แก่น “บูรณาการ”: ทำทุกอย่างให้เป็นหนึ่ง/ทำหนึ่งให้เป็นทุกอย่าง


การบูรณาการคือการพัฒนาชีวิตแบบมีชีวิตเพื่อชีวิต ก็เท่านั้นเอง

โดยหลักการของธรรมชาติ การพัฒนาการใดๆ ก็ตาม จะมีการพัฒนาแบบผสมผสาน (Co-evolution) และมีกิจกรรมร่วมกัน จนทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่เป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาในทุกเรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นระบบร่างกาย ระบบธรรมชาติ หรือระบบสังคมใดๆ จะมีการพัฒนาแบบบูรณาการอยู่ในทุกๆ ส่วน

จนอาจกล่าวได้ว่า การบูรณาการเป็นเรื่องธรรมชาติ และการไม่บูรณาการคือเรื่องผิดธรรมชาติ

  

แต่ทำไม เมื่อกล่าวถึงการบูรณาการ ทุกคนจึงเอือมระอาและไม่สนใจที่จะทำให้ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่กลับมองว่าเป็นเรื่องแปลงประหลาด ยากที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้

  

สาเหตุที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ การพัฒนาความคิดแบบแยกส่วน ทำให้มีการเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้เป็นชิ้นๆ แยกกันไปแบบตัวใครตัวมัน  แต่เมื่อจะนำความรู้เหล่านั้นเข้ามาพัฒนาในโลกแห่งความเป็นจริง ก็พบว่า ความรู้ที่พัฒนาแบบแยกส่วนนั้น มีความแตกต่างกันจนไม่สามารถจะนำมารวมกันได้โดยง่าย  หรือในหลายๆ กรณี อาจรวมกันไม่ได้เลย

  

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดมาก ๆ

  

สาเหตุที่แปลกประหลาดเพราะว่า เรื่องธรรมดาที่มีการผสมผสานอยู่ในธรรมชาติแบบบูรณาการ กลายเป็นเรื่องยาก

  

แต่เรื่องที่แยกส่วน อยู่อย่างโดดเดี่ยว และอยู่อย่างไม่เป็นธรรมชาติ นั้น กลับเป็นเรื่องง่าย

  

แต่พอจะนำสิ่งที่ง่ายนั้นไปรวมกัน กลับเป็นเรื่องยาก

แล้วจะทำไปทำไม เมื่อรู้ว่ามันยากก็หยุดซะ ทุกอย่างที่แก้ที่ต้นเหตุ นั้น แก้ได้ทุกอย่าง ตามหลัก อริยสัจสี่ ครับ

 

ง่ายหรือยาก อยู่ที่ไหน?  อะไรเป็นตัวตัดสิน

  

แท้ที่จริงแล้ว ทุกอย่างเป็นเรื่องง่ายทั้งหมด เพราะเป็นระบบธรรมชาติ

ที่ว่ายาก เพราะว่าทำอย่างไม่เป็นธรรมชาตินั่นเอง

  

แล้วทำไม! เราไม่ทำให้เป็นธรรมชาติซะล่ะ ตัวเรา ระบบสังคม ระบบทรัพยากร ก็เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว เราก็ทำตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติซะ ทุกอย่างก็จะลงตัวไปเอง เช่น การจัดการความรู้แบบธรรมชาติ ซึ่งยืนอยู่บนฐานการจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์จริงๆ ความรู้ที่เกิดขึ้นก็สามารถนำไปผสมผสานกับความรู้แบบต่างๆ ได้ทันที

  

แต่ถ้าจัดการความรู้แบบไม่เป็นธรรมชาติ แบบแยกส่วน ยิ่งทำก็ยิ่งยาก เพราะมีความแตกต่างและแปลกแยกจนหาจุดร่วมไม่ได้อีกต่อไป

  

เมื่อไม่มีจุดร่วม ก็ทำให้ไม่มีจุดรวม จึงนำไปสู่ระบบที่ต่างคนต่างอยู่ และไม่เกิดผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใด

  

ดังนั้น หลักการบูรณาการที่สำคัญ คือ 

ทำทุกอย่างให้เป็นหนึ่ง หมายความว่า ทุกอย่างที่มีอยู่ในระบบทั้งหมด ต้องนำมารวมกัน ให้เป็นระบบเดียวกันให้ได้ เช่นเดียวกับร่างกายของเรา ที่มีอวัยวะแตกต่างกันมากมาย แต่ก็อยู่แบบ เป็นหนึ่ง  และถ้ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะแยกออกไป ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่โตเลยล่ะครับ

  และในทางกลับกัน บูรณาการ ก็คือ หนึ่งเดียวที่มีอยู่นั้น สามารถทำหน้าที่ได้ทุกอย่าง จึงจะเรียกว่า เป็นการบูรณาการอย่างแท้จริง  

ลองทบทวนดูนะครับ ว่า เราจะนำหลักการบูรณาการนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร

  

เท่าที่ผมดูนะครับ ถ้าเราทำแบบค่อยเป็นค่อยไป จากเล็กไปใหญ่ การบูรณาการเกิดขึ้นได้ง่ายมาก

เหมือนกับการเจริญเติบโตเหมือนสิ่งมีชีวิต แต่ถ้าทำใหญ่เลยทีเดียว จะผสมผสานกันยากมาก เช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของสิ่งที่ไม่มีชีวิต

  โดยสรุปแล้ว การบูรณาการคือการพัฒนาชีวิตแบบมีชีวิตเพื่อชีวิต ก็เท่านั้นเอง ท่านเห็นด้วยไหมครับ 
หมายเลขบันทึก: 72841เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2007 02:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

บอกตามตรงนะครับอาจารย์ ที่อาจารย์บันทึกมามันเป็นหลักคิดในขั้นชั้นยอดอยู่แล้ว และควรจะเดินตามเส้นทางนี้ด้วย แล้วทำไมการบูรณาการถึงไม่สามารถเคลื่อนไปตามธรรมชาติได้? มันติดขัดที่ตรงไหน? ที่คน หรือ ระบบ   ผมว่ามันก็ทั้งสองส่วน เพราะมันสัมพันธ์กันคงตอบได้ยากว่าส่วนไหนควรได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นก่อน  ก็คงไปพร้อมๆกันอีกแหล่ะ  เป็นกลไกที่มีชีวิตอย่างที่อาจารย์บอก อีกทั้งสภาพสังคมปัจจุบันยังมีความซับซ้อนมาก มากจนเกินจะนับเป็นตัวเลขกลมๆได้  การแก้ไขปัญญาใดใดจึงทำแบบแยกส่วน แก้ทีละจุด ทีละอย่าง  หลายๆหน่วยงานต่างก็พูดถึงบูรณาการกันทั้งนั้น มันเป็นวาทกรรมที่สวยหรูเพื่อปลอบประโลม(ลูกพี่) เฉยๆหรือเปล่า? ทุกคนก็ล้วนปรารถนาดี แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก ติดไปหมด!!!! ทำอะไรก็ยาก ทำเรื่องยากให้ยากยิ่งกว่าเดิม แทนที่จะทำให้ง่ายต่อการปฏิบัติ ทั้งที่สิ่งที่คิดจะทำก็คือคนที่คิดนั่นแหล่ะ ....งานของหลายหน่วยงานที่ทำงานไม่คืบหน้าในการบูรณาการเพราะ  มีคนคิดดีอยู่มาก แต่มีคนดีปฏิบัติน้อย....?????

อ่านแล้วทำให้คิดว่าจะบรูณาการตัวเองยังไงดีค่ะ
พอได้อ่านแรกๆก้องงๆนะคะแต่พอจับใจความขอคำว่าบูรณาการได้ว่า ~การบูรณาการก้อคล้ายกับระบบภายในร่างกายเราทุกส่วนมีความสำคัญไม่มีส่วนใดสำสัญกว่ากันเพราะว่าถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดขาดหายไประบบการทำทำงานของร่างกายก็จะทำงานได้อย่างไม่สมบูรณ์เกิดการผิดปกติ ดังนั้นการใช้ชีวิตต้องเป็นไปอย่างบูรณาการ~ ~กรุณาชี้แจงด้วยนะคะว่าคิดถูกหรือป่าว~ ^___^

ไม่รู้ว่าจะมีสักกี่คนที่จะทุกสิ่งแบบบูรณาการ

หรือมีเพียงแต่คนที่อ้างว่าตัวเองกระทำสิ่งนั้นแบบบูรณาการ

ท่านผู้อ่านจงคิดเอานะคะ

คนเราในขณะที่มีชีวิตอยู่ก็ควรรีบบูรณาการตัวเองค่ะเพื่อการพัฒนาชิวิต

ขอบคุณครับคุณพรหมลิขิต

ในธรรมชาตินั้นมีการบูรณาการอยู่แล้ว การแยกเพื่อให้ง่ายในการทำงาน ไม่ใช่ทำให้ยากครับ

ถ้าทำให้ยากก็ไม่ควรทำเท่านั้นเองครับ

  • ผมก็เคยได้สรุปว่า "ทำทุกเรื่องให้เป็นเรื่องเดียวกัน"
  • อาจารย์บันทึกสรุปว่า "ทำทุกอย่างให้เป็นหนึ่ง/ทำหนึ่งให้เป็นทุกอย่าง"
  • น่าจะสรุปคล้ายๆ กันนะครับ แต่ส่วนหลังของอาจารย์น่าจะทำให้ "บูรณาการ" สมบูรณ์ว่าที่ผมสรุปนะครับครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

การสิ้นสุดของการบูรณาการหรือการถดถอยของการบูรณาการในระบบราชการอยู่ที่ผลประโยชน์ครับ

 

หลายโครงการ หลายเรื่องไม่ได้อยู่ที่เป้าหมายว่าจะพยายามกันอย่างไรให้ได้ไปถึงตรงนั้น

 

ผมเป็นนักข่าวมาตั้งแต่ปี 2533 จนปัจจุบัน ก็ยังพบเห็นการตีบตันของการบูรณาการอยู่เสมอ สืบเสาะไปมักพบว่า เกิดจากปัญหาระดับบุคคล จนกระทั่งปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน และการแย่งผลประโยชน์

คือมีผลประโยชน์ มีเปอร์เซ็นต์ มีตำแหน่ง มีอะไรต่อมิอะไรมาเกี่ยวข้องที่ไม่ได้เป็นเรื่องราวของการเพิ่มพูนความรู้หรือการบูรณาการอะไรเลย (เข้าไปสัมผัสแล้วหดหู่ทุกครั้งเลยครับ)

 

แม้แต่นักวิชาการเอง หลายมหาวิทยาลัยก็มีเรื่องนี้มาก (ไม่เชื่อลองนำอาจารย์ทั้งมหาวิทยาลัยมาทำ KM รวมกันดูซิ  ย๊าก.ก.ก.ก.)

 

ที่จริง KM นี้ ช่วยเรื่องการบูรณาการได้มาก แต่แวดวงการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่เอาด้วย พูดแต่ปาก ฉะนั้น หากจะให้การบูรณาการไปได้โรจน์รุ่งเรือง ต้องแก้ที่สามัญสำนึกเพื่อไปสู่เป้าหมาย

 ถ้าจะให้ดี

ต้องนำผลงานของการบูรณาการแต่ละแห่งที่เล็ก ๆ มารวมตัวกัน มาวางกองที่เดี่ยวกัน (โชว์ให้เห็น) เพื่อให้ได้เป็นเรื่องเป็นราว เป็น BIG บูรณาการ เหมือนเอาผลงาน OTOP มารวมกันที่เมืองทองธานี พอเห็นแล้วมันก็ดูยิ่งใหญ่

 อ้อ...บทความของอาจารย์เขียนดีจริง ๆ ครับ มีโอกาสผมจะโทรศัพท์ไปคุยด้วย และถ้ามีโอกาสอีก ก็จะตามไปสัมภาษณ์ท่านอาจารย์มาลงวารสารครับ "ผมชอบจังคำว่า นักวิชาการเดินดิน" ฟังแล้วเห็นภาพเลย ได้กลิ่นดิน กลิ่นหญ้า กลิ่นความจริงใจ

อ่านแล้ว รู้สึว่างงในตอนแรกคะ แต่ก็จะพยายามเอาเรื่องบูรณาการมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  ทุกอย่างในชีวิตจะไสอดคล้องกับธรรมชาติที่มันเป็นอยู่

เห็นด้วยกับคุณพรหมลิขิต..คุณกล่าวแทนความคิดผมจริงๆ..สังคมนี้ซับซ้อนจนการนำคำว่าบูรณาการมาปฏิบัติจริงๆนั้น..ฝันดูไม่ไกล แต่ไปอย่างไรก็ไม่ถึง.. ผมพยายามเสนอความคิดในทางปฏิบัติในหมู่บ้าน และลงมือทำเองในชุมชน  ไปได้ไม่กี่น้ำครับ..ถอยทับกลับเข้าที่ตั้ง..  แต่คำนี้ก็ยังเป็นยาวิเศษที่ต้องใช้กันต่อไป อีกนาน  เพราะถ้าคุณไม่ใช้ เจ้านายไม่ให้ผ่าน ถ้าคุณไม่เขียนลงในเอกสาร คุณก็ขาดประโยคเด็ดไป หากคุณไม่พูด คุณก็ไม่ร่วมสมัย...แต่อย่าท้อครับ..ลงมือทำเถอะ เริ่มเดินก้าวแรกดีกว่ายังได้ระยะทางนะครับ..

ผมงงครับอาจารย์แล้วผมจะอ่านบ่อยๆให้เข้าใจลึกซึ้ง
หากไม่เร่งรัด ให้เวลา ทำความเข้าใจ ทำจากเล็กไปใหญ่ คงไปถึง .....สักวัน ขอบคุณครับ
แปลงประหลาด ... 
  เจอพิมพ์ผิด 1 คำครับ  รีบๆผมเองก็ผิดบ่อยครับ 
  ในโลกนี้ น้อยนัก หรือ ไม่มีเลย ที่เราจะเห็นสิ่งใดตั้งอยู่ เป็นอยู่ได้ อย่างโดดเดี่ยว ไม่อิงอาศัยสิ่งอื่น นั่นคือคำตอบว่าใคร คิด ทำ อะไรอย่างไม่บูรณาการ ก็คือ การวิ่งหนีความจริง  แล้วยังจะทำอย่างนั้นกันอยู่ทำไมครับ
   

อาจารย์พินิจคงเคยได้ยินคำว่า "ฝันให้ไกล ไปให้ถึง" นะครับ

แสดงว่าเรากำลังวิ่งตามความฝัน แล้วหนีความจริงหรือเปล่าครับอาจารย์ (ฮา.......)

อ่านแล้วครับจะนำไปพัฒนาตัวเอง
อ่านแล้ว รู้สึกเข้าใจ หลักของการบูรณาการมากขึ้นครับ
อ่านแล้วนะคับจารย์ เดี่ยวผมจะสรุปงานไปส่งล่ะคับ ยุ่งไปหน่อย แต่ไม่ต้องห่วงเพราะ ผมมีบูรณาการ เรียนไปด้วยทำงานไปด้วยในเวลาเดียวกันคับ จารย์ บายๆๆๆๆ สวัสดีคับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท