มหาวิทยาลัยกับงานวิจัย การปรับเปลี่ยนเพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา ตอน 6 (3)


น่าเสียดาย ที่ระบบการลาไปเพิ่มพูนความรู้ในระบบมหาวิทยาลัยไทย ถูกใช้ไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ทางวิชาการเป็นส่วนใหญ่

         < เมนูหลัก >

         ตอน 6 (3)

         ปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างมหาวิทยาลัย ภารกิจหลักสร้างสรรค์ปัญญา

         การลาไปเพิ่มพูนความรู้

         อาจารย์ในมหาวิทยาลัยจะต้องติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการให้ได้อย่างน้อย ๆ ก็ในสาขาวิชาของตัวเอง โดยจะต้องมีกลไกช่วย ได้แก่ กิจกรรมวิชาการต่าง ๆ คือ วารสารสโมสร (Journal club) สโมสรวิจัย (Research Club) การไปร่วมประชุมวิชาการของสมาคมวิชาการและสถาบันวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งการทำงานวิจัยในโครงการของตัวเอง และในโครงการที่ร่วมมือกับผู้อื่น หากอาจารย์ร่วมกิจกรรมเหล่านี้อย่างเอาจริงเอาจัง ก็มั่นใจได้ว่าจะไม่ล้าหลังทางวิชาการ

         อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นกลไกให้ได้เปลี่ยนบรรยากาศจากความจำเจ และให้ได้มีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศแปลกใหม่ในสถาบันอื่น แวดวงวิชาการต่างประเทศจึงคิดระบบ “การลาเพื่อเพิ่มพูนความรู้” (Sabbatical Leave)

         ทั้งนี้หากยึดวัตถุประสงค์ที่ระบุข้างต้น สถาบันต้นสังกัดจะต้องใจป้ำที่จะลงทุนจ่ายให้อาจารย์ไปทำงานวิจัยในสถาบันที่มีศาสตราจารย์ที่เก่งที่สุดเท่าที่จะหาได้ในสาขาที่ผู้นั้นทำงานวิจัยอยู่ในต่างประเทศ มักบังคับว่า จะต้องไปทำงานวิจัยในต่างประเทศ หรือ อาจกำหนดเงื่อนไขอื่นก็ได้

         ตามหลักการสำคัญ คือ เพื่อให้ใช้เวลาดังกล่าวเพิ่มเติมพลังทางวิชาการให้กลับมาพร้อมกับความ “สด” พร้อม ที่จะสร้างสรรค์ผลงานวิจัยต่อไป

         น่าเสียดาย ที่ระบบการลาไปเพิ่มพูนความรู้ในระบบมหาวิทยาลัยไทย ถูกใช้ไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ทางวิชาการเป็นส่วนใหญ่ 

         บทความพิเศษ ตอน 6 (3) นี้ได้ จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 9 ล. 2816 (108) 6 มิ.ย. 39 พิเศษ 6 (บทความไอที)

         เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 7330เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2005 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท