มหาชีวาลัยอีสานกับการจัดระบบการจัดการ


โดยเฉพาะใต้ยุ้งข้าว จะมีสารพัดสิ่งที่จะก่อให้เกิดความพอเพียงในครอบครัวนั้น เช่น นอกจากเล้าไก่ เล้าเป็ดแล้ว ยังมีเล้าหมู กี่ทอผ้า เผลอ ๆ บางบ้านมีทั้งคอกวัวคอกควายโดยการต่อคอกออกมาข้าง ๆ ยุ้งข้าว

การเลี้ยงไก่ไข่สายพันธุ์ไทยระดับครัวเรือนในชุมชน

              จำได้ว่าสมัยที่เป็นเด็กนักเรียนประถมปลายมาหาสมัยมัธยมต้น อาหารหลักที่ดิฉันรับประทานเป็นประจำ คือ ไข่ต้ม ไข่เจียว ปลาร้าบอง แจ่ว ปลาทู น้ำพริกปลาทู ผักสด ผักต้มจิ้ม ถ้าวันไหนดีหน่อยก็มี ปลาปิ้ง ต้มยำปลามาเพิ่ม นาน ๆ จะมีอาหารชนิดพิเศษเช่น ต้มไ่ก่ หรือลาภเป็ด ก็ต่อเมื่อไก่หรือเป็ดที่เลี้ยงไว้มันแก่จนไม่ออกไข่ หรือเมื่อมันเหงา (โรคเหงา) หรือเวลามีแขกมาเยี่ยมที่บ้าน ถึงจะได้มีอาหารจานเด็ดขึ้นมา

               ทั้งไก่และเป็ดจะมีเล้าใต้ยุ้งข้าว และมีแปลงผักสวนครัวเล็ก ๆ ข้างบ้าน ถ้าบ้านไหนไม่มีพื้นที่ข้างบ้านก็ขอปลูกผักสวนครัวกับบ้านที่มีสวนครัว แต่ลงแรงปลูกเอง ดูแลเอง เป็นการจัดการในพื้นที่อันน้อยนิดเท่าที่มี แต่ก็ได้การอยู่ดี มีสุข สุขภาพจิตดีโอบอ้อมอารี มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ซึ่งในสังคมชุมชนทุกวันนี้ขาดหายไป

              โดยเฉพาะใต้ยุ้งข้าว จะมีสารพัดสิ่งที่จะก่อให้เกิดความพอเพียงในครอบครัวนั้น เช่น นอกจากเล้าไก่ เล้าเป็ดแล้ว ยังมีเล้าหมู กี่ทอผ้า เผลอ ๆ บางบ้านมีทั้งคอกวัวคอกควายโดยการต่อคอกออกมาข้าง ๆ ยุ้งข้าว  คิดดูอีกทีใต้ยุ้งข้าวจะเป็นที่ที่มีประโยชน์ที่สุด เพราะบ้านสมัยก่อนจะมีบริเวณรอบบ้านกว้าง หรือบ้านไหนไม่มีของกินของใช้อะไร ก็นำส่วนที่ตนเองมีไปแลกเปลี่ยนสิ่งของที่ตนเองไม่มีกับบ้านข้างเคียงที่มี บางอย่างไม่จำเป็นต้องซื้อด้วยเงินก็จะได้มาด้วยการแลกเปลี่ยน  จะเห็นว่าชีวิตความเป็นอยู่ของคนชนบทสมัยนั้นยังพอมีความสุขกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียงอยู่มากทีเดียว

              ต่อมาระยะเวลาไม่กี่ปีผ่านไป พอมีลูกมีหลานบริเวณที่ว่างรอบบ้านก็จะถูกแบ่งปันให้ลูกหลานสร้างที่อยู่อาศัย ยุ้งข้าวที่ใหญ่ใต้ถุนกว้างก็กลายเป็นถูกรื้อ หายไปกลายเป็นห้อง ๆ หนึ่งในบ้านเพื่อเก็บข้าว ไว้กินในรอบปี  แต่บางบ้านไม่มีห้องไม่มียุ้งเก็บข้าว เพราะไม่มีข้าวเก็บ  ทำนาเสร็จก็ขนไปส่งที่โรงสีข้าวของนายทุนจนหมดเกลี้ยง แลกเปลี่ยนเป็นเงินสดด้วยการขายในราคาถูกกลับมา เพื่อที่จะซื้อข้าวสารจากนายทุนในราคาแพง  

             ที่สำคัญทุกวันนี้คนใช้เงินเป็นตัวกลางเพื่อตีราคาแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของ ดังนั้นจึงต้องหาทางหาเงินให้ได้มาก ๆ เพื่อที่จะนำมาเปลี่ยนเป็นสิ่งของที่อยากได้ จนลืมคิดไปว่าบางอย่างเรามีต้นทุนที่จะทำ  ปลูก หรือสร้างได้เอง  โดยไม่ต้องรอหาเงินเพื่อไปแลก เปลี่ยนมาในราคาที่สูงเกินจริง
<div style="text-align: center"></div>



              แนวคิดในการเลี้ยงไก่ไข่ในชุมชน ที่จะให้ครอบครัวแต่ละครอบครัวมีไข่ที่คนในครอบครัวเลี้ยงได้เอง มีไว้รับประทานเองเป็นการสร้างสุขภาพที่ดี แล้วยังสามารถขายได้เงินนำไปซื้อสิ่งอื่นได้ แทนการที่จะทำอย่างอื่นมาเป็นเงินแล้วนำไปซื้อไข่ (ดังที่ครูบาสุทธินันท์ได้พูดถึงว่าชุมชนต้องจ่ายเงินไปเท่าไรกับการซื้อไข่นายทุนมารับประทาน)  และเป็นการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนใ้ห้เกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง จึงเป็นแนวคิดอีกหนึ่งประเด็นที่มหาชีวาลัยอีสานจะเปลี่ยนให้เครือข่ายสร้างงานและสร้างเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนของตนเองได้อย่างยั่งยืน  เป็นแนวคิดในขั้นแรกจากการที่ ดร.สวัสดิ์ ธรรมบุตร ร่วมกับ  ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์   ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์นำไก่ไข่รุ่นหนุ่มที่พร้อมจะออกไข่มาให้เลี้ยง  

            ในขั้นที่ 2 ที่จะเริ่มคือการสร้างเครือข่ายในกลุ่มเดิมให้เข้มแข็ง ด้วยการจัดสรรแบ่งกลุ่มการสร้างงานตามความชอบ และความเหมาะสมของพื้นที่ในการผลิตโดยกลุ่มแรกที่มีความพร้อมที่จะเลี้ยงไก่ไข่ที่ยังเล็ก จะเริ่มเลี้ยงไก่ไข่ตั้งแต่อายุ 1 วัน จนเป็นไก่รุ่นหนุ่ม กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่พร้อมจะเลี้ยงไก่ไข่รุ่นหนุ่มที่จะออกไข่ และกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่ผลิตอาหารไก่ เป็นกลุ่มที่ไม่มีความพร้อมในการเลี้ยงไก่ แต่พร้อมที่จะเป็นฝ่ายสนับสนุน นั่นคือพร้อมที่จะเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารไก่  โดยให้เลือกตามความสมัครใจ และตามสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ในกลุ่มนี้จะแยกส่วนการผลิตวัถุดิบเพื่อให้ได้อัตราส่วนที่พอเพียง และตามกำลังคนผลิต แต่ในกลุ่มต้องสามารถผลิตอาหารไก่ที่จะส่งให้เครือข่ายได้พอเพียง โดยอาศัยจากแหล่งภายนอกน้อยที่สุด นอกจากวัตถุดิบบางอย่างที่เราไม่สามารถผลิตได้เอง

              จากแนวคิดในการจัดระบบการจัดการในเครือข่ายของมหาชีวาลัยอีสาน ที่ครูบาสุทธินันท์เคยบอกว่า การนำวิชาการมาผสมผสานกับวิชาเกิน หรือนำวิชาการมาผสมผสานกับอาชีพทำให้เกิดวิชาชีพ ทำให้เกิดการพึ่งตนเองได้ จะเห็นได้ว่าวิชาการที่เป็น Knowledge Base  เมื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติจึงเกิด  Knowledge  Management  หรือ KM ขึ้น และสามารถที่จะสร้างงานให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนได้ในอีกระดับหนึ่งนั่นเอง 

</span>

หมายเลขบันทึก: 73342เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2007 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
    เราต้องช่วยกันติดตามตอนต่อไป ว่าไก่ของใครจะไข่ก่อน ไก่ของใครจะตายก่อน  ไก่ของใครจะไข่โตกว่า และขายได้ราคาดีกว่า  ครับ

อย่าลืมด้วยนะค่ะว่าจะได้กินไข่ของใครก่อน และไข่ไก่ของใครอร่อยกว่ากัน  เพราะนั่งย่อมแสดงถึงปริมาณและคุณภาพที่ได้มาจากการจัดการของคนเลี้ยง ที่สามารถประชาสัมพันธ์และทำการตลาดได้เป็นอย่างดีค่ะ

    อาจารย์ศิริพงษ์กับอาจารย์พันดาอย่าลืมนะคะว่า เราช่วยกันก่อให้เกิดงาน แล้วต้องช่วยกันสานสายใยให้เชื่อมโยง ดังนั้นเราต้องช่วยกันหาคำตอบต่าง ๆ ได้แน่นอน เพราะเราต้องการสร้างให้ชุมชนของเราอยู่ดี มีสุข ไร้ทุกข์อยู่บนฐานแห่งความพอเพียง
  • ไม่ทราบว่าของใครไข่ก่อนนะคะ 
  • ทราบแต่ว่า วันอาทิตย์ที่เข้าไป  ไข่พะโล้อร่อยมากค่ะ  เมื่อก่อนหนิงจะชอบให้คุณแม่ทำไข่พะโล้ให้ทานอยู่ประจำ  เพราะหนิงว่า  ไม่มีใครทำอร่อยเท่าคุณแม่ จริงๆนะคะ  แต่วันนั้นขนาดคุณแม่หนิงยังออกปากเลยว่า ไข่พะโล้ที่บ้านพ่อครูบาอร่อยมากเลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท