แผนที่ความรู้กับภูมิสังคม


แนวคิดแผนที่ความรู้กับภูมิสังคม เกิดขึ้นจากการตั้งวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียนของคนหลายวัย ความคิดที่หลากหลาย สุดท้ายได้ข้อสรุปว่า จะเดินทางต้องมีทางเดิน ดังนั้นถ้าเราจะเรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่น เราต้องรู้ก่อนว่าอะไร ที่ไหน และอย่างไร
                      เกริ่นนำก่อนว่าที่เม็กดำพวกเรากำลังเรียนรู้ร่วมกันอีกเรื่องหนึ่งคือโครงการจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโดยครูและชุมชน  ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันที่มีนักเรียนเป็นแกนกลางของการเชื่อมโยงพร้อมกับใช้ป่าใหญ่โคกจิกที่เปรียบเป็นห้องครัวใหญ่ในชุมชนเป็นห้องเรียน   จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้จึงเริ่มที่การศึกษาภูมิสังคมของพื้นที่แล้วนำไปจัดทำแผนที่ความรู้เพื่อสร้างเส้นทางสู่การเรียนรู้ที่ถูกต้องตรงประเด็นเป็นลำดับต่อไป                     

               
การเรียนรู้ในแบบฉบับห้องเรียนของคนหลายวัย พวกเราได้เรียนรู้ร่วมกันทั้งครู   นักเรียน  ชุมชน พร้อมนี้ได้มีพันธมิตรทางวิชาการอีกหลายค่าย โดยเฉพาะ ชุดโครงการประสานงานวิจัยการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  สำนักงานภาค  ได้เรียนรู้กับเราตั้งแต่เริ่มต้น 
                   

              
แนวคิดแผนที่ความรู้กับภูมิสังคม เกิดขึ้นจากการตั้งวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียนของคนหลายวัย  ความคิดที่หลากหลาย สุดท้ายได้ข้อสรุปว่า จะเดินทางต้องมีทางเดิน   ดังนั้นถ้าเราจะเรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่น เราต้องรู้ก่อนว่าอะไร ที่ไหน และอย่างไร 
                   

            
ภูมิสังคมในความหมายที่ใช้ในพื้นที่ มีมุมมองไปที่ความแตกต่างหลากหลายทางธรรมชาติ  สภาพแวดล้อม   วัฒนธรรม  สังคม วิถีชีวิตของชุมชน
การเริ่มต้นที่ฐานคิดเช่นนี้ในการปฏิบัติพบว่ามีเส้นทางสู่การเรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่นมากมาย บางเรื่องเริ่มจากตัวคน  ในขณะที่บางเรื่องเริ่มจากประเพณี  วัฒนธรรม  หรือบางเรื่องเริ่มจากดิน  น้ำ  ป่า  แล้วสืบเสาะไปหาตัวคน  ดังนั้นเราจึงได้แผนที่ความรู้อยู่สองประเภทหลักๆคือ                   

           
1.  แผนที่ความรู้ในท้องถิ่น   เป็นเส้นทางสู่การเรียนรู้ ที่อยู่นอกตัวคน มีการดำรงอยู่อย่างมีตัวตนในธรรมชาติ   สามารถจับต้องสัมผัสได้    แผนที่ชุดนี้จะแสดงถึงคุณลักษณะภายนอก   ทำให้เห็นความเชื่อมโยงถึงกันที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  เช่น           

     
ป่าใหญ่โคกจิก ประกอบด้วย 
4   พื้นที่ย่อย คือ ดงจิก  ดงก่อ   ดงยาง   ดงบาก       

      ดงจิก
  ประกอบด้วยจุดที่สำคัญ คือ ศาลเจ้าป่า  น้ำโกนเหลี่ยม  พื้นที่ผักกินใบ   พื้นที่เห็ด  พื้นที่สัตว์ป่า
                 

          
2. แผนที่ความรู้ในตัวคน
    เป็นเส้นทางสู่การเรียนรู้ในเชิงลึก  เป็นการเข้าถึงแก่นสาระ  ผ่านการค้นหาและศึกษาจากตัวคน  ถือว่าเป็นสิ่งที่สัมผัสด้วยตาเปล่าไม่ได้ จะต้องมีกระบวนการแห่งเข้าถึง   จากการ ปฏิบัติจริงทำให้เห็นร่องรอยของการเรียนรู้ การถ่ายทอด  การสืบทอด  หรือกล่าวได้ว่าทำให้เราได้จับต้นชนปลายได้ถูกต้องตรงประเด็น                  

           
ประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับชัดเจนจากการทำแผนที่ความรู้โดยมีภูมิสังคมเป็นฐาน คือการได้จับต้นชนปลายได้ถูกต้องตรงประเด็น  ทำให้เรารู้ว่าบางเรื่องที่คิดจะจัดการความรู้ในท้องถิ่น แค่คิดก็ผิดทางแล้ว  
               


           
ดังคำกล่าวของท่าน นายแพทย์ประเวศ วะสี  ที่กล่าวไว้ว่า 
                        

              
ถ้าเราเห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง   เราจะมีความกตัญญู ในหัวใจ  อันเป็นจิตใจที่ไม่แข็งกระด้าง ไม่หยาบคาย แต่เป็นจิตใจที่เข้าถึงความจริง ความจริงคือความเป็นกระแสของเหตุปัจจัยของสรรพสิ่ง ที่เรียกว่า   อิทัปปัจจยตา  ไม่มีตัวตนในตัวของตัวเอง การเข้าถึงกระแสของ อิทัปปัจจจยตา คือการเข้าถึงความจริง    
หมายเลขบันทึก: 73622เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2007 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 11:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอขอบคุณท่านอาจารย์เม็กดำ1...// ขอขอบคุณสำหรับความรู้ และข้อมูลครับ
  • สวัสดีครับอาจารย์
  • ทุก ๆ บันทึกของอาจารย์สะท้อนภาพที่แจ่มชัดว่าการเรียนการสอนในสถานศึกษาที่อาจารย์ดูแลนั้น บูรณาการร่วมกับ "ชุมชน" อย่างชัดเจน และมีพลัง 
  • และมีความเป็น "ส่วนร่วม" ของภาคฝ่ายที่มีระบบ มีหลักการ  มียุทธศาสตร์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท