สีลัพพตปรามาส อธิบายยากนะ เป็น tacit Knowledge จริงๆ


ถือศีลข้อเดียว คือ อธิศีล ยากกว่า ศีลห้า ศีล227 อีกนะ

 ในสังโยชน์ 10 นั้น   (เชือก 10 เส้น ที่รัดเรา ไม่ให้ พ้นทุกข์แบบถาวร) มีอยู่ 3 เส้นแรกๆ  คือ  ละ "สักกายทิฐิ"    ละ"วิจิกิจฉา" และ ละ"สีลัพพตปรามาส"  ( ละ = ละทิ้ง  ตัดขาด)

  • ไม่ว่าจะเป็น  สักกายทิฐิ   วิจิกิจฉา  หรือ สีลัพพตปรามาส

อธิบายเป็น คำพูดยาก   ประมาณ  อธิบาย สีแดง ให้คนตาบอดฟัง  หรือ บอกปลาว่า  บนฟ้า  เป็นอย่างไร

  • ละ "สีลัพพตปรามาส" =  ละ  "การลูบๆ คลำๆ ศีล"

ศีล = ปกติ   ---->  ปกติที่ใจ  

  • ปกติ  คือ ใจเป็นปกติ   จิตว่างๆ   นี่แหละ 
  • อธิศีล = รักษาศีลที่ใจ ให้จิตว่างๆ ใจเป็นปกตินี่แหละ  --->  เอาสติไปทำงานแทนใจ  ใจจะได้ว่างๆไงล่ะ

อธิศีล =  เป็นศีลที่เป็น Natural    ไม่ใช่ ศีลแบบ format หรือ ศีลมีรูปแบบ

ก็เหมือนทำ KM     ส่วนใหญ่  ทำแบบ format KM    จะหาสักกี่องค์กร ที่ทำแบบ Natural   ฮ่าๆๆ 

  • ถือศีลแบบขาดสติ   ก็ถือว่า ปรามาสศีล (ลูบๆ คลำๆ)
  • ถือศีลแบบทำให้จิตไม่ปกติ  ก็ถือว่า ปรามาสศีล
  • ถือศีลแบบทำคนอื่นเดือดร้อน ทำตนเอง ทำหมู่คณะเดือดร้อน  ก็ถือว่า ปรามาสศีล
  • ถือศีลแล้วเป็นทุกข์   ก็ถือว่า ปรามาสศีล
  • ถือศีลแล้ว  หยิ่งพยอง  อวดตน ก็ถือว่า ปรามาสศีล

ที่เขียนมานี้   อยู่ในเรื่อง สังโยชน์ 10 

จริงๆแล้ว  อย่าไปสนใจ บาลี  อะไรนักเลย   เอาแค่ มีสติ ดูลมหายใจ ดูจิต  ดูกาย ให้ต่อเนื่อง  แล้วก็จะ ปิ้งแวบออกมาเองว่า  สังโยชน์สิบ คือ อย่างไร   

ศึกษาทางพุทธ  เป็น action learning ครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #สีลัพพตปรามาส
หมายเลขบันทึก: 73065เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2007 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • กลัวมิจฉาทิฐิมากกว่าครับผม
  • แวะมาทักทายครับอาจารย์
  • อ่านแล้วพอเข้าใจบ้างครับ..ปฏิบัติ..โดยเจริญสติ..แล้วใจจะมีศีลแบบ natural..
  • อ่านว่าอย่างไร "สีลัพพตปรามาส" สี-ลับ-พะ-ตะ-ปรา-มาด"
  • พระสงฆ์ที่ยังเป็นปุถุชน...หลายท่าน ยังถือ ศีล ๒๒๗ แบบ "สีลัพพตปรามาส" ครับ

สะกด = สีลัพพตปรามาส

สี ลัพ  พะ ตะ ปรา มาส

อ่านแล้วเข้าใจยิ่งขึ้นคะ
   ถือศีลแล้ว ต้องนุ่งห่มให้ต่างจากชาวบ้านมากๆ .. ถือศีลแล้วท่าเดินต้องเปลี่ยนไป  ไม่ทราบว่ามีบัญญัติไว้ที่ไหน  ยังหาไม่เจอครับ  แต่เห็นอยู่ไม่น้อยในหมู่คนใกล้วัด

ผมเคยพยายามสะกิดคนที่เข้าวัดตามคนอื่น เพราะคิดว่าโก้เก๋ แต่ไม่เคย "มองเห็นธรรม"

ยังหลงระเริง วิ่งวนอยู่กับกองทุกข์สารพัด เช่นเดิม ใช้วัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเฉยๆ

แต่ก็พบว่าไม่ได้ประโยชน์

สู้อยู่เฉยๆทำตัวเองให้ดีที่สุดก็พอ

ดีกว่ากันเยอะเลยครับ

การรักษาใจให้เป็นปกติ  ก็เป็นเรื่องยากนะคะ ต้องแยบคลาย มีกัลยาณมิตร และสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวช่วยด้วยเหมือนกันค่ะ  ใจยังไม่ตั้งมั่นพอ

 

เจริญพร คนไร้กรอบ

อันที่จริงก็เข้ามาอ่าน แต่ไม่อยากจะเข้ามาตอบ เพราะเคยอ่านข้อโต้แย้ง ระหว่งคนในวัดหรือพวกแก่วัด กับคนนอกวัดหรือพวกอ่อนวัด ...ครั้งนี้ นึกสนุกขึ้นมาเล็กน้อย

สีลัพพตปรามาส แยกออกเป็น สีล - วต - ปรามาส

สีล คือ การควบคุมกายและวาจาให้อยู่ภายในกรอบที่วางไว้ไม่ให้ออกไปจากสุจริต...ประมาณนี้

วต คือ  พฤติกรรมทั่วๆ ไป ที่เกิดจากความจงใจ (สันสกฤตใช้ พรต)

ปรามาส คือ การจับต้อง ลูบคลำ ยึดถือ 

สีลัพพตปรามาส แปลว่า การยึดถือสิ่งที่พึงประสงค์บางอย่างว่าจะได้มาด้วยอำนาจศีลและพรต

ตัวอย่างของ สีลัพพตปรามาส เช่น ไม่ตัดผมวันศุกร์ ไม่ออกจากบ้านตอนเช้าวันนี้ เกิดวันอังคารจะมีคนเกิดวันอาทิตย์เป็นศัตรูคู่เวรคู่กรรม ....

ถ้ายึดถือสิ่งเหล่านี้ โดยคิดว่า สุข ทุกข์ ต่างๆ เกิดมาจากระเบียบกฎเกณฑ์เหล่านี้ แล้วพยายามทำให้ถูกกฎเกณฑ์เหล่านี้เพื่อจะก่อให้เกิดสุข ป้องกันทุกข์ ที่จะเกิดขึ้น  ...นี้แหละ  สีลัพพตปรามาส ..

คนยังเชื่อเรื่องทำนองนี้ กันมาก แล้วก็แก้ยากส์ ด้วย... ถ้าใครก็ตามยังงมงายกับสิ่งทำนองนี้เยอะๆ แม้จะไปวัดทำบุญ บริจาคทานเป็นประจำ อาจคาดหมายได้ว่า เค้ายังห่างไกลจากการละสีลัพพตปรามาสได้...

เจริญพร

นมัสการ

ถือเป็น ศิริมงคล กับ Planet และ Web ครับ 

ได้ความรู้เพิ่มเติมครับ  ขอบคุณครับ

สาธุ  ครับ

 

ขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะเลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท