การเรียนรู้ที่ดีน่าจะเป็นการเรียนรู้เชิงรุก (active learning experience) มากกว่าแบบเชิงรับ (passive learning experience)


      จากประสบการณ์การเป็นวิทยากร และการทำงานร่วมกับชาวโรงเรียน  ทำให้ผมมีความเชื่อมากขึ้นว่า การเรียนรู้ที่ดีน่าจะเป็นการเรียนรู้เชิงรุก (active learning experience) มากกว่าแบบเชิงรับ (passive learning experience) ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญา Constructivism ที่มุ่งให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเชื่อว่าแต่ละคนมีประสบการณ์เดิมที่แตกต่างกัน การเรียนรู้จึงเป็นการเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เก่ากับข้อมูลใหม่ โดยมีการ Interactive (ปะทะสังสรรค์) ซึ่งกันและกันแล้ว Reflective (การสะท้อนประสบการณ์) ซึ่งกันและกัน จนเกิดความรู้ใหม่ขึ้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้ก็คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกระบวนการ KM นั้นเอง           
       
การจะทำให้บุคลากรในองค์กรเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเอง ไม่ใช่เกิดขึ้นง่าย ๆ  ผู้บริหารองค์กรจึงต้องจัดให้มีคนมาจัดการให้เกิดบรรยากาศเหล่านี้ ซึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้น่าจะเกิดผลดีอย่างน้อย 9 ประการ คือ 1)เกิดการเทียบเคียงความรู้ (b
enchmarking) กัน   2) เป็นการแลกเปลี่ยน best practices กัน  3) กระตุ้นให้คนในองค์กรเกิดความกระตือรือร้น  4)บุคลากรสร้างกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน   5)ส่งเสริมการมีส่วนร่วม (การร่วมคิดร่วมทำ)   6) ต่างทำตามพันธะสัญญาที่มีต่อกัน   7) สร้างความเสียสละ ดูแลซึ่งกันและกัน  8) รู้จักปรับตัวและยืดหยุ่น   9) สร้างวัฒนธรรมนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 72895เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2007 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท