M.J. PSU
ดร.ยังไม่เป็นครับ Anusak อาอ้า Tangpanithanwat

การพัฒนาตนเอง สำคัญมากแค่ไหน


อย่าหยุดพัฒนาตนเอง

       

การพัฒนาตนเอง สำคัญมากแค่ไหน  


การพัฒนาตนเอง เป็นการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าจนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

หมายเลขบันทึก: 73645เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2007 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

รู้สึกดีมากครับ ได้กลับมาเขียนอีกครั้ง

เมื่อวานได้มีโอกาส ไปร่วมพบปะ
blogger ชาว ม.. ครับ อบอุ่นมากพี่ๆน่ารักทุกคน และคิดในใจว่า blog จะเข้มแข็งได้ต้องมีคนเข้ามาเขียนเยอะ

ส่วนเรื่องการพัฒนาที่ได้กล่าวไว้ตอนต้นนั้น การพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้าจนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยาก เพียงแต่ต้องมีความตั้งใจ มีเป้าหมาย มีความหวังในชีวิต ผมมีโอกาสได้เข้ามาทำงานใน ม.. ก็คิดไว้ในใจแล้วว่าเราต้องไม่หยุดการพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ถ้าดีมีประโยชน์ก็จะให้ความสนใจ เมื่อวันที่ 11 ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปมหาวิทยาลัย uum ในมาเลย์เซียกับท่านอาจารย์
นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและวัฒนธรรม
วิทยาเขตปัตตานี และท่านอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่มีภารกิจในด้านของการร่วมมือทางวิชาการ มหาวิทยาลัย uum เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการพัฒนาเร็วมาก สวยงาม ทันสมัย มีการบูรณาการ การเชื่อมโยงหน่วยงานภายในที่มีประสิทธิภาพ บริการเกือบทุกอย่าง จะใช้ smart card นักศึกษาแต่งกายเรียบร้อย จึงเกิดความคิดในใจว่าเราจะต้องมีการพัฒนาอีกเยอะ โดยเฉพาะการพัฒนาภายในตัวของแต่ละบุคคล แต่ก็หวังว่าทุอย่างต้องดีขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันกับการพัฒนาที่สอดรับกับวัฒนธรรมไทย

การพัฒนาตนเอง มี 2 ลักษณะ คือ
1. ด้านพฤติกรรม (ภายใน) หมายถึง การพัฒนาจิตใจ เพื่อให้บุคคลมีความเจริญด้วยศีล สมาธิ และปัญญา
จะได้นำปัญญาไปใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ ต่อไป อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม
2. ด้านสิ่งแวดล้อม (ภายนอก) หมายถึง การพัฒนาด้านทักษะความสัมพันธ์กับภายนอก เช่น การทำงานเป็นทีม
ภาวะผู้นำ การประสานงาน การมีมนุษยสัมพันธ์ แรงจูงใจ

การพัฒนาคน ตรงกับศัพท์ทางพุทธศาสนาว่า "ภาวนา" พระราชวรมุนี (ประยุกต์ ปยุตโต) จำแนกการพัฒนาคนไว้ 4 ประการ คือ

1. กายภาวนา การพัฒนากาย หมายถึง การพัฒนาความสัมพันธ์ในทางที่ดี ระหว่างหู ตา จมูก ลิ้น กาย กับสิ่งแวดล้อม โดยการรับรู้
และการเลือกรับแต่สิ่งที่ดี รวมแล้วสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
2. ศีลภาวนา การพัฒนาศีล หมายถึง การพัฒนาความสัมพันธ์ทางกาย วาจา กับบุคคลอื่นในทางที่ดีงามและเกื้อกูล
เช่น ไม่เบียดเบียน หรือมุ่งทำลายประโยชน์ของผู้อื่น
3. จิตภาวนา หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพจิตดี สมรรถภาพจิตดี สุขภาพจิตดี จิตใจมีคุณธรรม มีเมตตา
มีกรุณา มีมุทิตา มีศรัทธา มีขันติ มีสมาธิ มีวิริยะ มีสติ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ยังผลให้เกิดปิติ มีความอิ่มเอิบ
เบิกบาน แจ่มใส อยู่เสมอ
4. ปัญญาภาวนา การพัฒนาปัญญา หมายถึง การรู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง รู้เท่าทันสภาวะของโลก
คุณอาอ้าคะ เอ๊ย คุณ M.J. PSU คะ เขียนดีมากเลยนะคะ ในความเห็นเนี่ย ช่วย copy เอาไปแปะสร้างเป็นบันทึกใหม่ด้วยเลยดีกว่านะคะ เพราะใครๆจะได้อ่านได้เลยชัดเจนกว่าค่ะ เขียนความคิดตัวเองใส่มาเลยค่ะ รับรองพวกเรารอติดตามอ่านกันอยู่แน่นอนค่ะ

ขอบคุณครับ พี่ โอ๋-อโณ

อาอ้าครับ

  • สวัสดีค่ะ  น้องอ้า
  • ดูใน Blog พี่อัมพรรูปใครเอ่ย?.....หล่อจังวันที่ 19 ม.ค.50
  • เคยทำวิจัยเรื่องอะไรเล่าให้ฟังบ้างซิ

 

แวะเข้ามาชมครับ

กำลังหัดใช้บล็อค

คงได้แลกเปลี่ยนกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท