โคเพื่อชีวิต ตอนที่ 34 เลี้ยงโคหรือเลี้ยงไก่ใครเอื้ออาทร


ถ้าทั้งคนเลี้ยงโคและเลี้ยงไก่ สามารถปลูกพืชอาหารสัตว์ดังที่กล่าวมาได้ นอกจากจะลดต้นทุนการผลิตด้านอาหารได้แล้ว ก็จะทำให้เกิดรายได้ต่อคนในชุมชนได้ด้วยเพราะสามารถผลิตอาหารสัตว์จำหน่าย เกิดนักการตลาด นักผลิต และนักแปรรูปอีกมากมายขยายวงกว้างไปสู่สังคมใหญ่ มีรายได้ที่มั่นคง ไม่ต้องไปหลงแสงสีที่เมืองกรุงอีกต่อไป

           ในวันที่เข้าร่วมประชุมเรื่องการเลี้ยงไก่  ได้รับความรู้แปลกใหม่ที่มาประเทืองปัญญาอยู่มากโข  จนหลงคิดเข้าข้างตัวเองว่า มีวาสนานะนี่ถึงได้มาพบคนดี มีความรู้มากมาย

           โดยเฉพาะเรื่องที่คล้าย ๆ กัน ระหว่างการเลี้ยงโคและเลี้ยงไก่ ทั้งในด้าน

           -   พันธุ์ ทั้งโคและไก่ พัฒนาสายพันธุ์ได้โดยอาศัยความรู้จากผู้รู้และผู้ปฏิบัติ แต่ต้องเป็นพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศของไทยทั้งคู่  ถ้าต้องนำเข้าหรือเอาสายพันธุ์จากต่างประเทศจะมีเหตุให้เป็นโรคไม่จบสิ้น จะสิ้นเปลืองกับการดูแล เพราะโคหรือไก่นำเข้าไม่ได้ปรับตัวเข้ากับบ้านเราง่ายเหมือนสามีฝรั่งที่เห็นกับเต็มเมือง

          -   การเลี้ยงดู ต้องดูแลใส่ใจและพิถีพิถันกันมากทั้งโคและไก่ เพราะถ้าเลี้ยงสัตว์อะไรก็แล้วแต่ต้องรักและมีความหวังกับสัตว์ที่เลี้ยง

         -    อาหาร  ทั้งไก่และโค คือสัตว์ที่ให้เนื้อ  อาหารหลักที่ใช้เลี้ยงมีต้นทุนที่มาใกล้เคียงกัน  นั่นคือ กินอาหารที่มาจากพืชและจากเกษตรกรเป็นหลัก  ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง แต่เชื่อไหมค่ะ ทั้งไก่และโคจะไม่แย่งกันกิน เพราะไก่กินข้าว โคกินฟาง ไก่กินเมล็ดข้าวโพด โคกินต้นข้าวโพด  ไก่กินเมล็ดถั่ว โคกินต้นถั่วและเมล็ดถั่วบ้างเป็นบางพวกบางตัว

         เป็นไปได้หรือไม่ที่คนเลี้ยงโคจะเอื้อต่อการเลี้ยงไก่ หรือคนเลี้ยงไก่จะเอื้อแก่คนเลี้ยงโค

        เป็นไปได้แน่นอนค่ะ ท่าน ดร.สวัสดิ์ชี้แจง เพราะสัตว์ทั้งสองชนิดนี้กินอาหารในกลุ่มเดียวกัน

       ถ้าเกษตรกรปลูกพืชอาหารสัตว์อย่างที่กล่าวมาจะสามารถเลี้ยงได้ทั้งโคและไก่

     

       ปลูกข้าว ได้ข้าว ได้ฟาง เป็นอาหารสัตว์ในครัวเรือนที่ไม่ต้องลงทุน

       ปลูกข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยวข้าว ได้ข้าวโพด ได้ต้นข้าวโพด ได้บำรุงดินและใช้ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

       ปลูกถั่ว ได้เมล็ดถั่วและต้นถั่วเป็นอาหาร ได้บำรุงดินเป็นต้นทุนการผลิตที่คุ้มค่า

       ปลูกหญ้า  ไก่และโคได้อาหาร อย่าเป็นงงนะค่ะ เพราะไก่ก็ต้องหญ้าวันละหลายกรัมเพื่อสร้างเปลือกไข่  จึงเป็นไปได้ที่ปลูกหญ้าสักแปลงไว้แบ่งเลี้ยงโคและเลี้ยงไก่ไปพร้อม ๆ กัน

       ถ้าทั้งคนเลี้ยงโคและเลี้ยงไก่ สามารถปลูกพืชอาหารสัตว์และเลี้ยงสัตว์แบบเอื้อ และอาทรต่อกันดังที่กล่าวมาได้ นอกจากจะลดต้นทุนการผลิตด้านอาหารได้แล้ว ก็จะทำให้เกิดรายได้ต่อคนในชุมชนได้ด้วยเพราะสามารถผลิตอาหารสัตว์จำหน่าย เกิดนักการตลาด นักผลิต และนักแปรรูปอีกมากมายขยายวงกว้างไปสู่สังคมใหญ่ มีรายได้ที่มั่นคง ไม่ต้องไปหลงแสงสีที่เมืองกรุงอีกต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 73360เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2007 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • แวะมาดูการปลูกหญ้าและข้าวครับผม
  • ที่บ้านใช้ต้นข้าวโพดอ่อนให้วัวกินครับ
  • วันที่ 27-28 จะไปทักทายครับผม
    เห็นไหมว่าถ้าเรานำการจัดการความรู้เข้ามาจัดระบบความรู้ให้ดีแล้ว จะเกิดการสร้างงาน และเกิดกระบวนการในการปฏิบัติงานนั้น ๆ ได้ยิ่งใหญ่จริง ๆ นะคะ
P   ขอบคุณค่ะ อาจารย์ที่แวะมาดู จริง ๆ มีแต่บรรดาพ่อทั้งหลายที่ปลูกหญ้า คนเป็นลูกอย่างเราจึงได้พึ่งใบบุญได้เรียนรู้
         และมีบุญที่จะได้พบอาจารย์ด้วยค่ะ
P
        ขอบคุณค่ะพี่น้อย
        ถ้าสามารถนำประเด็นความรู้ต่างๆ ที่เราได้พบเห็น ได้ปฏิบัติ มาจัดการความรู้ให้เป็นระบบได้  ความเป็นระบบจะทำให้เรามองเห็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์ทั้งในแง่ดีและร้าย ที่สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาสังคมได้อีกมากมายแน่ ๆ ค่ะ
อยากเห็นชาวบ้าน คิดได้เหมือน อ. พันดานำเสนอ ครับ คงจะช่วยชาวบ้าน ให้ใด้สามารถจัดการทรัพยากรใด้อย่างคุ้มค่า ซึ่งจะนำไปสู่ การพึ่งตนเองครับ

          มีชาวบ้านหลายรายที่คิดได้ แต่ไม่มีแรงเสริมจากคนใกล้ตัวแบบ อบต.

          ถ้า อบต.  เห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นบทบาทของตน ที่ต้องปฏฺบัติ หลีกเลี่ยงไม่ได้  คงต้องให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี 

        ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท