บันทึกครั้งที่ ๑๓/๒ ข้อมูลเพิ่มเติม


ข้อมูลความเข้าใจเพิ่มเติมเรื่องเครื่องหมายการค้า
http://www.ipthailand.org/dip/index.php?option=com_content&task=view&id=263&Itemid=483การจดเครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้าหรือตราสินค้า เปรียบเสมือนเครื่องมือทางการตลาดให้ลูกค้าได้จดจำได้  แต่หากใช้เพียงอย่างเดียวแต่มิได้จดทะเบียนคุ้มครองสิทธิไว้ ปัญหาที่ตามมาอาจถูกผู้อื่นนำเครื่องหมายนี้ไปจดทะเบียน  ดังนั้น  ผู้ประกอบการจึงควรคำนึงถึงเรื่องการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ด้วย  การยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า  เครื่องหมายจะต้องมีองค์ประกอบ 3 ลักษณะ คือ จะต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย  และไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงจะได้รับจดทะเบียน  หากเจ้าของได้ใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าของคุณเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ  และสร้างรายได้  จึงทำให้เครื่องหมายการค้านั้น ๆ มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจดังเช่น เครื่องหมายการค้า  โคคาโคล่า  หรือไมโครซอฟท์  เป็นต้น  ที่เครื่องหมายการค้ามีมูลค่าหลายพันล้านบาท               เครื่องหมายที่จะขอจดทะเบียนจะต้องเป็น  ภาพถ่าย  ภาพวาด  ภาพประดิษฐ์  ตรา ชื่อ  คำ  ข้อความตัวหนังสือ  ตัวเลข  ลายมือชื่อ  กลุ่มของสี  รูปร่างหรือรูปทรงวัตถุ  หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างประกอบกันเป็นเครื่องหมาย  เจ้าของเครื่องหมายจึงควรที่จะคิดสร้างสรรค์เครื่องหมายด้วยตนเอง  จะได้ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้  สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน หรือต่างจำพวกที่สินค้ามีลักษณะอย่างเดียวกัน โดยการตรวจสอบเครื่องหมายก่อนยื่นคำขอจดทะเบียน  ขั้นตอนการขอจดทะเบียนโดยยื่นคำขอจดทะเบียน
และชำระค่าธรรมเนียมตามจำนวนรายการสินค้าหรือบริการที่จะจดทะเบียนอย่างละ 500 บาท และชำระค่าธรรมเนียมตามจำนวนสินค้า/บริการอีก อย่างละ 300 บาท  เพื่อนายทะเบียนสั่งรับจดทะเบียนภายหลังครบกำหนดประกาศโฆษณาและไม่มีผู้คัดค้านการจดทะเบียน
                  
เมื่อเครื่องหมายการค้าได้รับจดทะเบียนแล้ว เจ้าของจะมีสิทธิต่าง ๆ ในเครื่องหมายการค้าแต่เพียงผู้เดียวเป็นระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียน ได้แก่   สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าในการที่ได้จดทะเบียนไว้  สิทธิในการทำสัญญาอนุญาตให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้า สิทธิในการโอนเครื่องหมายการค้า  สิทธิในการฟ้องร้องและเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่มีผู้ละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า  นอกจากนี้ยังมีสิทธิในการใช้สีเครื่องหมายการค้าได้ทุกสี(กรณีจดทะเบียนแบบไม่จำกัดสี)  ประโยชน์ของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำหรือเรียกขานสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น  ทำให้ผู้บริโภคสามารถแยกแยะเพื่อเลือกซื้อสินค้าเจ้าของเครื่องหมายนั้นได้  โดยไม่สับสนกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่น ๆ ด้วย http://www.ipthailand.org/dip/index.php?option=com_content&task=view&id=266&Itemid=483การปลอมเครื่องหมายการค้าในปัจจุบันมีผู้ประกอบการค้าหลายรายได้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันออกมาวางขายในท้องตลาด โดยสินค้าของผู้ประกอบการค้าแต่ละรายมีคุณภาพแตกต่างกันออกไป ซึ่งสิ่งที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถแยกแยะความแตกต่างของสินค้าเหล่านั้นได้คือ เครื่องหมายการค้า   อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ที่เจ้าของแต่ละรายได้คิดขึ้นมาใช้กับสินค้าของตน และมีไม่น้อยที่เจ้าของสามารถทำให้สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของตนมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค  แต่เจ้าของเครื่องหมายการค้ามักจะประสบกับปัญหากรณีมีผู้อื่นทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของตนหรือนำสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวมาขายทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นได้รับความเสียหาย             ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า(ฉบับที่ ๒) พ.ศ ๒๕๔๓      กำหนดให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วเป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้  ดังนั้นหากมีบุคคลอื่นทำการปลอมเครื่องหมายการค้าหรือนำสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวมาขายย่อมมีความผิดตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าซึ่งกฎหมายกำหนดโทษไว้ว่า     จำคุกไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกรณีที่ทำการปลอมเครื่องหมายการค้าหรือขายสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าปลอมที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรก็มีความผิดตามกฎหมายอาญาซึ่งกำหนดโทษไว้ว่า  จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ปลอมเครื่องหมายการค้าหรือผู้ที่นำสินค้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าปลอมมาขายกฎหมายกำหนดไว้ว่า  ต้องรับโทษเช่นเดียวกัน   โดยเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนเอาไว้สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้ทั้งผู้ที่ปลอมหรือผู้ที่นำสินค้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวมาขาย แม้ว่าสินค้าที่นำมาขายจะเป็นสินค้าที่ผ่านการใช้แล้วหรือที่เรียกกันว่าสินค้ามือสองก็ตาม หากเป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าปลอมก็ย่อมมีความผิดตามกฎหมาย         
             ทั้งนี้กฎหมายให้ความคุ้มครองเฉพาะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้นที่จะฟ้องร้องในกรณีที่กล่าวข้างต้นได้ แต่สำหรับเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเอาไว้แม้จะมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของตนได้ แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องป้องกันไม่ให้คนอื่นทำการปลอมหรือนำสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวมาขายได้ เพราะเครื่องหมายการค้าจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าเมื่อได้รับจดทะเบียนแล้วเท่านั้น
 http://www.ipthailand.org/dip/index.php?option=com_content&task=view&id=267&Itemid=483การเลียนเครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้า เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการค้าคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นของตนเอง ทำให้ผู้บริโภคจดจำหรือเรียกขานได้ง่ายสามารถแยกแยะความแตกต่างของสินค้าเดียวกันที่ใช้เครื่องหมายการค้าต่างกันได้และเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้ตรงตามความต้องการ  การจะทำให้ผู้บริโภครู้จักและเกิดความไว้วางใจสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้อาจต้องใช้ระยะเวลานานหรือต้องลงทุนลงแรงพอสมควรในการโฆษณากว่าเครื่องหมายการค้าจะเป็นที่รู้จักแพร่หลาย   จึงมักเกิดกรณีที่มีผู้อื่นแสวงหาผลประโยชน์จากความมีชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้านั้น โดยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือลอกเลียนแบบโดยทำให้มีส่วนเหมือนบ้าง ไม่เหมือนบ้าง เพื่อทำให้ผู้ซื้อเกิดการเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสินค้าของเจ้าของรายเดียวกัน            ตัวอย่าง นาย ก เปิดร้านขายสินค้าในป่าโดยใช้เครื่องหมาย ตราคนขี่ม้า    ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว จนสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้บริโภค ต่อมา นาย ข ขายสินค้าในป่าเช่นเดียวกันได้ใช้เครื่องหมาย ตราลิงขี่ม้า ในลักษณะเดียวกัน     ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียนมาใช้กับสินค้าของตน  หากผู้ซื้อไม่ทันสังเกตอาจเข้าใจผิดคิดว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของนาย ข เป็นสินค้าของนาย ก ทำให้นาย ก  ได้รับความเสียหายเพราะลูกค้าที่นิยมในคุณภาพสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของนาย ก    อาจเข้าใจผิดไปซื้อสินค้าของนาย ข    และหากสินค้านั้นมีคุณภาพไม่ดีไม่เป็นที่พึงพอใจของลูกค้าอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นต้องเสื่อมเสียไปเนื่องจากการเข้าใจผิดในตัวเจ้าของสินค้า
              ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๓     กำหนดให้ เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้น สำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ ดังนั้นหากบุคคลอื่นนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปใช้หรือลอกเลียนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของย่อมมีความผิดตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าโดยกฎหมายได้กำหนดโทษไว้ จำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าหากมีผู้เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วนอกราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้น กฎหมายอาญาได้กำหนดโทษไว้ จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
               กรณีที่กล่าวข้างต้นเป็นการให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วโดยเจ้าของสามารถฟ้องร้องให้ระงับการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่นำเครื่องหมายการค้าไปใช้หรือลอกเลียนโดยไม่ได้รับอนุญาต  แต่หากเจ้าของมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้จะไม่สามารถฟ้องร้องเอาผิดแก่ผู้ที่เอาเครื่องหมายการค้าของตนไปใช้หรือลอกเลียนได้ เนื่องจากเครื่องหมายการค้าไม่ได้รับการจดทะเบียนจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
 http://www.ipthailand.org/dip/index.php?option=com_content&task=view&id=207&Itemid=428กรณีเป็นเจ้าของสิทธิ์ แต่ถูกผู้อื่นกระทำละเมิดควรทำอย่างไร? : กรณีเครื่องหมายการค้าเจ้าของเครื่องหมายการค้าควรดำเนินการ ดังนี้       1. ร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมหลักฐานดังนี้
          ***(1.1)
ทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้า ที่นายทะเบียนกรมทรัพย์สินทางปัญญารับรอง กรณีเป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศถูกละเมิด ให้แสดงต้นฉบับเครื่องหมายการค้า หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนจากต่างประเทศ
          ***(1.2)
กรณีมอบอำนาจให้ทนายดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ กรณีเจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นบุคคลต่างประเทศ หนังสือมอบอำนาจต้องมีโนตารีพับลิครับรอง และสถานทูตไทย หรือกงสุลไทยรับรองลายมือชื่อโนตารีพับลิคอีกชั้นหนึ่ง
         ***(1.3)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของเจ้าของ และผู้รับมอบอำนาจ

         ***(1.4)
เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย พร้อมคำรับรองถูกต้อง (ถ้ามี)
         ***(1.5)
ตัวอย่างสินค้าของจริง และตัวอย่างสินค้าที่ละเมิด
         ***(1.6)
หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
       2.
ไปร่วมนำชี้เพื่อยึดสินค้าละเมิดในการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
       3.
ให้การต่อเจ้าพนักงานสอบสวนในฐานะผู้เสียหายและเบิกความในชั้นศาล
       4.
สนับสนุนพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ
 http://www.ipthailand.org/dip/index.php?option=com_content&task=section&id=34&Itemid=527ระงับข้อพิพาทด้วยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดตั้งสำนักงานป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาขึ้น เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นและอำนวยความสะดวกในการระงับข้อพิพาทให้แก่คู่พิพาทโดยการใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ การประนอมข้อพิพาท และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งจะเป็นผลดีแก่คู่พิพาททั้งสองฝ่ายในการช่วยยุติปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม           ประโยชน์ที่คู่พิพาทจะได้รับจากการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ                      - สะดวก  ขั้นตอนและกระบวนการชี้ขาดไม่ยุ่งยาก
                      -
รวดเร็ว  การพิจารณาข้อพิพาทจะเสร็จสิ้นโดยใช้ระยะเวลาเพียง 90 -180 วัน นับแต่ตั้งอนุญาโตตุลาการเสร็จ                      - ประหยัด  ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ เสียเพียงค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณาเล็กน้อย
                       -
เป็นธรรม  อนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา                      - สร้างความพึงพอใจ คู่พิพาทสามารถรักษาชื่อเสียงและความลับระหว่างกันได้ และยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันไว้ได้ต่อไป           หากมีข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นและคู่พิพาทประสงค์จะใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาโดยอนุญาโตตุลาการ สามารถยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อ  สำนักงานป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาชั้น 12 กรมทรัพย์สินทางปัญญา44/100 ถ.นนทบุรี 1 อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2547-5191 และ 0-2547-4708

หมายเลขโทรสาร 0-2547-4895

มีต่อ ในบันทึกครั้งที่ ๑๓/๓

หมายเลขบันทึก: 73444เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2007 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท