ตีความหนังสือ : Social Intelligence ตอนที่ 3 ข่าวดี


มีมุมหนึ่งที่ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้กล่าวถึง  และน่าสนใจอย่างยิ่ง   คือ  การระบาดทางอารมณ์ความรู้สึกของคนเรา    หากเราอยู่ใกล้คนที่อารมณ์ฉุนเฉียว   โอกาสที่เราจะเกิดอารมณ์ฉุนเฉียว  หรือหงุดหงิด   หรืออารมณ์เสีย   ก็มีโอกาสสูงตามไปด้วย    เพราะอย่าลืมว่า เจ้า amygdala  ไอ้ตัวสร้างอารมณ์แบบฉับพลันนั้น  มันทำงานเร็วมาก   และหากใครที่สมองส่วน prefrontal  cortex  ไม่สมบูรณ์พอละก้อ   โดนดึงเข้าป่าแน่ๆ

ผู้เขียนชี้เอาไว้จุดหนึ่งที่ชวนให้คิด    เรื่องของเหตุการณ์ร้ายๆ  ที่ยั่วยุให้อารมณ์ของคนเรานั้น  ถูกโน้มน้าวไปในทางนั้นมีสูงมาก    เพราะว่าถ้าเราตั้งข้อสังเกต  กลไกสื่อสารมวลชน  ทั่วโลก   ข่าวดี  สถานการณ์ดี  เหตุการณ์ดีๆ  นั้นถูกหยิบขึ้นมานำเสนอน้อยมาก   หากเปรียบเทียบสัดส่วนกับฝั่งตรงกันข้าม

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  โดยเฉพาะกลุ่ม คน และลิงนั้น   จะมีสัญชาติญาณของการเข้าถึงหัวอกคนอื่น  โดยธรรมชาติ    แต่ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เราพบเจอว่าอย่างไหนมากกว่ากัน   การทำงานของสมองก็จะบันทึกความจำเรื่องราวนั้นไว้   และมันจะแสดงออกมาตามหน่วยความจำในสมองที่เรามี    อันนี้ผมตีความหนังสือนะครับ

การนำเสนอข่าวดี   คนดี  ครูดี  เด็กดี  อะไรดีๆ  ไม่ไว้จะช่องทางไหน  จึงน่าจะเป็นการช่วยให้สมองของเราบันทึกสิ่งดีๆเก็บไว้มากขึ้นด้วย

หมายเลขบันทึก: 73216เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2007 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
มาบันทึกสิ่งดีๆเข้าสมองครับผม ขอบคุณครับ
  • ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเราหลายท่านเคยพูดไว้ว่า  เรื่องร้อน   อารมณ์สูง  เหตุผลจะต่ำ
  • ขอบคุณ คุณธว้ช ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท