ตอบ อีเมล์ ลูก เรื่อง CSR/Youth Development


วิธีการเชื่อมโยงสิ่งดีๆ ที่มีอยู่แล้วในด้านกิจกรรมพัฒนาเยาวชน เราจะเน้นการใช้ KM เป็นเครื่องมือ จะเน้นความสำเร็จในกิจกรรมที่เยาวชนคิดเอง ทำเอง เป็นส่วนใหญ่ ผู้ใหญ่/ราชการ/NGO เป็นเพียงพี่เลี้ยง ไม่ใช้เข้าไปกำหนดโครงการ และให้ทุน

ตอบ อีเมล์ ลูก เรื่อง CSR/Youth Development

       นานๆ ลูกชายจะ อีเมล์ มาถึงสักหนหนึ่ง    วันที่ ๑๗ ม.ค. ๕๐ ได้รับ อีเมล์ ดังนี้

พ่อครับ
เป็นไงบ้างครับ หวังว่าพ่อคงสบายดีนะครับ อย่าทำงานมากนักจนไม่ได้พักผ่อนล่ะ
พี่ณัฐเขาเพิ่งเข้าไปประชุมจิตวิวัฒน์มา แล้วเขียนมาเล่าให้ฟังดังนี้ครับ
อยากจะลองคุยกับพ่อเรื่องนี้ดู

"อ.ประเวศ เล่าว่าตอนนี้คุณพ่อตั้มได้รับเชิญไปเป็นกรรมการในธ.ไทยพานิชย์ ที่อยากทำ Corporate Social Responsibility (CSR) โดยเฉพาะในด้านเยาวชน  ทางขวัญเมืองเราก็อยากพัฒนางานด้านเยาวชนให้เป็นไปในกระบวนทัศน์ใหม่ ด้วย
หากมีโอกาสตั้มลองถามคุณพ่อดูนะว่าเขามีแผนอยากทำอะไรบ้าง
หรือมีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ ในการเชื่อมโยงกัน
จริงๆแล้ว พี่ว่าอยากทำกับกลุ่มครูมากกว่า  เพราะเป็นสิ่งแวดล้อมหรือเป็นจุดคานงัดในการสร้างเด็กขึ้นมา    หากครูสามารถเข้าถึงความเป็นผู้นำที่แท้    หรือผู้หล่อเลี้ยงความตื่นรู้ให้กับตัวเอง และโรงเรียนได้
ธ.ไทยพานิชย์น่าจะยินดีนะ"

พ่อคิดอย่างไรบ้างครับ อยากให้พ่อลองอีเมล์ตอบไปคุยกับพี่ณัฐดู
เผื่อว่าจะมีไอเดียร่วมกันในการทำงานอบรมเยาวชนให้เป็นรูปธรรมต่อไป

ตั้ม

        ผมได้ตอบ อีเมล์ ไปยังคุณณัฐฬส วังวิญญู แห่งสถาบันขวัญเมือง  จ. เชียงราย  และสำเนาส่งให้ลูกชายด้วย ดังนี้

ณัฐ ครับ
การทำงานส่งเสริมเยาวชนที่ผมเกี่ยวข้อง จะมี ๒ ทาง    คือของ สคส. กับของ มูลนิธิสยามกัมมาจล (ของ ธ. ไทยพาณิชย์)    ในส่วนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ยังไม่เริ่มตันชัดเจน เพราะกำลังหาคนมาเป็นผู้อำนวยการดำเนินการอย่างมืออาชีพจริงๆ (แบบ สกว.)     โดยทั้ง ๒ ส่วนนี้ คงจะไม่ทำหน้าที่ให้ทุนทำกิจกรรมพัฒนาเยาวชนโดยตรง     แต่จะทำงานเชื่อมโยงสิ่งดีๆ ที่มีอยู่แล้วและส่งเสริมให้ขยายตัวเป็นเครือข่าย มีการดำเนินการต่อเนื่อง    และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในสังคมไทยให้เกิดคุณค่าจริงๆ    แต่การเชื่อมโยงนี้ ทั้ง สคส. และมูลนิธิฯ จะไม่ทำเอง     จะสนับสนุนให้ภาคีทำ


         วิธีการเชื่อมโยงสิ่งดีๆ ที่มีอยู่แล้วในด้านกิจกรรมพัฒนาเยาวชน  เราจะเน้นการใช้ KM เป็นเครื่องมือ     จะเน้นความสำเร็จในกิจกรรมที่เยาวชนคิดเอง ทำเอง เป็นส่วนใหญ่     ผู้ใหญ่/ราชการ/NGO เป็นเพียงพี่เลี้ยง     ไม่ใช้เข้าไปกำหนดโครงการ และให้ทุน 

   
         ณัฐ / สถาบันขวัญเมือง มีแนวความคิดอย่างไรบ้าง ในกระบวนทัศน์ใหม่   ได้ทำอะไรไปบ้างแล้ว  กรุณาแลกเปลี่ยนมาครับ    เราสนใจยุทธศาสตร์ใช้ครูเป็นจุดเริ่มต้นครับ      คุณฉันทลักษณ์ อาจหาญ (จ๋า) เป็นผู้ประสานงานเรื่องนี้ของ สคส. ครับ
หากเรามีการประชุมหารือวิธีทำงานเรื่องนี้ เราจะเชิญณัฐมาร่วมครับ
วิจารณ์

หมายเลขบันทึก: 73020เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2007 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ อ.หมอวิจารณ์

ตั้งแต่กลับมาจาก สคส.วันจันทร์ที่ 8 มค. ผมก็พยายามทบทวนทุกอย่างที่มีอยู่ ทั้งหนังสือ และซีดี ที่ได้มา และก็พยยามเขียนบันทึก และอดชื่นชมใครหลายๆคนไม่ได้ที่สามารถเขียนบล็อกได้ดีมาก ผมคงต้องพัฒนาอีกมาก

สำหรับกระบวนการพัฒนาเยาวชนโดยใช้ KM นั้นผมเอกงสนอกสนใจเป็นอย่างมากครับ ซึ่งหลังจากที่ได้รับการแนะนำจาก อ.หมอ เรื่องการปรับงาน extern ให้สอดรับกับ thesis ซึ่งผมเองก็กำลังปรับอยู่นะครับ และตั้งใจว่าจะใช้ KM แต่ทั้งนี้กำลังพูดคุยกับที่ปรึกษาอยู่ครับ

กลับมาถึง โรงเรียน ก็ได้ทราบข่าวดี ว่าโครงการ "ยุวสตรีรักษ์สุขภาพ"ที่ รร.เสนอ ของบจาก สสส.ไปได้รับการอนุมัติครับ

ขอท้าวความสักนิดนะครับ

คือเริ่มต้นจากการที่เรานั่งคุยกันว่าเราจะทำอย่างไรดีที่จะให้ เด็ก(ในโรงเรียน)เราเกิดจิตสำนึกในการรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะ ก็เคยคิดเคยลองทำโดยใช้กิจกรรมในโรงเรียนแบคิดให้ทำให้ สร้างกฎ การลงโทษ ก็ไม่ได้ผลนัก

จึงเกิดประกายจากการที่ มีผู้นำเอาแบบฟอร์มขอรับการสนับสนุนงบโครงการเปิดรับทั่วไป ของ สสส. มาให้ที่โรงเรียน พร้อมวารสาร ก็สนใจ จึงเริ่มพูดคุยกันกับเพื่อครูในวงกว้างขึ้น  เราจึงเริ่มร่างโครงการขึ้นเพื่อบูรณาการ ให้เป็นการนำเอาภูมิปัญญามาใช้ในการรักษาสุขภาพ ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกในการรักษาความสะอาด ซึ่งเราปรารถนาที่จะให้มีการเพิ่มพื้นที่การพูดคุยกันให้มากขึ้นเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ โดยเริ่มชักชวนภาคีในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยได้รับงบประมาณสนับสนุน 100 % จาก สสส. เป็น การจัดอบรมเยาวชน "ค่ายยุวสตรีอาสาสมัครเพื่อสุขภาวะชุมชน" และกิจกรรมที่จะจัดบูรณาการร่วมด้วยตลอดระยะเวลา 8 เดือน  โดยเราสร้างตัวชี้วัดไว้ และมีวัตถุประสงค์โครงการไว้  ส่วนวิธีการ รูปแบบกิจกรรม สวนหนึ่งที่เป็นเงื่อนไขของ สสส.นั้นเราก็จะทำตามไป  อีกส่วนหนึ่งเราต้องการเป็นฝ่ายยกระตุ้นให้เยาวชนได้คิด ได้ทำ ได้สร้างสรรค์ จนเป็นเหตุให้เขาได้เกิดความสำนึก หวงแหน และรักษาดูแลชุมชนของเขาเอง  โดยที่น่าจะมีภาคีเครือข่ายเข้ามาซัพพอร์ตให้เด็กๆสามารถ ดำเนินกิจกรรมได้ต่อไป

 

จึงใคร่ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมด้วยครับ ว่าโครงการลักษณะที่กล่าวมานี้ พอที่จะเป็น KM ไหมครับ และจะปรับใช้ได้อย่างไรครับ

ผมหมายถึงเข้าขข่าย เป็น CSR ด้วยหรือปล่าวครับ

 

พิมานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท