สุพัชชา9


วันลอยกระทง

ตอนเช้า

    วันนี้เริ่มเรียนแต่เช้าเลย 09.00 น. ก่อนอื่นอาจารย์วิจิตร สอนเรื่องเกี่ยวกับการต่อสาย in - out ตวามรู้ที่ได้เกี่ยวกับการต่อสายคือ

1. สาย USB มีข้อจำกัดของการส่ง DATA และภาพนิ่ง ส่ง VDO ได้แต่จะกระตุก

สอนให้รู้จักสาย RCA แต่ไม่ค่อยมีอะไรมากเพราะพวกเรารู้กันแล้ว

สอนเกี่ยวกับเรื่องของเทป ที่ใช้ถ่ายที่ สสวท.ใช้อยู่ว่ามี

1.BETACAM เป็นเทปที่ใช้ถ่ายกับเครื่องที่มีขนาดใหญ่ และความละเอียดสูง เป็นอนาล็อค

2.DVCAM ใช้กับมืออาชีพเหมือนกันแต่ป็น Digital

3.DVPRO ใช้กับเครื่อง PANASONIC

4.MINIDV ใช้กับเครื่องHandycam ( ต่างจาก DVCAM ตรงที่ DVCAM ดีกว่า )

3.สอนเกี่ยวกับมุมกล้อง หลักการถ่ายภาพ โดยดูจาก VDO ที่เราถ่าย

3.1ในการถ่าย VDO หลักการพื้นฐานเราควรถ่ายเรียงจาก LS-MS-CU หรือ CU-MS-LS การถ่ายภาพแบบนี้จะทำให้ภาพที่สื่ออกมาเกิดการเข้าใจมากขึ้น เป็นหลักการเรียงการมองเห็นของมนุษย์

3.2หลักการแก้ภาพที่ถ่ายออกมาแล้วโดด คือ เราจะต้องขยายขนานภาพออกมาประมาน 30องศา

3.3การที่จะแพนกล้องก่อนที่เราจะแพนหรือจะเคลื่ไหวกล้องเราต้องหยุดภาพให้นิ่งไว้ประมาน 30 วินาที่เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจว่าเราต้องการให้เขาเห็นอะไร

3.4สอนเรื่องของเส้น 180 องศา ( AXIS LINE)ว่าเราควรกำหนดเส้นขึ้นมาเพื่อง่ายต่อการตั้งกล้องและเพื่อความถูกต้องของมุมภาพ

3.5ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุกับกล้อง มี 3 แบบคือ

- ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบทางเดียว ต้องระวังภาพโดด  ( เช่นภาพที่เป็นคนเดินไปทำงานและเดินกลับในทางเดิม แต่คนละเวลา ทำให้เรารู้ว่าเขาไปและทำอะไรซักอย่างเสร็จแล้ว )

-ทิศทางการเคลื่อนที่แบบสองทาง  เช่นหนังสงคราม

-การเคลื่อนที่ออกหรือเข้าหากล้อง เช่น

4.สอนการใช้กล้อง BATACAM

-เรื่องของ Filter ( มีไว้ปรับสภาพแสง ) กลางคืนควรปรับเป็น 3,400 k / กลางวัน 5,600 k

                           

ตอนบ่าย

อาจารย์ วิจิตร ให้เอากล้อง BATA ออกมาถ่ายด้านนอก และสอนว่าก่อนการถ่ายเราควรทำดังต่อไปนี้

1.การนำกล้องใส่ขาตั้งกล้องเราจะต้องเช็ค White Balance ( เพื่อเป็นการปรับสภาพแสง ) การเช็คเราก็หันกล้องไปยังวัตถุที่เป็นสีขาว ปรับโพกัสให้เรียบร้อยและทำการกดปุ่มที่ตัวกล้อง

2.Color Bar ( เพื่อเป็นการปรับสภาพสีของม้วนเทป เทปใหม่บางอันห้วมันยับ ) เราก็ต้องเปิด Color Bar ( จะอยู่ด้านซ้ายของกล้อง ) และกดบันทึกประมาน 30 วินาที

3.การที่เราจะเริ่มถ่ายเราจะต้อง ZOOMวัตถุนั้นเข้าไปใกล้ที่สุดและทำการโฟกัสให้ภาพชัดและ ค่อยZOOM ออก( เพื่อการถ่ายครั้งต่อไปจะได้ภาพที่ชัดสมำเสมอ )

แล้วอาจารย์ก็ลองให้แต่ละคนลองฝึกทำ

                                                

ห้องตัดต่อ

-เรื่องของการซ้อนหรือที่เรารู้จักกันว่า BLUE SCREEN  คือ การซ้อนภาพบุคคลและวัตถุการเจาะสีพื้นหลังแล้วใส่ฉากใหม่แทน เมื่อก่อนเรามักจะใช้ฉากสีฟ้าและเขียว แต่ปัจจุบันใช้สีอะไรก็ได้

                                                

-หลังจากนั้ก็ลงไปที่ห้องสตูเพื่อลงไปดูเครื่องมือและสอนการใช้กล้องมันก็เหมือนกับที่เรียนไปตอนต้นเพียงแต่ปุ่มบังคับจะอยู่ที่มือ

                                                

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 7341เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2005 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท