การพัฒนาแบบแยกส่วนคือที่มาของวิกฤติของการพัฒนา


เราสามารถทำงานแบบแยกส่วนได้อย่างไม่มีปัญหาเลย ถ้าเราไม่พิจารณาอย่างแยกส่วน
 

เมื่อเราพยายามที่จะปรับระบบการทำงานต่างๆเพื่อการพัฒนานั้น เราจะพบอุปสรรคประการหนึ่งก็คือ ต่างคนต่างทำ ทั้งที่ทุกคนก็หวังดีด้วยกันทั้งนั้น

  

แม้เราจะพยายามหาวิธีการทำงานร่วมกัน โดยใช้คำต่างๆที่สื่อความหมายในการพยายามที่จะทำงานร่วมกัน เช่น ระบบชุมชน ระบบชนบท วิเคราะห์ระบบ การวิจัยเชิงระบบ ระบบการทำฟาร์ม การทำงานแบบมีส่วนร่วม การวิจัยแบบมีส่วนร่วม ฯลฯ

  

ก็ยังมีปัญหาว่าเราก็ยังไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีพลังในการพัฒนาที่แท้จริง

 

ผมพยายามมองหาสาเหตุต่างๆของปัญหา

ตามหลัก สมุทัย ของอริยสัจสี่ ก็พบว่า

สาเหตุใหญ่ที่สุดของปัญหาก็คือ การพิจารณาแบบแยกส่วน ในกระบวนการเรียน การศึกษา การวิจัย และกระบวนการทำงานพัฒนาในแทบทุกระดับ และทุกระบบ

  

และขอพูดให้ชัดตรงนี้ว่า การพิจารณาหรือวิเคราะห์อย่างแยกส่วน เป็นคนละเรื่องกับ การทำงานแบบแยกส่วน

 

เราสามารถทำงานแบบแยกส่วนได้อย่างไม่มีปัญหาเลย ถ้าเราไม่พิจารณาอย่างแยกส่วน และ โดยส่วนตัวนั้น ผมยังเห็นด้วยกับการทำงานอย่างแยกส่วน แต่ ไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาอย่างแยกส่วน ครับ

  

แล้วสาเหตุของการพิจารณาแบบแยกส่วน คือ อะไร

  

เท่าที่สังเกตก็คือ ประสิทธิภาพ ของการทำงานแบบ แยกส่วน สูงกว่า การทำงานแบบเป็น ระบบ

 

และเป็นการมอง ประสิทธิภาพ แบบแยกส่วน ออกจาก ประสิทธิผลซึ่งเป็นเรื่องการให้ความสำคัญของกระบวนการ มากกว่า ผลลัพธ์

 

เพราะถ้ามอง ประสิทธิผล แล้ว การแยกส่วนแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย แม้จะมี ประสิทธิภาพ สูงกว่าก็ตาม(ยกเว้นในบางกรณีพิเศษจริงๆที่ขีดจำกัดในการพัฒนามีเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เพียงด้านเดียว) 

  

ถ้าเราจะลดการพิจารณาแบบแยกส่วน เราต้องลดการตัดสินการทำงานด้วยประสิทธิภาพ และเพิ่มการวัดประสิทธิผลแทน

  ผมถือว่า นี่คือ นิโรธ ของการแก้ไขปัญหา การพัฒนา ที่ดีที่สุด เท่าที่นึกออกตอนนี้ครับ  

 

แล้ว มรรค ละคืออะไร

 ก็น่าจะเป็นการกำหนดตัวชี้วัดในการทำงาน หรือ KPI นั่นแหละครับ

ถ้า KPI เราเน้น ประสิทธิผล มากกว่า ประสิทธิภาพ และ กระบวนการ

เราก็จะทำให้การพิจารณาแบบแยกส่วน เป็นการพัฒนาแบบ องค์รวม มากขึ้น

 

และน่าจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการพัฒนาทุกระดับ และทุกระบบ

  

ตั้งแต่ระบบการศึกษา การวิจัย การสร้างองค์ความรู้ และการพัฒนา

  นี่เป็นอีกความฝันหนึ่งของผมในเช้าวันนี้ครับ
หมายเลขบันทึก: 73193เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2007 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

มันแยกส่วนไปเรียบร้อยแล้วจะทำอย่างไรดีครับอาจารย์?
ไม่รู้จะโทษใคร ตลาดหรือมหาวิทยาลัย?
นักเรียนก็อยากได้ปริญญาที่แยกส่วน จะได้สมัครงานได้
มหาลัยก็แยกส่วนการสอน จะได้จัดระบบได้
ขืนสอนรวมกันไป ยุ่งตาย!
จะให้อาจารย์ที่จบประวัติศาสตร์ สอนเขียนเรียงความด้วย หรือให้อาจารย์จบการเมืองการปกครอง มาสอนวิธีการวิเคราะห์สื่อวิทยุโทรทัศน์ ก็คงแปลก

น่าสนใจครับ ที่พอมาถึงจุดหนึ่ง เด็กมีความรู้ ความสามารถและทักษะไม่ถึงจุดที่เราหวังไว้
แต่เราก็ดันทุรังสอนไป (ทั้งที่รู้!!!)
เช่นเด็กมัธยม ยังอ่านหนังสือไม่แตก เขียนเรียงความไม่ได้ แต่พอถึงมหาลัยก็ให้ทำข้อสอบข้อเขียนกัน เขียนกันไม่ได้เรื่อง ก็ไม่คิดที่จะรวมเอาทักษะการเขียนเข้าไปในหลักสูตร
ผมหมายถึงทุกวิชาเลยครับ จะมาเถียงว่าฉันจบภูมิศาสตร์ จะสอนเขียนได้อย่างไร
จบวรรณคดี จะสอนเขียนทำไม เนื้อหาที่จะสอนในเทอมนี้ก็เยอะอยู่แล้ว

มันเลยอีรุงตุงนัง แก้กันไม่ได้สักที
เป็นอย่างนี้หรือเปล่าครับอาจารย์

เรียน ผศ.ดร.แสวง   รวยสูงเนิน

  • ในการทำงาน ผลลัพธ์ของงาน (output) นั้นผมมองว่าเราคงต้องมองทั้งสองประเด็นนะครับ ทั้งประสิทธิผล และประสิทธิภาพ ควบคู่กันไป แต่ทั้งนี้เราคงต้องมองลักษณะขององค์ประกอบอื่นเช่นกัน เช่น Impact
  • กระบวนการทำงานให้เกิดความเชื่อมโยงทั้งระบบคิด และเทคนิคของการทำงาน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางสังคมมาก แต่เราจะทำอย่างไรจึงจะผลิตคนเหล่านี้ขึ้นมาได้ เนื่องจากระบบการเรียนการสอนในสมัยนี้ ส่วนใหญ่จะสอนแบบเป็นแท่งๆ สุดท้ายนักศึกษานำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาตนเอง และสังคมไม่ได้ครับ

ด้วยความเคารพ

  • อุทัย   อันพิมพ์

ผมคิดว่าเราต้องหาจุดเริ่มที่ทำได้จริงครับ

โดยเฉพาะการคุมจาก KPI ที่สนับสนุนการทำงานที่เป็นรูปธรรม มากกว่านามธรรม

จะช่วยให้ทุกคนปรับตัวได้ง่ายขึ้น

และนำไปสู่การเรียนรู้จากเล็กไปใหญ่ จากต้นแบบสู่การปฏิบัติจริง และค่อยๆปรับไปน่าจะได้ครับ

คุณ อุทัย ครับ

ประสิทธิภาพต้องเอาอยู่แล้วไว้ครับ

แต่ประสิทธิผลควรมาก่อน แล้วก็ impact แล้วค่อยย้อนกลับมาหาประสิทธิภาพ

เหมือนกับการกินอาหารที่เราต้องเน้น (ตามลำดับ)

  1. กินอาหารที่มีประโชน์ (ประสิทธิผล)
  2. กินแล้วแข็งแรง สมบูรณ์ (Impact)
  3. ราคาประหยัด (ประสิทธิภาพ)

ถ้าเราเน้นประหยัดอย่างเดียว ไม่สนใจผลที่เกิด (อย่างที่เป็นและทำกันอยู่ทั่วไป) ก็ไปกินลม กินดิน กินทราย หรือกินน้ำทะเลก็ได้ครับ ไม่ต้องจ่ายเงิน และหนักท้องดีด้วย

นี่คือปัญหาของ KPI ในปัจจุบันครับ

ไม่รู้ว่า ชาติหน้าจะแก้ได้หรือเปล่า

  •  การไปถึงเป้าหมาย หรือที่หมายได้ คือความสำเร็จของการเดินทาง
  • ใคร ไปถึงช้าบ้าง อย่าเพิ่งด่วนไปตำหนิ เพราะเขาอาจจงใจเลือก รถไฟ แทน เครื่องบิน  ด้วยรู้ว่าจะได้พบเห็นอะไรๆได้มากมายและชัดแจ้ง ระหว่างการเดินทาง ไม่เพียงแค่ โฉบผ่าน และถึงที่หมายเร็ว แต่ไม่เคยรู้ว่ามีอะไรบ้างในระหว่างทาง เพราะมัน เร็ว และ สูง เกินไป
  • แต่ผมคงไม่เลือก รถไฟ ถ้าผมจะไป Australia

เพิ่งได้อ่าน blog ของท่าน อ.แสวง เป็นครั้งแรกครับ ได้สาระและแง่คิดในการทำงานที่ดี และสามารถนำเอาความคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ครับ ถึงแม้ว่าจะเป้นความรู้ใหม่ ที่ผมเพิ่งเข้ามาเรียนรู้ แต่ก็จะพยายามติดตาม เก็บเกี่ยวและร่วมแสดงความคิดเห็นของท่านอาจารย์ครับ

ขอบคุณสำหรับเช้านี้...ที่ให้ความรู้แก่ผมอีกครั้ง

การพิจารราแบบแยกส่วน การทำงานแบบแยกส่วน พิจารณาแบบรวมๆ แล้วมาทำแบบแยกส่วน มันจะไม่ยุ่งเหรอคะ   งงๆคะ  แล้วทำไมรุ้คะว่าคนเราพิจารณาจากประสิทธิภาพ  ไม่ได้มองที่ประสิทธิผล  อ๋อรุ้แล้วคะ  เป็นเหมือนการทำงานเพื่อเอาหน้ารอดไม่ได้มองที่ประสิทธิผลว่าผลจะเป็นอย่างไรขอให้ตัวเองได้ทำตามที่ได้รับมอบหมายมา รุ้สึกเหมือนกันคะ  เรียนไปแล้วรุ้สึกว่าไม่ได้อะไรเลย ว่างเปล่า  หรืออาจเป้นเพราะ เราเองที่ไม่ใส่ใจใฝ่หาเอง 

ขอบคุณครับ ขอให้เป็นพันธมิตรกันต่อไปนะครับ ผมมีเรื่องที่จะต้อง "รีบ" เขียนอีกมากครับ ตอนนี้ก็ติดเรื่องเวลา ครับ
  ฝากถึงคุณ HARRY ตรงนี้หน่อยครับ
     ตอนเข้ามาควรทำการ "เข้าระบบ" ก่อนทุกครั้งครับ ชื่อ HARRY จะได้มี Link ทำให้คนอื่นๆตามไปเยี่ยม Blog เราได้ง่ายขึ้นครับ

งง ? ความรู้ผมยังอ่อนหัด  ต้องได้รับการพัฒนาอีก

  • ผมอ่านแล้วชอบความคิดเห็นของ อาจารย์พินิจ (คุณHandy) ครับ  เปรียบเทียบได้อย่างเห็นภาพ  
  • ผมสอนนิสิตเสมอว่า  "ถ้าประสิทธิผลก็ยังไม่ผ่าน ไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้  ก็ไม่ต้องไปดูประสิทธิภาพ เลิกทำได้เลย  ถ้าประสิทธิผลได้ตามเป้าหมาย ค่อยมาดูว่าวิธีใหนประหยัดกว่ากัน (ประสิทธิภาพ) " 
  • ผมว่าถ้าเราไม่รีบมากไปนัก  การไปรถบัสก็น่าจะดีกว่าครับ  ปลอดภัย  ประหยัด  และได้เห็นอะไรดีเยอะแยะเลยครับ 
  • เวลาผมเดินทางไปเชียงใหม่  ผมชอบไปรถบัสครับ  ได้ดูวิวทิวทัศน์ของภาคเหนือ  ได้เห็นภูเขา  ได้เห็นไฟไหม้ป่าเวลากลางคืน  ได้เห็นหมอกหนาๆ  ได้เห็นอะไรมากมายที่ถือเป็นกำไรชีวิตได้ครับ  และที่สำคัญไปถึงเชียงใหม่และทำงานได้ทันตามเวลาที่กำหนดครับ   
ครับ ถ้าไม่มีประสิทธิผล ก็ไม่รู้จะมองประสิทธิภาพไปให้ได้อะไรครับ แต่เขาก็ยังทำกันนะครับ
ขอเรียนถามอาจารย์แสวงครับ 1. การพิจารณาแบบไม่แยกส่วน ความหมายเดียวกันกับ การคิดเชิงบูรณาการ การคิดแบบองค์รวม การมองแบบองค์รวม ฯลฯ หรือเปล่าครับ?... 2. การทำงานแบบไม่แยกส่วน ความหมาย เดียวกันกับ การบูรณาการ การทำงานเชิงบูรณาการ การทำงานแบบสหสาขาวิชา ประสานความร่วมมือ หรือเปล่าครับ? 3. จากการที่เคยอ่านหนังสือ ผมสังเกตเห็นวงการวิชาการ วงการพัฒนา พูดถึงศัพท์เหล่านี้มานานว่าการทำงานต้องบูรณาการ ว่าต้ององค์รวม...แต่ที่พบเห็นบางส่วนคือนักวิชาการคิดอย่างบูรณาการ คิดอย่างองค์รวม แต่การที่จะบูรณาการตัวตนของนักวิชาการกับคนอื่นกลับเป็นสิ่งที่ยากมากกว่า...อาจารย์คิดว่าเป็นเพราะปัจจัยอะไรครับ? 4.การพิจารณาแบบไม่แยกส่วน ถ้าพูดง่ายง่าย คือ การคิดแบบมีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป...ตามหลักอริยสัจสี่...การพัฒนาแบบไม่แยกส่วน การพัฒนาแบบองค์รวม การพัฒนาเชิงบูรณาการ การพัฒนาแบบผสมผสาน ก็คงใช้วิธีคิดไม่ต่างกัน 5.โดยส่วนตัวผมเห็นด้วยครับว่า ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพประสิทธิผลควบคู่กันไปด้วย...

คุณชอลิ้งเฮี้ยงครับ ผมว่าคุณต้องเป็นคนเดียวกับ นักรบมีดสั้น ใช่ไหมครับ ไม่งั้นคงไม่ถึงกับใช้ชื่อนี้เป็นชื่อเล่นนะครับ คำถามที่ถามมาตอบใหชัดที่เดียวนั้นค่อนข้าง ยาก

แต่ในความยากก็มีความง่าย ลองไปอ่านอีกหลายตอนที่ผมเขียนเรื่อง "บูรณาการ" จะชัดเจนขึ้น

ทุกคำที่ถามมาเกือบจะเป็นคำเดียวกัน แต่คนละบริบทกันเท่านั้นเองครับ

แต่ในที่สุดต้องเป็นหนึ่งจึงจะเป็นของจริง ถ้ายังไม่หนึ่งให้ไปทบทวนใหม่ได้เลยว่าขาดอะไร เหมือนกับ Joke ที่ว่า เจ้านายถูกต้องเสมอนั่นแหละครับ

ผมเขียนให้ใหม่ก็ได้ว่า

กฎข้อที่ ๑ บูรณาการที่แท้จริงคือทุกอย่างต้องเป็นหนึ่งเดียว

กฎข้อที่ ๒ ถ้าทำแล้วยังไม่เป็นหนึ่งเดียว ให้กลับไปทำข้อที่ ๑ ใหม่ครับ

ถ้าเบื่อก็พักสักหน่อย แล้วค่อยมาว่ากันใหม่ครับ

สงสัยที่ผ่านมาที่ยังไม่หนึ่งเดียว ไม่เต็ม หรือไม่สมบูรณ์...คงเพราะขาดอะไรไปนั่นเอง...ถ้าขาดก็คงต้องเติมเข้าไปอีก...แต่ในอีกมุมหนึ่งถ้าเกิน หรือ ล้น แล้วตัดออก...ถือว่าเข้าข่ายบูรณาการหรือเปล่าครับ...ถ้าแปลในทำนองที่ว่า การทำให้สมบูรณ์...

เมื่อเต็มและสมบูรณ์จะกรมแบบไม่มีเหลี่ยม ไม่มีมุม แบบสูงสุดคือไร้กระบวนท่าครับ

ถ้ายังมีเเหลี่ยมมีมุม แสดงว่ายังขาด หรือเกินไปครับ

นี่อาจสูงเกินไปสำหรับคุณได้

สงสัยส่งมาใหม่ครับ

ผมไม่เข้าใจที่อาจารย์อธิบายครับ แต่ผมจะถามใหม่ละกันครับ...ถ้าการบูรณาการ คือ การเอาหน่วยย่อยมารวมกันให้สมบูรณ์ หรือ การเอาหน่วยย่อยที่ขาดไปมาเติมให้สมบูรณ์ใช่ป่าวครับ แล้ว สมมุติในกรณีที่มันเกินพอมาก็ต้องตัดออกไปหรือเปล่าครับ...ไม่ให้มันเกินสมบูรณ์...แล้วทำไมเต็มจะต้องกลมล่ะครับ...เต็มแบบมีเหลี่ยมมีมุมได้ไหมครับ...หรือสูงสุด คือ ไร้กระบวนท่า ไร้รูปแบบ

วงกลมคือธรรมชาติครับ แสดงถึงความลงตัวและสอดคล้องกันครับ

เป็นปรัชญาครับต้องลองคิดดูแล้วจะเข้าใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท