เมื่อสวรรค์ให้รางวัลผม หนังสือที่ชอบที่สุดในปี ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา


หัดเป็นคนอื่นที่มองตัวเองและไปโฮมสเตย์ในบ้านตัวเองดูบ้าง


เล่มนี้ได้รับการแนะนำจากน้องคนหนึ่งซึ่งอ่านวรรณกรรมเยาวชนเป็นหลัก 

เล่มนี้มีรางวัลซังเคเป็นเครื่องรับประกัน โดยรางวัลนี้น่าจะเป็นรางวัลเรื่องยอดนิยมของวัยรุ่นญี่ปุ่น จัดอยู่ในกลุ่ม Warm Heart ของ สำนักพิมพ์ JBook
ได้มาก็เริ่มอ่านเลยคืนนั้น อ่านไปได้หนึ่งในสามเล่มในคืนแรก อีกสองวันก็อ่านจบ เป็นเรื่องน่าสนใจทีเดียว แต่ไม่ค่อยชอบในช่วงแรกตรงเป็นเรื่องของการฆ่าตัวตาย โดยตัวเอกคือ เด็กชายโคบายาชิ มาโคโตะ อายุ ๑๔ ปี อยู่มอ ๓ ที่มีปัญหาชีวิตจนต้องกินยานอนหลับฆ่าตัวตาย เนื่องจากพ่อเห็นแก่ตัว แม่ตกงาน พี่ชายเย็นชา หนำซ้ำสาวที่ตนชอบก็มีพฤติกรรมน่าละอาย และ เพื่อนก็ไม่มีใครคบ โดยคืนสุดท้ายก่อนทานยา ทุกคนต่างแสดงสิ่งทำให้มาโคโตะต้องตัดสินใจฆ่าตัวตายในคืนสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นพ่อ, แม่ และ สาวคนที่ตนชอบ
แต่สวรรค์ก็เล่นตลก ล้างสมองมาโคโตะ แล้วปล่อยกลับมาเกิดอีกครั้งในร่างเดิมโดยไม่บอกเจ้าตัวที่เป็นวิญญานว่าตัวเองเป็นใคร เพียงแต่บอกว่าให้เกิดในร่างมาโคโตะ เป็นโฮมสเตย์แล้วหาทางระลึกชาติและแก้บาปที่ตัวเองสร้างเอาไว้ จากนั้นก็จะกลับมาเตรียมพร้อมเกิดใหม่
สิ่งที่วิญญานเรียนรู้คือคนรอบข้างของมาโคโตะที่เดิมคิดว่าไม่ดี ล้วนมีเหตุผลและด้านดีในการกระทำ เนื่องจากการฟื้นของมาโคโตะทำให้ทุกคนรอบข้างเหล่านั้นรีบแสดงตัวตนออกมา และวิญญานที่คิดว่าตนเป็นคนนอกจึงสัมผัสได้อย่างง่ายดาย แถมยังคิดว่ามาโคโตะควรจะรู้เรื่องพวกนี้อีกด้วย สรุปแล้วทุกคนไม่ได้ไม่ดีเสียทั้งหมด หากเราพิจารณาและเข้าใจถ่องแท้จะเห็นด้านดีของแต่ละคน เรื่องนี้ภาษาอังกฤษชื่อ Colorful เนื่องจากอยากให้มองคนในหลายมุมจะได้สีมากขึ้น มากกว่าสีดำและสีขาว
จนสุดท้ายมาโคโตะก็สามารถระลึกชาติได้ และก็รู้ว่าตัวเองคือวิญญานของมาโคโตะ และบาปคือเป็นฆาตกรฆ่าตัวเอง
เรื่องไม่จบแค่นั้น มาโคโตะเริ่มกลัวที่จะเป็นตัวเอง เพราะเขามองอย่างคนนอกมาโดยตลอด ปูระปูระซึ่งเป็นเทวดานำทางก็ให้คำเด็ด คือ "คิดเสียว่าไปโฮมสเตย์อีกครั้งแล้วกันครับ" "ถ้าคุณไปอยู่ในโลกข้างล่างแล้วรู้สึกทุกข์ใจ ลองนึกถึงช่วงระยะเวลาสี่เดือนของการแก้ตัว นึกถึงความรู้สึกว่าคุณทำอะไรได้โดยอิสระ ไม่ต้องผูกมัดตัวเองด้วยมือตัวเอง รวมทั้งนึกถึงผู้คนที่ได้ช่วยเหลือคุณไว้ด้วย" ผมถือว่าคำนี้เป็นคำสำคัญเพราะตอนเป็นโฮมสเตย์ วิญญานทำอะไรก็ได้ ไม่ยึดติด เพราะคิดว่าเป็นเรื่องของคนอื่น เงินของมาโคโตะวิญญานก็นำไปซื้อรองเท้าอย่างไม่เสียดาย แต่กลับเสียดายเมื่อรู้ว่าตัวเองคือมาโคโตะ ดังนั้นหากเราสามารถมองตัวเองอย่างคนอื่นได้ การยึดมั่นถือมั่นจะไม่มี เหมือนการแยกจิตออกมามองร่างตัวเอง เราจะรู้ว่าร่างกาย และ สิ่งที่เรามีอยู่ในปัจจุบันเป็นเพียงสิ่งที่เรายืมมาใช้เท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่เห็นในสังคมญี่ปุ่นที่ไม่ดี เช่นความฟุ้งเฟ้อของเด็กผู้หญิงมอสองจนต้องทำอะไรที่ไม่น่าทำ แต่ก็เป็นความจริงในสังคมปัจจุบัน
เริ่องเขียนดีมากและให้แง่คิดที่ดี คนที่เหมาะจะอ่านเรื่องนี้ที่สุดคือคนซึมเศร้า และ กำลังคิดจะฆ่าตัวตายครับ เผื่อจะล้มเลิกความคิด หากเขาหัดเป็นคนอื่นที่มองตัวเองและไปโฮมสเตย์ในบ้านตัวเองดูบ้าง

คำสำคัญ (Tags): #หนังสือ
หมายเลขบันทึก: 73626เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2007 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท