กรณีเด็กหญิงกันธิมา เหล่าพงศ์ไพศาลตามคำพิพากษาฎีกาที่ 6434/2534 : คนเชื้อชาติเวียดนามที่ประสบปัญหาในการมีสัญชาติไทยโดยหลักดินแดน เมื่อมีการประกาศใช้ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337


ศาลไทยได้วินิจฉัยตัดสินคดีโดยยืนอยู่บนความถูกต้อง และเป็นธรรมมิได้นำเอาความเป็นบุคคลที่มีเชื้อชาติต่างประเทศของคู่ความมาจำกัดในการให้ความยุติธรรมแต่อย่างใด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าศาลไทยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนอันเป็นสิทธิของมนุษย์ที่ไม่ควรถูกละเมิด

                เด็กหญิงกันธิมา เหล่าพงศ์ไพศาล  เกิดในราชอาณาจักรไทย  เป็นบุตรของนายหมง เหล่าพงศ์ไพศาล บุคคลสัญชาติไทยและนางสำรวย  แซ่เล้าหรือเลหรือเลถิหรือแซ่เหวียน เป็นบุคคลต่างด้าวเนื่องจากถูกถอนสัญชาติไทย

 

                เมื่อวันที่  28  กันยายน พ.ศ.2518          มารดาของเด็กหญิงกันธิมาได้ไปแจ้งการเกิดของเด็กหญิงกันธิมาต่อนายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองอุบลราชธานี  เพื่อให้เพิ่มชื่อเด็กหญิงกันธิมาลงในทะเบียนบ้านเลขที่ 632 ถนนพรหมราช ตำบลในเมือง         อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี และให้ออกสูติบัตรแก่เด็กหญิงกันธิมา             แต่นายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองอุบลราชธานีไม่ยอมรับแจ้งอ้างว่าเด็กหญิงกันธิมาเป็นคนต่างด้าวประเภทคนญวนอพยพ

 

                ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2527 บิดาของเด็กหญิงกันธิมา ได้ไปแจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองอุบลราชธานี  เพื่อให้เพิ่มชื่อเด็กหญิงกันธิมาลงในทะเบียนบ้านเลขที่ 623/1-2 ถนนพรหมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี   และเพื่อให้ออกสูติบัตรแก่เด็กหญิงกันธิมาอีก แต่ถูกปฏิเสธเช่นเดิม

 

                บิดาของเด็กหญิงกันธิมาในฐานะผุ้แทนโดยชอบธรรม  จึงได้นำคดีมาฟ้องศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าเด็กหญิงกันธิมาเป็นคนสัญชาติไทย             และให้นายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองอุบลราชธานีรับแจ้งการเกิดของเด็กหญิงกันธิมาออกสูติบัตรให้   และให้เพิ่มชื่อเด็กหญิงกันธิมาลงในทะเบียนบ้านเลขที่ 623/1-2  ถนนพรหมราช  ตำบลในเมือง     อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

 

                คดีทำในสามศาล โดยศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาว่าโจทก์เป็นคนสัญชาติไทย ให้จำเลยรับแจ้งการเกิดของโจทก์ออกสูติบัตรให้แก่โจทก์ และเพิ่มชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านเลขที่ 623/1-2 ถนนพรหมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี   หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา         ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 800 บาท

 

                ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์

 

                ศาลฎีกาพิพากษาว่า   มารดาโจทก์เกิดโดยบิดามารดาเป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเป็นคนต่างด้าวมารดาโจทก์          จึงถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515  ข้อ 1 โจทก์เป็นบุคคลที่เกิดโดยมารดาที่ถูกถอนสัญชาติไทยถือว่าเป็นคนต่างด้าว โจทก์เกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติใช้บังคับแม้จะเกิดในราชอาณาจักร  โจทก์ก็ไม่ได้สัญชาติไทย       เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะสั่งเป็นอย่างอื่นเป็นการเฉพาะรายไปตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ 1 และ 2               ของประกาศดังกล่าว สำหรับกรณีของโจทก์ไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งเป็นอย่างอื่นเป็นการเฉพาะรายแต่อย่างใด   ขณะที่โจทก์เกิดเมื่อปี พ.ศ.2518 บิดามารดาโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน การที่บิดามารดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังก็มีผลเพียงให้โจทก์กลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547      ไม่ทำให้โจทก์ได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337      ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515 ดังกล่าว มีผลบังคับเป็นพิเศษยิ่งกว่าพระราชบัญญัติ พ.ศ.2508  ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติทั่วๆ ไป ทั้งนี้ ก็เพราะการได้สัญชาติก่อให้เกิดสิทธิบางประการแก่ผู้ได้รับสัญชาติแต่ขณะเดียวกันก็   ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐต่อผู้ได้รับสัญชาติด้วย จึงเป็นอำนาจของรัฐที่จะให้สัญชาติแก่ผู้ใด         ตามเงื่อนไขที่รัฐเห็นว่าเหมาะสมซึ่งก็อยู่กับนโยบาย เหตุการณ์บ้านเมือง       และความจำเป็นของประเทศและการที่นายทะเบียนไม่ได้ออกบัตรประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่มารดาโจทก์    ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พุทธศักราช 2493 มาตรา 5 และ8     นั้นก็ไม่ทำให้มารดาโจทก์กลายเป็นคนมีสัญชาติไทยแต่อย่างใด

 

                ในการพิจารณาตัดสินคดีของเด็กหญิงกันธิมา        เหล่าพงศ์ไพศาล จะเห็นว่าศาลไทยได้วินิจฉัยตัดสินคดีโดยยืนอยู่บนความถูกต้อง          และเป็นธรรมมิได้นำเอาความเป็นบุคคลที่มีเชื้อชาติต่างประเทศของคู่ความมาจำกัดในการให้ความยุติธรรมแต่อย่างใด         ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าศาลไทยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนอันเป็นสิทธิของมนุษย์ที่ไม่ควรถูกละเมิด

 

                จากคดีของเด็กหญิงกันธิมา    เหล่าพงศ์ไพศาล       ได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาของบุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนซึ่งต่อมาได้ถูกถอนสัญชาติไทยอีกปัญหาหนึ่ง  ซึ่งแม้บุคคลดังกล่าวจะมีองค์ประกอบครบตามข้อ 1 แห่งประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ซึ่งจะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามกฎหมายแต่เนื่องจากการที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังขาดความชัดเจนทำให้   การใช้กฎหมายไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายประกอบกับการที่คนเชื้อชาติเวียดนาม        ขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้จึงเป็นเหตุให้เกิดข้อโต้แย้งในกรณีการถูกถอนสัญชาติไทย   แต่อย่างไรก็ตามเมื่อศาลไทยได้ให้ความยุติธรรมจึงทำให้ปัญหาดังกล่าวยุติลงไปได้

                 ปัจจุบันเด็กหญิงกันธิมา  เหล่าพงศ์ไพศาล           มีสถานะเป็นคนไทยโดยได้สัญชาติไทย       กลับคืนมาอีกครั้ง      โดยผลของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2547   เรื่องการสั่งให้บุคคลซึ่งถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 และบุตรหลานได้สัญชาติไทย 
หมายเลขบันทึก: 72831เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2007 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท