งานพัฒนาเป็นงานอดิเรก ของ รุ่นเล็กเด็ก “เค็ม”


จริง ๆ แล้วในห้องเรารุ่นเด็ก ๆ ที่ถือว่ามีอายุน้อยและไล่เลี่ยนั้นมีอยู่ 5 คน แต่น้อยที่ว่าก็ปาเข้าไป 30 up ทั้งนั้น เพราะห้องเราไม่ได้รับคนเพิ่มมาเป็นเวลา 10 ปี ฉะนั้นผู้เขียนแม้อายุ 33 ย่าง 34 ปี ก็ยังถือว่าเป็นรุ่น generation ใหม่สุดอยู่ แต่อีกไม่นานห้องเราจะรับเด็กใหม่เพิ่ม 2 คน (ก็ถือโอกาสประชาสัมพันธ์ไปในตัวซะเลยอิ อิ สมัครได้เลยณบัดนี้ที่งานการเจ้าหน้าที่)  
แม้เราหลายคนจะเป็นรุ่นเด็ก แต่เราก็มีงานเชิงพัฒนา จะว่าไปก็พัฒนาไปเป็นวิจัย (R2R) ได้กันทุกคน
สังเกตุว่าเรื่องการทำ ทำ และทำนั้นพวกเราไม่กลัวและเกรง เหลือก็แต่ขั้นตอนการเขียนนี่แหละ มันยากส์ ยากส์ยกกำลังยากส์มากถึงมากสุด ก็เลยจอดอยู่กับที่ไปหลายต่อหลายคน
ยกตัวอย่างคร่าว ๆ และรายละเอียดเล็ก ๆ ค่ะ เรียงตามลำดับอายุ (โดยผู้เขียนเดาอายุจากหน้าตา เอาเองจากมากไปน้อยเพราะบางคนอาจจะปีเดียวกันแต่อ่อนแก่เดือน ครั้นจะถามก็ใช่ที่ก็ตัดสินเอาหน้าตาเป็นเกณฑ์ประกอบแล้วกัน)
  • มิงค่ะ จริง  ๆ แล้วต้องเรียกพี่มิง แต่เข้ามาตอนแรกเข้าใจผิดคิดว่าอายุเท่ากัน เลยเรียกติดปากว่ามิงเฉย  ๆ มาซะนาน พอรู้อายุแท้จริงอีกที ก็เรียกติดปากซะแล้ว แต่ก็อายุมากกว่าผู้เขียนปีเดียวเอง ก็ทำโครงการพัฒนางาน เรื่องการใช้สารควบคุมคุณภาพสำหรับการตรวจ Protein electrophoresis (PEP) แรกเริ่มเดิมทีจะทำ PEP สักกะทีก็ต้องหา serum ผู้ป่วยที่มีค่า protein อยู่ในช่วงค่าปรกติมาเป็น control เอาเอง ซึ่งบางครั้งค่าปรกติ ก็ไม่ได้ปรกติอย่างที่เป็น อีกทั้งทำยังการเก็บข้อมูลอายุน้ำยา Buffer สำหรับการตรวจ PEP อีกด้วย ซึ่งผู้เขียนว่าต่อยอดเป็นเชิงวิจัยได้สบาย เจ้าตัวก็พยักหน้ายิ้ม ๆ 
  • คนที่สองน่าจะเป็นผู้เขียน ซึ่งก็คงไม่ต้องเขียนเรื่องตัวเอง ยกไว้เป็นฐานที่เข้าใจเพราะเขียนเรื่องตัวเองบ่อยจนชักเบื่อตัวเองแล้วค่ะ อิ อิ
  • นายดำ คนใกล้ตัวเป็นเรื่องการเตรียมน้ำยาสำหรับการทดสอบ Creatinine สำหรับเครื่อง CX-3 delta แต่คนนี้ผ่านขั้นตอนการเขียนเป็นที่เรียบร้อย และรู้รสชาดของการทำวิจัยแล้วว่ามันยากส์ อย่างที่คิดจริง ๆ เพราะเพิ่งส่งโครงการวิจัยไปยังสงขลานครินทร์เวชสารเมื่อวานนี้เอง
  • คุณปรือ เขาก็ทำโครงการใช้น้ำยา protein ที่เตรียมเองเปรียบเทียบกับน้ำยาของบริษัท ซึ่งเดิมเราซื้อน้ำยาบริษัทมาเททิ้งแล้วใช้น้ำยาเตรียมเอง โดยที่เราเพียงแต่ใช้พารามิเตอร์ของบริษัทซึ่งเป็นบาร์โค๊ดที่มากับขวดน้ำยา และไม่บอกรายละเอียดของพารามิเตอร์มากนัก ดังนั้นคุณปรือก็ทำการ set พารามิเตอร์ขึ้นใช้กับน้ำยาเตรียมเองเปรียบเทียบกับพารามิเตอร์ของบริษัทและน้ำยาบริษัท  ซึ่งถ้าทำเสร็จเรียบร้อยเราก็ไม่ต้องกังวลเพราะตอนนี้เราซื้อน้ำยาบริษัทมาเททิ้ง ทำให้มีปัญหาเรื่องการ reject น้ำยา เธอเก็บข้อมูลเสร็จเรียบร้อยค่ะ เหลือแต่วิเคราะห์และสรุป  ซึ่งเธอก็เพิ่งไปอบรมโปรแกรมการใช้ SPSS มา
  • น้องอ๋ง ตอนแรกเจ้าตัวไม่อนุญาติหากใช้ชื่อนี้ เพราะเขา intrend มากเปลี่ยนชื่อเป็นน้องเจมส์ (วอน--ซะแล้ว) นอกจากมีหน้าตาเป็นอาวุธคือว่า...หล่อมั่ก มากแล้วความสามารถล้นเหลือทำเรื่องการเตรียมน้ำยาสำหรับการตรวจ GGT ซึ่งเราก็ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ค่ะ โครงการนี้ได้ส่งประกวดในงานประชุมวิชาการคณะแพทย์ปี 2546 ได้รางวัลพร้อมกับผู้เขียน เหลือเพียงขั้นตอนการเขียนค่ะ ซึ่งน้องเจมส์(วอน) บอกว่า ตอนนี้คงได้เวลาเขียนสักกะที (ก่อนจะไปเรียนต่อ)
 และนี่เป็นตัวอย่างของ คนเค็ม รุ่นเด็ก ๆ หรือ "เด็กเค็ม" ที่มีงานพัฒนาเป็นงานอดิเรก ที่หาเวลาว่าง (ยากเหลือเกิน) ทำกัน บันทึกนี้เขียนส่งท้ายก่อนที่เราจะไม่ใช่รุ่นเด็กเล็กแดงอีกต่อไป
หมายเลขบันทึก: 73102เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2007 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ต้องชื่นชมคนคอยกระตุ้นให้คนกระตือรือร้นอย่างคุณศิรินี่แหละค่ะ เรื่องบางเรื่องของหลายๆคน พี่เองยังไม่ทราบเลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท