รัฐขาดดุลเงินสดกว่า 5 หมื่นล้าน อุดหนุนเงินท้องถิ่น-ช่วยเกษตรกร


ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2550 ว่า รายได้นำส่งคลังรัฐบาลสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 14.8% ขณะที่ การอัดฉีดเม็ดเงินจากงบประมาณรายจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 17.0% เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ยังไม่มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณเกินดุล 3,437 ล้านบาท แต่เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 55,059 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ของรัฐบาลขาดดุล 51,622 ล้านบาท

        คลังเผยไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลขาดดุลเงินสดกว่า 5 หมื่นล้านบาท แม้ยอดรายได้นำส่งคลังจะสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.8% เหตุดุลนอกงบประมาณขาดดุลกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท   ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการถอนเงินฝากนอกงบประมาณ เพื่อโอนให้ท้องถิ่นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และการจ่ายเงินให้กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

            ดร.สมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการตำแหน่งที่ปรึกษา        ด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2550 ว่า รายได้นำส่งคลังรัฐบาลสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 14.8%   ขณะที่      การอัดฉีดเม็ดเงินจากงบประมาณรายจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 17.0% เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ยังไม่มีผลบังคับใช้   ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณเกินดุล 3,437 ล้านบาท แต่เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 55,059 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ของรัฐบาลขาดดุล 51,622 ล้านบาท

            เขากล่าวด้วยว่า สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2550 เท่ากับ 41.14% ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกิน 50%   ส่วนรายได้นำส่งคลัง ในไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 10,716 ล้านบาท หรือ 3.6% และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 42,412 ล้านบาท หรือ16.0% ส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 303,616 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 39,020 ล้านบาท หรือคิดเป็น 14.8% โดยภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนในส่วนของกรมสรรพากร ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะ   ในส่วนของกรมสรรพสามิต ได้แก่ ภาษีสุรา เบียร์ ยาสูบ และน้ำมัน   นอกจากนั้น การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนก็เพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกัน ด้านรายจ่ายรัฐบาลในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 300,179 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 61,582 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 238,080 ล้านบาท รายจ่ายลงทุน 19,778 ล้านบาท และรายจ่ายจากงบประมาณ   ปีก่อนจำนวน 42,321 ล้านบาท

            เขากล่าวอีกว่า สาเหตุที่การเบิกจ่ายงบประมาณต่ำกว่าปีที่แล้วมาก เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ยังไม่มีผลบังคับใช้ ทำให้ต้องใช้รายจ่ายประจำปีงบประมาณที่แล้ว ไปพลางก่อน ซึ่งจะใช้ได้เฉพาะงบรายจ่ายประจำ และงบที่ผูกพันมาแล้วเท่านั้น  

            ส่วนดุลการคลังรัฐบาลตามกระแสเงินสด เนื่องจากรายได้นำส่งคลัง และรายจ่ายเงินงบประมาณข้างต้นส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 3,437 ล้านบาท แต่เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 55,059 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ขาดดุลจำนวน 51,622 ล้านบาท  ทั้งนี้ การขาดดุลเงินนอกงบประมาณ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการถอนเงินฝากนอกงบประมาณ เพื่อโอนให้ท้องถิ่นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และการจ่ายเงินให้กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

กรุงเทพธุรกิจ  โพสต์ทูเดย์  ข่าวหุ้น  คมชัดลึก 

ผู้จัดการรายวัน  ข่าวสด  บ้านเมือง  แนวหน้า  มติชน : 18 ม.ค. 50

 

คำสำคัญ (Tags): #งบประมาณ
หมายเลขบันทึก: 73200เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2007 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท