnow ที่หน้า website ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้วเพื่อให้สมาชิก website ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้เป็นประตูเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน GotoKnow

หมายเลขบันทึก: 73684เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2007 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
พี่ศรีเชาวน์ ครับ ผมได้คุยกับน้องกระรอก ที่ศูนย์ภาคตะวันออก ให้ใช้ช่องทาง gotoknow ในการสื่อสารกันในภาคด้วย แต่น้องกระรอกบอกว่าคุยกับภาคอื่นๆ ว่าจะพัฒนาช่องทางอื่นเลยยังไม่ work ครับ แต่สำหรับจังหวัดฉะเชิงเทราผมทำลิงค์ไว้หน้าเว็ปไซต์ศูนย์ ตรงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผอ.ดิศกุล ครับ
ตอนนี้กำลังรวมพลอยู่ครับ ในการชวนกันใช้เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะจะใช้เวที่ไหนก็ได้ ข้อสำคัญให้เรามาใช้ร่วมกัน ผมคิดว่า ถ้าทีอกาสประชุมร่วมกันอีก ในกลุ่ม ICT จะได้หารือเรื่องนี้ จากการที่ประชุมที่ ลำปาง หลายท่านมีความเห็นว่า เวที Gotoknow ค่อนข้างกว้าง เป็นไปได้ไหมที่เราจะมีเวทีของเราเอง คงต้องทำความเข้าใจและหาข้อตกลงร่วมกัน ว่าจะทำอย่างไร

ดีครับ ทั้งเว็ปเราเองและบล็อกgotoKnow จะได้เชื่อมกัน เรียนรู้ข้ามข่ายกัน ผมคิดว่าเรียนรู้ในวงกว้างอย่างgotoKnow นะดีแล้วครับ ไม่มีเหตุผลใดจะไปแอบๆพูดคุยกันในวงแคบๆครับ เป็นความคิดเห็นของผมครับ หลายๆหัวหลายๆตาดีกว่าหัวเดียวตาคู่เดียวครับ กว้างเท่าไรยิ่งดี

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท