การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: KM ในชีวิตจริงๆ


ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น เราไม่อาจคาดเดาได้ล่วงหน้า ว่าเราจะเผชิญอะไรบ้าง ในเวลาใด จึงไม่อาจกำหนดได้ชัดเจนว่าเราจะทำอะไรบ้างในเวลาใด แบบที่ทำงานวิจัยในห้องทดลอง หรือเรือนทดลอง หรือแปลงทดลอง

 การวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นคำที่ติดกระแสการทำงานเมื่อไม่นานมานี้เอง หลังจากการแพร่กระจายของคำว่า วิจัยเชิงระบบ ที่พยายามทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นอยู่ของระบบทรัพยากร สังคม และสิ่งแวดล้อม

และเป็นการขยายผลการทำงานเชิงวิชาการ ที่ส่วนใหญ่จะทำเป็นแบบสายเดี่ยว และส่วนใหญ่จะไม่บังเกิดผล

 

สาเหตุที่ไม่บังเกิดผล ก็เพราะเรามีปัญหาหลายด้าน ที่จะต้องแก้ไปพร้อมๆกัน หรือไล่เลี่ยกัน เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น เราไม่อาจคาดเดาได้ล่วงหน้า ว่าเราจะเผชิญอะไรบ้าง ในเวลาใด จึงไม่อาจกำหนดได้ชัดเจนว่าเราจะทำอะไรบ้างในเวลาใด แบบที่ทำงานวิจัยในห้องทดลอง หรือเรือนทดลอง หรือแปลงทดลอง

  

เปรียบเสมือนการขับรถจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง

 

ไม่มีใครหรอกที่จะกำหนดว่า เพื่อให้ถึงที่หมายอย่างรวดเร็วและปลอดภัย เราจะต้องเน้นคันเร่งกี่ครั้ง เหยียบเบรกกี่ครั้ง บีบแตรกี่ครั้ง ตอนไหน แม้กระทั่งการหมุนพวงมาลัย ก็ไม่มีใครกำหนดล่วงหน้าได้ว่า จังหวะไหนจะหมุนไปทางซ้ายกี่องศา กลับมาทางขวากี่องศา รถจึงจะวิ่งได้ตามทางและตรงที่สุด

 

ดังนั้น การขับรถจึงเป็นการขับไปปรับไปตลอดทางจนถึงที่หมายที่กำหนดไว้

  

การทำวิจัยเชิงปฏิบัติการก็คล้ายกัน

 เป็นการทำไปปรับไป เพื่อหาคำตอบ และนำสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ที่นักวิจัยจะต้องมีความพร้อมที่จะทำงานและปรับเปลี่ยนแผนงานในรายละเอียดได้ตลอดเวลา เพื่อการสร้างความรู้ ที่จะนำไปสู่การสร้างผลงานได้ดีกว่าเดิม หรือดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

ผมจึงขอใช้คำสรุปประเด็นว่า เป็นการวิจัยเพื่อการเรียนรู้บนเส้นสายของชีวิตจริง ที่มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ด้วยกัน เช่น

 

1.     การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ที่สามารถใช้งานได้จริง

 

2.     การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และทักษะในการทำงาน ที่เป็นการฝึกอบรมในระหว่างการทำงานจริง

 

3.     การวิจัยเพื่อพัฒนาอาชีพด้านต่างๆในบริบทของชุมชน

 

4.     การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน ในด้านและสาขาต่างๆ

 

5.     การจัดการความรู้แบบธรรมชาติ หรือ KM ธรรมชาติ

 

6.     ฯลฯ

  

กระบวนการวิจัยนั้นผู้ทำวิจัยเป็นนักวิจัยเอง หรืออย่างน้อยก็เป็นผู้ร่วมวิจัย ไม่ใช่เป็นวัสดุวิจัย โดยต้องร่วมคิดหัวข้อ ร่วมวางแผน ร่วมลงทุน ร่วมทำงาน ร่วมเก็บข้อมูล ร่วมวิเคราะห์ผล ร่วมสรุปผล และเป็นผู้นำผลการทดลองไปใช้

  

เช่นการวิจัยการผลิตไข่ไก่ในชุมชน ของ ดร. วนิดา และ ดร. สวัสดิ์ จากกรมปศุสัตว์ ก็เป็นตัวอย่างและต้นแบบที่ดีมากๆ เลยครับ

มีการประชุมเตรียมการ ปรึกษาหารือ แล้วนำไก่ไปให้ชาวบ้านทดลองเลี้ยง เพื่อให้รู้ว่าจะได้ผลสักแค่ไหน

  

การทำงานดังกล่าว จึงจะทำให้การวิจัยเชิงปฏิบัติการครบขั้นตอนการทำงาน และได้ผลสมความมุ่งหมายที่ตั้งไว้

  

และการวิจัยนั้น จะต้องเน้นการนำผลวิจัยไปใช้งานจริง มากกว่าให้ได้ รู้ เฉยๆ จึงจะทำให้งานวิจัยนั้นมีพลังในการพัฒนา และขับเคลื่อนสังคมให้เป็น กลุ่มและองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ ชุมชนแห่งการปฏิบัติในที่สุด

  

ผมเห็นหน่วยราชการออกมาเต้นฟุตเวอค กันมากมายเหลือเกินกับคำว่า วิจัยเชิงปฏิบัติการ แต่ก็ไม่ค่อยเห็นมีการต่อยจริงๆมากมายนัก หรือเพียงแค่ฟุตเวอคก็ได้รับเงินเดือนพอกินแล้ว ไม่รู้จะต่อยให้เมื่อยทำไม

  

น่าสงสาร ระบบราชการ  และ ชาวบ้าน ที่กำลังเฝ้ารอ และรอ รอ รอ ความหวังอันเลื่อนลอยกับสัญญาลมๆแล้งๆ ของนักวิชาการ ที่จะทำงาน วิจัยเชิงปฏิบัติการ บนเส้นสายของชีวิตจริง และในกระบวนของการประกอบอาชีพของเขา มาแทบตลอดชีวิตเขาเลยล่ะครับ

  เมื่อไหร่ นักวิชาการ จะไปทำ วิจัยเชิงปฏิบัติการ ให้เขาได้ร่วมเรียนรู้ เพื่อจะแก้ไขปัญหาของตัวเองเสียที  

เพราะการวิจัยแบบนี้จะลงทุนน้อยที่สุด และได้ผลคุ้มค่ามากที่สุด ที่เหมาะกับภาวะยากจนของสังคมไทย

 

ไม่ต้องคิดโจทย์ยาก หาที่ยาก หาแปลงยาก หรือแรงงานยาก เพราะผู้ใช้เป็นผู้ทำ และผู้ทำเป็นผู้ใช้เอง ไม่ต้องเปลืองเวลาและงบประมาณในการถ่ายทอดความรู้ ไม่มีช่องว่างของความความเข้าใจ หรือ การสื่อสารใดๆ

  

ไม่ทำวันนี้ จะทำวันไหนครับ ชาวบ้านพร้อมแล้วครับ

  หรือว่าจะให้ร้องเพลงรอ รอไปอีกกี่ชาติดีครับ 


ความเห็น (7)

                   วิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้มา จากนั้นเอาองค์ความรู้นั้นไปเป็นเครื่องมือในการทำงาน งานใดสักงานหนึ่งให้ประสบผลสำเร็จ ที่เรียกว่าการจัดการความรู้ สองอย่างนี้มันต้องคู่กันใช่ไหมครับอาจารย์ หากจะดูที่จุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งการวิจัยมุ่งให้ได้องค์ความรู้ วิธีการอะไรเป็นหลัก งานสำเร็จหรือไม่เป็นเรื่องรอง อย่างที่ สกว.เขาให้ทุนวิจัยท้องถิ่น เขาบอกเลยว่าไม่สำเร็จก็ได้ไม่เป็นไร แต่ให้มีชุดความรู้ที่สามารถบอกได้ว่าไม่สำเร็จนั้นเป็นเพราะอะไร ส่วนการจัดการความรู้มุ่งให้งานบรรลุเป้าหมายเป็นเรื่องหลัก องค์ความรู้ วิธีการที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องรอง แต่ถ้าสองอย่างนี้เข้าคู่กันคือวิจัยและการจัดการความรู้ก็สุดยอดเลย

               แต่ที่ทั้งสองอย่างนี้มันไปไม่ถึงไหน ยักแย่ติดกึกยักลึกติดกัก ผมว่าวัฒนธรรมการไม่ยอมรับความรู้ชาวบ้านของพวกบรรดาข้าราชการนั่นแหละครับ ที่เคยผูกขาดความรู้ รู้กว่าชาวบ้านมานานแสนนานนั่นเอง จะมาวันหนึ่งมาอยู่ใมนระนาบเดียวกันกับชาวบ้าน จะให้มาเสมอกันอย่างเป็นเพื่อนเรียนรู้คงทำไม่ได้หรอก เสียหน้าเสียตา เสียฟอร์ม เดี๋ยววันหลังชาวบ้านจะไม่เรียกว่าเขาว่า ท่านข้าราชการเสีย แล้วจะให้เขาสู้หน้าชาวบ้านได้อย่างไร เพราะเคยหน้าใหญ่มานาน....แต่ในท่ามกลางคำบ่นของผม ผมก็เห็นสัญญาณที่ดีเกิดขึ้นเหมือนกันนะครับอาจารย์ มีข้าราชการพันธุ์ใหม่ เลือดใหม่บ้างเหมือนกันที่เขาพยายามจะทำอย่างที่อาจารย์ปรารถนา แม้จะฟุตเวอร์คนานหน่อย แต่ก็ยังดีว่าจะได้ออกหมัดบ้าง แม้จะจดๆจ้องๆบ้าง แต่คงจะได้มีหมัดบ้างแหละ และถ้าฟลุคไม่แน่หมัดเด็ดเชียวนะครับอาจารย์

  • ตามมาเรียนรู้ครับ 
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ไม่ต้องคิดโจทย์ยาก หาที่ยาก หาแปลงยาก หรือแรงงานยาก เพราะผู้ใช้เป็นผู้ทำ และผู้ทำเป็นผู้ใช้เอง ไม่ต้องเปลืองเวลาและงบประมาณในการถ่ายทอดความรู้ ไม่มีช่องว่างของความความเข้าใจ หรือ การสื่อสารใดๆ
  • ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันนะครับว่า ทำใมกระบวนการทำงาน-การเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติและเป็นทางหนึ่งที่จะก้าวไปสู่ความยั่งยืน(ที่เขาชอบพูดกัน) นี้กลับไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง  

อาจารย์แสวงที่เคารพ

           การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่จะทำให้เกิดผลที่ยั่งยืนต่อชุมชนนั้น จะให้ราชการดำเนินการตามระบบเดิมหรือให้ชาวบ้านทำกันเองตามมีตามเกิดคงยากที่เกิดผลใด ๆ 

          แต่ถ้าให้ทั้งสองฝ่ายทำการวิจัยอิงระบบแต่ไม่ยึดระบบ  ทั้งสองฝ่ายต่างพึ่งพาเชื่อมโยงกันตามศักยภาพที่แต่ละฝ่ายมี

          ชาวบ้านต้องไม่ดื้อตาใสพร้อมที่เป็นผู้เรียนไม่ใช่ผู้รับ

          ข้าราชการก็ต้องลดฟอร์มและลดการเสียหน้านำความรู้ที่ชาวบ้านยังไม่มีและยังไม่เคยเห็นมาถ่ายทอด ลองผิดลองถูกด้วยกันโดยใช้ KM  มาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้

          สิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับชาวบ้านและชุมชนคงไม่ไกลเกินเอื้อม

          ขอบคุณค่ะ

          ขอบคุณค่ะ

  ท่านเล่าฮู ..

จะบอกว่าวิจัยมี3สายใช่ไหมครับ

  1. สายเดี่ยว
  2. สายคู่
  3. ไม่มีสาย

แล้วสายแบบมาสาย เป็นแม่สายบัวแต่งตัวเก้อนี่สังกัดสายไหนครับ!!

ครูนง ท่านสิงห์ป่าสัก และท่านครูบาครับ

ผมก็ไม่เข้าใจครับว่าเราติดอะไรกัน

  • เป้าหมายก็ชัด
  • ปัญหาก็ชัด
  • ชุมชนก็รอ เป็นแม่สายบัว
  • แล้วเรารออะไรครับ

ที่เห็นก็มีแตต่รอให้นักการเมืองสั่งนะครับ

พอเขาไม่สั่งก็เดินไม่ถูก

พอเขาสั่งตามใจเขา (ที่ไม่รู้จริง) ก็ยิ่งเดินไม่ถูกใหญ่

เลยมีแต่สายไปสายมานั่น กระมังครับ

  เลยมีแต่สายไปสายมานั่น กระมังครับ 
   ผมขอแก้เป็น ..
 เลยมีแต่  ส่ายไป ส่ายมา ครับ
  ... ส่าย หาว่า ตำแหน่งที่ดีกว่า  ชื่อเสียง  เกียรติยศ (จอมปลอม) และผลประโยชน์ ตน  ที่มากกว่า อยู่ตรงไหน  ก็จะขอหยุดหรือร่อนลงแถวๆนั้น

     ไม่ใช่แค่ Action Research ธรรมดานะครับ  เห็นอยู่เยอะเลย  เขาทำ PAR กันครับ พาจริงๆ  พากันไปหาชาวบ้าน  แล้วบอกว่ามาร่วมกิจกรรมนี่หน่อย  จะได้ถ่ายรูปไว้ แล้วเขาก็เรียกมันว่า "การมีส่วนร่วม" สุดท้ายก็คือร่วมช่วยให้เขาทำวิจัยเสร็จเพื่อเอาไอ้เล่มหนาๆนั้นไปขึ้นหิ้งบูชากันต่อไป  ตามประเพณีอันดีงามและสุดแสนขลัง ดังที่ได้สืบทอดกันมา

อาจารย์พินิจครับ

ก็มีส่วนร่วมในการอยู่ในรูปถ่ายแล้วไงครับ จะเอาอะไรหนักหนาครับ (ฮา.....)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท