การบ้านชิ้นโต ท่านกูรูช่วยแนะด้วยครับ


เผื่อ G2K จะช่วยผมได้

ตามที่ได้ให้คำรับรองส่วนตัวเมื่อเดือนที่แล้วกับท่านอาจารย์ ดร.วรรทณา สินศิริ รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ ผู้บังคับบัญชาของผมเอง ว่าจะสร้างงานออกมาชิ้นหนึ่ง คือ คู่มือการประกันคุณภาพภายใน สำหรับหน่วยงานกิจกรรมเสริมศึกษาซึ่งยังไม่เคยทำกันมา โดยใช้กระบวนการการจัดการความรู้ (KM) เข้ามาเป็นเครื่องมือหลัก (บนฐานของการมีส่วนร่วมทางความคิด)

หน่วยงานกิจกรรมเสริมศึกษา มีภารกิจเป็นการเฉพาะในลักษณะของการผลิตสินค้า บริการ เพื่อสร้างรายได้ ซึ่งแตกต่างจากหน่วยงานสนับสนุนในกลุ่มอื่นๆ มีอยู่ประมาณ 10 หน่วยงาน เช่น ศูนย์หนังสือ น้ำดื่มยูนิเพียว ร้านยา หน่วยโภชนบริการ เป็นต้น

คู่มือการประกันคุณภาพภายใน สำหรับหน่วยงานกิจกรรมเสริมศึกษา หลักๆที่ต้องการที่สุดคือได้ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ที่สามารถวัดคุณภาพตามภารกิจอย่างแท้จริง

และเมื่อวานก่อน ท่านก็เกรินว่า ..เราควรจะเริ่มได้แล้วนะในเดือนกุมภา.. พร้อมทั้งให้ผมไปลองออกแบบกิจกรรมเป็นโครงการย่อยๆ ซัก 2 3 ครั้ง เป็นกิจกรรมต่อเนื่อง, คัดเลือกทีมงานจากหลายภาคี, และมอบหนังสือชื่อ 17 เครื่องมือนักคิด Problem Solving Devices เขียนโดย วันรัตน์ จันทกิจ...นั่งอ่านอยู่ทั้งวันก็ยังเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมยังไม่ได้ อาจเพราะประสบการณ์จากการเห็นจริง เข้าร่วมยังน้อย

17 เครื่องมือนักคิด

  1. การระดมสมอง (brainstorming) (หมายตาไว้ในครั้งที่ 1)
  2. แผนผังการไหลในกระบวนการ (flow process chart)
  3. แผนภูมิแกนท์ (gantt chart)
  4. แผนผังสามารถและผล (cause and effect diagram)
  5. แผ่นตรวจสอบ (check sheet)
  6. แผนผังพาเรโต (parato diagram)
  7. แผนภูมิกราฟ (graph)
  8. แผนผังการกระจาย (scatter diagram)
  9. แผนผังฮิสโตแกรม (histogram)
  10. แผนภูมิควบคุม (control chart)
  11. แผนผังกลุ่มเครือญาติ (affinity diagram)
  12. แผนผังความสัมพันธ์ (relation diagram)
  13. แผนผังต้นไม้ (tree diagram)
  14. แผนผังลูกศร (arrow diagram)
  15. แผนผังเมทริกซ์ (matrix diagram)
  16. แผนผังการวิเคราะห์ข้อมูล (matrix data analysis)
  17. แผนผังขั้นตอนการตัดสินใจ (process decision program char ; PDPC)

ตอนนี้ที่หมายตาไว้แล้วคือ การระดมสมองเพื่อใช้หาแนวคิดหลักร่วมในการจัดครั้งแรก (เส้นทางที่จะเดินต่อไป) ส่วนในครั้งต่อไปคงเน้นลงสู่รายละเอียด แต่ยังคิดไม่ออกครับ

วันนี้คงต้องศึกษากิจกรรมอื่นขององค์กรต่างๆ ให้มากจากเว็บฯ ที่เคยทำในลักษณะนี้มาประกอบความคิดอีกครั้ง ก่อนจะทำเป็นร่างกิจกรรม นำมาปรึกษากูรู ผู้รู้อีกครั้งครับ

KPN
หมายเลขบันทึก: 73402เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2007 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เข้ามาเยี่ยมครับ  หลังจากย้ายที่อยู่ใหม่ตามที่อาจารย์ผมบอกให้ย้ายรู้สึกเหมือนงานจะเยอะขึ้นมากครับ  ไม่รู้ว่าผมคิดไปเองรึเปล่าก็ไม่รู้นะ  เดี๋ยวสิ้นเดือนนี้ผมก็คงฝึกงานจบแล้วครับ  พี่มีอะไรให้ช่วยก็บอกได้นะครับยินดี

  • พี่ได้รับมอบหมายจากท่านรองบริหารเข้าไปช่วยทำ SSR (ไม่ใช่ SAR) ของหน่วยโภชนบริการ  เป็นรื่องที่ลำบากจริง ๆ ค่ะ เนื่องจากไม่มีมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนดให้เฉพาะหน่วยงานเสริมศึกษา เราจึงต้องไปใช้มาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่เหมือนกับSARของหน่วยงานสนับสนุนมหาวิทยาลัย มาตรฐาน 1  2  6  และ 8  มาตรฐาน 1 และ 2 เรารายงานได้ มาตรฐาน 6 และ 8 ตัวบ่งชี้หลายตัวที่เราไม่ขอรับการตรวจสอบ เพราะมันไม่ตรงกับภารกิจเลย อยากบอกว่า เป็นเรื่องที่ลำบากมาก ๆ ในการทำ SSRของหน่วยงานเสริมศึกษา 
  • เป็นเรื่องที่ดี หากจะมีการกำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่ตรงกับภารกิจของหน่วยงานเสริมศึกษา เพราะจะทำให้การทำ SSR ออกมาสมบูรณ์  หน่วยงานก็จะหาเอกสารได้ง่ายเพราะเป็นเรื่องที่ทำอยู่ และคงไม่หนักใจ
  • ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณพี่อ้อ หลังจากที่บันทึกเสร็จเมื่อเช้าก็มานั่งเขียนดูครับ http://gotoknow.org/blog/kamphanat/73420

เรียนพี่อ้อ

คงต้องขอความร่วมมือจากพี่ในกิจกรรมที่เกิดด้วยครับ

โห...เครื่องมือนักคิดเยอะแยะเลยนะคะแจ๊ค  พี่หนิงต้องขอยืมไปใช้บ้างนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท