BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ความสุขในชาตินี้และชาติหน้า


ความสุขในชาตินี้และชาติหน้า

ใน  ความสุข ? ผู้เขียนได้วางประเด็นว่า การแสวงหาความสุขของลัทธิจารวากและอิปิคิวเรียนแตกต่างออกไปจากพระพุทธศาสนา ถ้าจะว่าตามปรัชญาก็คือมีแนวคิดทางอภิปรัชญาแตกต่างกัน แต่เพื่อมิให้เนื้อหาออกไปไกลจึงขอสรุปว่า แนวคิดเหล่านั้นเชื่อว่า มีแต่โลกนี้หรือชาตินี้เท่านั้น ส่วนพระพุทธศาสนาเชื่อว่ามีโลกหน้าหรือชาติหน้าด้วย ...นี้คือพื้นฐานที่แตกต่างกัน

พระพุทธศาสนาจำแนกประโยชน์ไว้ ๓ ขั้น ซึ่งผู้เขียนได้กล่าวบ้างแล้วในการสนทนากับคุณ Aj kae ใน เกิดมาเพื่อแสวงหาความสุข และจะขยายความอีกครั้งว่า ประโยชน์ ๓ ขั้นนี้ สัมพันธ์กับ สุข ๔ ประการ อย่างไร...

คำสอนทางพระพุทธศาสนาจัดประโยชน์ไว้ ๓ ขั้น ดังนี้ คือ

๑. ประโยชน์ในชาตินี้

๒. ประโยชน์ในชาติหน้า

๓. ประโยชน์สูงสุด

ประโยชน์ในชาตินี้ สงเคราะห์เป็น สุข ๔ ประการ (มีทรัยพ์ ใช้จ่ายทรัพย์ ไม่เป็นหนี้ และไม่มีโทษ) และสามารถทำให้ประโยชน์ในชาตินี้เพียบพร้อมได้จะต้องประกอบด้วยหลักธรรม ๔ ประการ คือ

๑. ขยันทำมาหากินในแนวทางที่ชอบ

๒. รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้

๓. รู้จักคบเพื่อนดีหรืออยู่กับสังคมทีดี

๔. เลี้ยงชีวิตพอสมควรแก่ฐานะ

สุข ๔ ประการจะมีความมั่นคงถาวร ถ้าเราดำรงอยู่ในหลักธรรม ๔ ประการข้างต้น ....อาจอธิบายง่ายๆ ได้ว่า ถ้าขยันทำงานก็จะไม่อดตาย ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ก็รู้จักเก็บรักษาไม่ทิ้งๆ ขว้างๆ สุรุ่ยสุร่าย... การรู้จักคบคน รู้จักเลือกอยู่ในสังคมที่ดีก็จะป้องกันให้เราเสื่อมยาก และมีความเจริญยิ่งขึ้น ....การเลี้ยงชีวิตเหมาะสมกับฐานะก็ทำให้เรามีความสุขสบายพอสมควร...

ดังได้กล่าวไว้แล้วว่า คนเรานั้นมีความปรารถนาเหมือนๆ กัน คือ ต้องการทรัพย์สมบัติ ต้องการความยอมรับ ต้องการมีสุขภาพดี ซึ่งสามประการนี้ เราก็ขาดๆ เกินๆ บกพร่องมากบ้างน้อยบ้าง...เราจึงคาดหวังว่า ถ้าตายไปก็ให้ได้เกิดในสวรรค์ หรืออย่างน้อยก็น่าจะมีความสุขสบายยิ่งกว่าชาตินี้ นั่นคือ ความปรารถนาความสุขในชาติหน้า หรือ ประโยชน์ในชาติหน้า ...

ประโยชน์ในชาติหน้า ก็คือความมีอยู่เป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม เป็นสิ่งที่เราคาดหวังว่าจะพึงเกิดขึ้นแก่เราในชาติหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากความสุขข้อสุดท้าย (สุขเกิดจากการดำเนินชีวิตที่ไม่มีโทษ) ซึ่งการที่จะทำให้สุขข้อสุดท้ายมีความมั่นคง และเจริญรุ่งเรืองได้ จะต้องประกอบด้วยหลักธรรม ๔ ประการ คือ

๑. มีความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนา (ศรัทธา)

๒. มีเจตนางดเว้นสิ่งที่จะประพฤติผิดทางกายและวาจา (ศีล)

๓. รู้จักสละสิ่งต่างๆ ที่จะคอยบั่นทอนความประพฤติที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา (จาคะ)

๔. มีเหตุมีผล รู้จักขบคิดพิจารณา ไม่เป็นคนหลงงมงาย (ปัญญา)

ถ้าเรามีหลักธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล้ว สุขข้อสุดท้ายก็จะมีความมั่นคง มีความเจริญรุ่งเรือง เพื่อเป็นสาเหตุให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นในชาติหน้าอย่างแน่นอน...

ส่วน ประโยชน์สูงสุด จะว่าในหัวข้อต่อไป  

หมายเลขบันทึก: 73470เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2007 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชาติหน้าของพระอาจารย์นี่...หมายถึงวงรอบต่อไปของอิทัปปัจจยตา...หรือว่าตายแล้วเกิดใหม่ครับ...5555

 

มาถึงก็ขัดคอกันเลย....

 

ช่วงนี้คนติดตามอ่านพระอาจารย์อย่างเดียวเลยนะครับ...ผมกลับมาหลังไปเก็บตัวฝึกปรือฝีมือ... ก็ยังหาคู่ปรับพระอาจารย์มิได้...อิอิ

โยมขำ

ง่วงจัง (บ่นทุกบันทึกเลย) รอเวลาลงทำงานนะ แม้ว่า หลับลืมไป อาตมาไม่ลงไปทำ หลวงพี่และน้องเณรอื่นๆ ก็คงจะไม่ลงไปช่วย...

มีคำพระอาจารย์รูปหนึ่ง อย่านึกว่าเราขี้เกียจแล้วคนอื่นจะขยัน คนอื่นเค้าก็ขี้เกียจเหมือนกัน

สำนวนนี้ ลึกซึ้งยิ่งนัก 5 5 5

เจริญพร

 

   ตามมาอ่าน บันทึกพระคุณเจ้า ขอรับ

นมัสการหลวงพี่ค่ะ 

วันนี้ได้อ่านอะไรดีดีอีกแล้ว  ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท