OBJECT CONSTANCY


พ้นตาพ้นความคิด ไม่เห็นคือไม่มี

เมื่อวานได้อ่านหนังสือสารคดี แล้วพบเรื่องราวที่ต้องนำมาแลกเปลี่ยนใน block ให้ได้เลย เรื่องของ แนวคิดความคงอยู่จริงของวัตถุ

หนังสือเค้าเขียนว่า ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 - 8 เดือนนั้น ไม่ได้มีการพัฒนาแนวคิดเรื่องของ ความคงอยู่จริงของวัตถุ (object constancy) แนวความคิดคือ "พ้นตาพ้นความคิด ไม่เห็นคือไม่มี" เป็นคำที่อ่านแล้วยิ่งสะดุดในความคิดมาก

สิ่งที่บอกต่อคือว่าทำไมเด็กเมื่อไม่ได้เห็นหน้าแม่ซักแป๊บหนึ่ง หรือเด็กที่เข้าโรงเรียนวันแรก จึงร้องไห้จ้า เพราะว่าเด็กจะรู้สึกว่า เค้าไม่เห็นแม่ แม่ได้จากเค้าไปแล้ว นั่นคือความรู้สึกของเด็ก

แต่ที่สะดุดใจเนื่องจากว่า หากย้อนเวลากลับไปได้ก็อยากจะมีตัวเองที่เป็นแบบนี้บ้าง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเคร่งเครียดกับชีวิต ทำไมต้องทำโน่นทำนี่ให้ทันโลกทันสังคม

เมื่อกลับบ้านก็อยากที่จะให้งานที่ติดค้างสมองมาจากที่ทำงานหลุดลอยไป ทำใจให้สบายบ้างแต่อย่างไรก็ปล่อยวางไม่ได้ซักที่ พอมาเจอแนวคิดนี้บวกกับความไม่ยึดติดความคิดและตัวตนก็แวว๊บเข้ามาทันที

 

หมายเลขบันทึก: 73068เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2007 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
มันเป็นเช่นนั้นเอง สาธุ

สวัสดีอาจารย์เบียร์ค่ะ  สิ่งที่อาจารย์เขียนมาน่าคิดนะ สำหรับผู้ใหญ่แล้วมันซับซ้อนจริงๆ  คือ 

บางครั้ง เห็นแต่รู้ว่าไม่มี   ..(เศร้า)

และบ่อยครั้ง ไม่เห็นแต่รู้ว่ามี (โดยเฉพาะภาระ ..ก็เศร้าอีก)

มันเป็นเช่นนั้นเองใช่ไหมอาจารย์เอก

สวัสดีอาจารย์ปัท

ยินดีที่อาจารย์เข้ามาอ่าน blog เบียร์ เป็นเช่นนั้นเองจริงๆค่ะ

กำลังนั่งคิดถึงหน้าระรื่นของอ.เบียร์ตอนที่อาจารย์ปัทม์ชม....:-)

ตัวเองไม่ค่อยได้อ่านแนวทางของพุทธหินยานมากนัก  ก็เลยไม่รู้จะสื่อสารใน blog ของอาจารย์เอกอย่างไร (เพราะยังเข้าไม่ถึงค่ะ)  ปกติจะอ่านงานทางแนวเต๋า หรือ เซน มากกว่า    แต่ตอนนี้จะสนใจแนวทางของท่านพุทธทาสมาก  ทึ่งในความลึกซึ้ง การวิเคราะห์ "จิต"  ที่พระพุทธองค์ค้นพบ และการอธิบายของท่านพุทธทาส  แต่ตัวเองยังต้องเรียนรู้อีกมาก

ยังไงก็ยังเชื่อว่า  การแก้ไขปัญหาคนทุกข์ในสังคมไทย  ต้องใช้ทั้งแนวพุทธ เพื่อปรับพฤติกรรมเชิงปัจเจก  พร้อมๆกับใช้แนวโลก  ที่สร้างกติกาสังคมให้เป็นธรรมกว่านี้ค่ะ 

คิดถึงหน้าระรื่นของอ.เบียร์เช่นกันค่ะ

"มันเป็นเช่นนั้นเอง" เป็นคำของหลวงพ่อพุทธทาส แต่เมื่อศึกษาพุทธมากๆ ก็จะรู้สึกอย่างนั้นจริงๆไปเอง...สาธุ เนอะครับ แล้วผมจะไปเรียนอื่นทำไม เรียนสิ่งที่มีอยู่ก็ดีอยู่แล้วนี่ แต่นั่นแหละ อย่างที่ อาจารย์ปัทม์ว่าแหละ เราต้องอยู่ทางโลกด้วย...คิดแล้วน่าเศร้า ยังคิดจะไปอัตตกิลมถานุโยคเหมือน อ.เบียร์อีก คึคึ

สวัสดีค่ะ คุณเบียร์,

 

และสวัสดีทุก ๆ ท่านด้วยค่ะ

 

อนุโมทนากับคุณเบียร์ ที่นำเรื่องนี้มาเล่า  พร้อมทั้งนำข้อคิดมาฝากด้วยนะคะ

 

เป็นการเปิดประเด็นที่มีคุณค่าค่ะ

 

อยากจะขออนุญาต ขอโอกาส ลปรร ด้วยคนน่ะนะคะ

 

จริง ๆ แล้ว ส่วนตัวพบว่า เข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนมากที่สุด  จากการไปลองทำดูเองน่ะค่ะ  ไม่ใช่จากการอ่าน

 

ไม่ว่าจะหินยาน หรือมหายาน หรืออะไรก็ตามน่ะนะคะ

 

เพราะถ้าลองดูดี ๆ แล้ว  อย่างท่านพุทธทาสนี้  ท่านปฏิบัติมาก่อน  แล้วท่านจึงเขียน

 

ฉันใด ฉันนั้น  ถ้าได้ลองปฏิบัติเองให้เข้าใจแม้นเพียงครั้งเดียว  ๗ วันนี้น่ะค่ะ  มันจะหายสงสัยทุกอย่างเลยล่ะค่ะ

 

ไม่ติดข้องสงสัยอะไรอีก  จะหินยาน จะมหายาน

 

จะไปหยิบจับอะไรขึ้นมาอ่านใหม่  มันก็เข้าใจมากขึ้น

 

ไม่ใช่ว่าแอนตี้ปริยัติ น่ะนะคะ  คิดว่าธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้นั้น ลึกซึ้งที่สุดแล้ว

 

แต่ไม่จำเป็นต้องใช้บาลี  ไม่จำเป็นต้องว่าเป็นข้อ ๆ  ไม่จำเป็นต้องถกเป็นปรัชญา  หรือวิเคราะห์ วิจารณ์ วิจัย เหมือนระบบระเบียบวิธีทางตะวันตกเขาใช้กันน่ะค่ะ ที่จะเข้าใจ

 

ปริยัติ ช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น หลังจากปฏิบัติแล้วน่ะนะคะ คิดว่า

 

แต่อ่านไปเฉย ๆ แล้วไม่ได้ลองเอากายกับใจไปทำดู  แบบฝึกจริง ๆ อย่างต่อเนื่องภายใต้การกำกับดูแลของครูบาอาจารย์ให้เห็นผลเกิดขึ้นเองในใจ  มันก็จะอยู่แค่ขั้นถกกันไป ถกกันมาอยู่นี่น่ะค่ะ

 

ไม่ได้บอกเองน่ะนะคะ  พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้กับพระอานนท์  ว่าธรรมทั้งหลาย ไม่สามารถทำให้แจ้งไปด้วยการถามตอบ  แต่ต้องปฏิบัติให้แจ้งเข้าไปในใจแล้วจึงหายสงสัย

 

และไม่จำเป็นต้องเศร้าด้วยค่ะ  ว่าต้องอยู่ทางโลกด้วย  ผู้ที่อยู่ทางโลกด้วย  ก็สามารถอยู่ทางธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน  ไม่จำเป็นต้องแยกออกจากกันอย่างนั้น

 

คอร์ส ๗ วันที่ว่านี้ ที่ไหนก็มีน่ะนะคะ  อันนี้สำหรับคนทำงานที่ไม่มีเวลา

 

คือบังเอิญทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้  แล้วเก็บตัวอย่างมาเยอะน่ะค่ะ  เห็นมาเป็นพัน ๆ คนแล้ว  และเปรียบเทียบทั้งที่เห็นในประเทศมหายานมาก็มาก

 

วิปัสสนา ทางสายเถรวาทเรานี่แหละค่ะ  มีกระบวนการขั้นตอน ลำดับขั้นในการพัฒนาจิต ไปสู่การพ้นทุกข์ขั้นสูงสุดได้อย่างชัดเจนที่สุด  มีบททดสอบ พิสูจน์ได้เป็นขั้น ๆ 

ละเอียด มีหลักฐาน  ทั้งในแง่ลายลักษณ์อักษร  (ถ้าจะเอาน่ะนะคะ) และในแง่การสืบต่อของการสอนในแง่การปฏิบัติจริงของครูบาอาจารย์

 

ของเซน นั้น ต้องอาศัยความสามารถเฉพาะตัว และวิริยะ อุตสาหะ ของทั้งอาจารย์และลูกศิษย์ ล้วน ๆ ค่ะ  เป็นเหตุปัจจัย เป็นบุญที่ทำมาด้วยกัน  ไม่มีหลักการปฏิบัติ การเจริญสติ ที่ชี้ชัดเป็นลำดับ เป็นขั้น เป็นตอน ว่า จะนำไปสู่การพ้นทุกข์อย่างไรบ้าง 

 

โดยมาก  ต้องใช้เวลาทั้งชีวิต  กว่าจะทำกันได้

 

เมืองไทย  ที่สอนมากมาย  ครูก็มี  คอร์สที่สอนให้รู้พื้นฐานการเจริญสติก็มีอยู่

 

รู้พื้นฐานแล้ว  ก็สามารถนำไปใช้ได้ในทุก ๆ วันของชีวิตด้วย  จนกระทั่งวินาทีสุดท้าย

 

สิ่งที่คุณเบียร์ยกมาใน Blog ด้านบนนั้น  ที่บอกว่า อยากให้งานที่ติดค้างมาในสมองหลุดลอยไป  และไม่ยึดติดในตัวตน  คำตอบก็มีอยู่ง่าย ๆ นี่ล่ะค่ะว่า  ทำได้ ลงมือได้เดี๋ยวนี้เลย  โดยไม่ต้องไป"คิดเอาเอง" เฉย ๆ ว่า ต้องพยายาม "ทำใจ" อย่างไรหนอ  จึงจะสามารถ "คลายความยึดติดในตัวตนได้"

 

เห็นไหมคะ มีคำว่า "คิด" อยู่ดี

 

วิปัสสนา สอนให้ "ดู" แม้กระทั่งความคิดน่ะค่ะ

 

เพราะหัวใจของวิปัสสนา  คือ ให้เอาใจไปดูความเป็นไปของกายและใจในปัจจุบันขณะ

 

ดูยังไง  มีอะไรให้ดูบ้าง  ดูแล้วทำอย่างไร  ดูเวลามีอะไรมากระทบ  กระทบอย่างไร  เหล่านี้  ๗ วันสอนได้หมดค่ะ  มีแบบฝึกหัดให้ทำเพียบ  รับรองไม่มีเบื่อ

 

และต่อให้เบื่อ  ก็สามารถเอาความเบื่อนี้แหละ มาเป็นอารมณ์กรรมฐานให้กำหนดดูความเบื่อ เหมือนดูทีวีได้อีก

 

อย่างที่คุณ นม. บอกน่ะค่ะ  ของดีของเรามีอยู่เยอะ  แต่คนไม่ไปหัด "ทำ" ให้เป็นกับครูบาอาจารย์น่ะคะ  คนคิดเอาเองว่า "เรียน" เอาก็ได้จากการอ่าน แล้วคิด ๆ เอาเองว่าทำอย่างนี้เวลาเดินไปไหนมาไหน

 

น้อยคนมากในโลกนี้ค่ะ  ที่เกิดมาแล้วทำเป็นเองเลย  อย่างนั้นเขาเรียกว่า  พระปัจเจกพุทธเจ้า

 

การที่จะเจริญสติให้ได้ผลนั้น  มันต้องอาศัยความต่อเนื่องของกำลังสติเสียด้วย

 

ถึงว่า ๗ วันนี้ล่ะค่ะ  ต้องยอมตัดใจทิ้งไป

 

เพราะคนเรา ตายไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้

 

รวมทั้งคนที่กำลังเขียนอยู่นี้ด้วย

 

แต่อย่างน้อย คนที่เคยฝึกวิปัสสนาแล้ว พระพุทธองค์ท่านทรงรับประกันไว้อย่างหนึ่งล่ะค่ะ  ว่า อย่างน้อย หนึ่งชาติ  จะตายดี  คือ ตายอย่างมีสติ สงบ และไปดี สู่สุคติ  อย่างน้อยก็เกิดใหม่เป็นมนุษย์แน่นอน  ไม่มีทางลงอบาย

 

ดีกว่าการซื้อประกันบริษัทประกันชีวิตไหน ๆ เลยใช่ไหมคะ  ลองพระพุทธองค์ทรงรับประกัน "ข้ามชาติ" ให้แล้วอย่างนี้  ปกติไม่ทรงรับประกันอะไรให้ง่าย ๆ เสียด้วย

 

เพราะต่อให้คนทำดีตลอดชีวิต  จิตตอนที่จะไปนี่ล่ะค่ะ เป็นตัวตัดสิน

 

แว่บไปกลัว โมโห โกรธ เสียใจ ไม่อยากตาย หลง ฯลฯ อะไรเข้าล่ะก็ แย่หน่อยนะคะ

 

ไปที่ใหม่ ถ้าไม่ค่อยดีนัก  ก็เท่ากับว่า  "เสียชาติเกิด" ไปแล้วหนึ่งชาติ

 

ถ้าวันนี้ เรารู้สึกทุกข์  ก็นึกเถอะค่ะว่า การเกิดใหม่ กว่าจะโต กว่าจะอะไร มันไม่ง่ายเลย เหนื่อย และใช้เวลามาก

 

สู้เรามาเอาให้ชัวร์หน่อยดีกว่า  ว่าอย่างน้อยชาติหน้าไปดี

 

ไม่ต้องนับผลดีของวิปัสสนา ที่ให้ผลเป็นกุศลในทันที  ในขณะที่ทำเลยน่ะนะคะ 

 

ว่าแต่ว่าวันนี้ คุณมี "ประกัน" ของ "พุทธบริษัท" อยู่ในใจกันหรือยังล่ะคะ?  ไม่มีขายหรอกนะคะ  ต้องไปขวนขวายสร้างกันเอง  ขอให้ได้เจอครูบาอาจารย์ที่ดีก็แล้วกันค่ะ

 

สวัสดีค่ะ,

 

ณัชร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท