ประยุกต์กิจกรรม storry telling มาทำ Module อบรมศึกษานิเทศก์เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง


        ผมมีโอกาสได้มาทำหลักสูตรการฝึกอบรมผู้นำการเปลี่ยนแปลง Module เรื่องการนิเทศ ติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  ได้นำเสนอกิจกรรม Storry telling และ CoPs ให้กลุ่มพิจาณาประยุกต์ใช้ในการทำโมดูลฝึกอบรมเฉพาะกลุ่มศึกษานิเทศก์  ปรากฎว่าได้รับความสนใจและยอมรับกัน  จึงขอเล่าถึงแนวคิดแนวปฏิบัติของกิจกรรม storry telling และ CoPs ที่นำมาประยุกต์ใช้พอสังเขปดังนี้
             
กิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง (story telling) ที่ดำเนินการผ่านชุมชนผู้ปฏิบัติ (Community of Practices : CoPs) ในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็น เรามีกติกาหรือข้อตกลงในการดำเนินการดังนี้
    
1.       เป็นวิธีการเรียนรู้จากผลสำเร็จที่ปลายทาง นั้นคือความสำเร็จจากการปฏิบัติจริงของผู้อื่นซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดของเขา (best process) แล้วมาเล่าให้ฟัง โดยให้สมาชิกแต่ละคน (กลุ่มหนึ่งควรอยู่ระหว่าง 8 10 คน) ผลัดกันเล่าเรื่องความสำเร็จที่ภูมิใจ ประทับใจ ของตนหรือของหน่วยงานของตน ให้เล่าเพียงประเด็นเดียวต่อหนึ่งเรื่อง เล่าแบบได้ใจความและเล่าสั้น ๆ ใช้เวลาประมาณ 2 3 นาที
    
2.       เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชุมชนผู้ปฏิบัติ (CoP) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น CoP การใช้ ICT เพื่อการบริหาร  CoP การวิจัยเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงาน  เป็นต้น โดยมีผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเล่าเรื่อง (อาจเรียกว่า คุณอำนวย ) ซึ่งตนเองก็ต้องเล่าด้วย
   
3.       กฎของผู้เล่า ต้องเล่าให้น่าสนใจ เล่าตามความเป็นจริง เล่าเฉพาะเหตุการณ์ บรรยากาศ ตัวละครความคิดของผู้เล่าในขณะเกิดเหตุการณ์ไม่ตีความระหว่างเล่า  เล่าให้เห็นบุคคล พฤติกรรม การปฏิบัติ การคิด ความสัมพันธ์ที่ไม่เยิ่นเย้อ
   
4.       กฎของผู้ฟัง ใช้กฎสุนทรียสนทนา (dialogue) คือ
      
4.1 ฟังโดยไม่พูดแทรก ไม่เสนอข้อแนะนำใด ๆ ไม่วิจารณ์ ไม่แย้ง แม่เมื่อเขาเล่าจบสามารซักถามในลักษณะขอข้อมูลเพิ่มเติมได้
    
4.2 ฟังด้วยความตั้งใจ  ไม่ต้องพะวงหรือเตรียมตัวในการพูดของตนเองในการพูดรอบต่อๆ ไป ให้ ตั้งใจฟังอย่างเดียว พอถึงรอบที่เราต้องพูดก็ให้พูดความจริงออกมากจากใจ
    
4.3 ฟังด้วยความเข้าใจ คือการจับประเด็นจากขุมความรู้ที่เล่าให้ได้ ดังนั้นการเล่าและการฟังจึงอยู่ภายใต้บรรยากาศที่ดีเป็นมิตร ชื่นชม ไม่ตัดสินว่าผิดหรือถูก ไม่คาดหวังกับผลลัพธ์มากจนลืมเปิดใจรับฟังผู้อื่น           
    
5. กำหนดให้มีผู้บันทึกขุมความรู้จากเรื่องเล่า (อาจเรียกว่า คุณลิขิต
) ซึ่งจะบันทึกประเด็นหรือวิธีการปฏิบัติของผู้เล่าแต่ละคนจนครบทุกคน           
    
6. เมื่อเล่าครบทุกคนแล้ว ผู้บันทึกจะอ่านขุมความรู้ของทุกคนให้สมาชิกฟัง แล้วสมาชิกจะช่วยกันสังเคราะห์ขุมความรู้เหล่านั้นเป็นแก่นความรู้ เพื่อการเทียบเคียงวิธีการปฏิบัติ (
benchmarking) นำไปสู่การปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานให้ก้าวหน้าต่อไป           

หมายเลขบันทึก: 73075เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2007 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท