Peer Assist ระหว่าง รพ.พุทธชินราช กับ รพ.สมเด็จพระยุพราชนครไทย


การถามกันเองนี่แหละคือการรับรู้ที่ฝังลึกและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ๆ

บันทึกขุมความกิจกรรม และองค์ความรู้ ที่ได้จากเพื่อนช่วยเพื่อนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

            ต้นเดือนธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา นพ.นิพัธ  กิตติมานนท์ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว ได้บอกกับทีมงานว่า มีทีมเบาหวานจากรพ.สมเด็จพระยุพราชนครไทย จะขอมาศึกษาดูงานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการของเรา เพราะนพ.อรรนพ  นาคะปัท หัวหน้าทีมเล่าให้เราฟังว่าผอก. รพ.ยุพราชฯ ไปชมให้ฟังว่าดีมากจึงอยากมาดู และประกอบกับนพ.นิพัธ ก็เห็นว่าเป็นโอกาสดีที่พวกเราควรได้ฝึกทำ Peer Assist ซึ่งพวกเราแต่ละคนค่อนข้างกังวลเล็ก ๆ ว่าเราจะให้ในสิ่งดี ๆ ที่เรามีได้อย่างไร และในครั้งนี้ คุณลัดดาวัลย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นคุณอำนวยเป็นครั้งแรก

            26 ธค. 49 เวลา 9.00 น. เราก็ได้มีโอกาสได้ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก รพ.นครไทย ซึ่งมีทีมงาน  8 คน ดังนี้คือ

1.  นพ.อรรนพ  นาคะปัท             นายแพทย์

2.  คุณศิริรัตน์  ลิ้มบรรเจิด           หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล

3.  คุณสมทรง  หนันตา              พยาบาลประจำคลินิก

4.  คุณสุทธาสิณี  มงคลวัจน์       พยาบาลตึกผู้ป่วยใน

5.  คุณแววตา  ทีแจ่ม                 พยาบาลตึกผู้ป่วยใน

6.  คุณภัคณา  ศรีสำราญ            นักโภชนากร

7.  คุณบุศราวดี  อ้นอำไพ           เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน

8.  คุณอำภาศรี  ศรียศ                หัวหน้างานผู้ป่วยนอก

ทีมผู้แบ่งปัน รพ.พุทธ

1.  นพ.นิพัธ  กิตติมานนท์         ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ

2.  นพ.วิรัช  ศิริกุลเสถียร             แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเบาหวาน

3.  คุณลัดดาวัลย์  วิภูษณพันธุ์     หัวหน้างานการพยาบาลปฐมภูมิ

4.  คุณรัชดา  พิพัฒน์ศาสตร์        พยาบาลประจำคลินิก

5.  คุณสุนันทา  ภักดีอำนาจ         พยาบาลประจำคลินิก

6. คุณเปรมสุรีณ์  แสนสม          พยาบาลประจำคลินิกสุขภาพเท้า

7.  คุณทับทิม  มาฉาย               พยาบาลประจำคลินิกสุขภาพเท้า

8.  คุณมณีวรรณ  ไวกสิกรณ์        นักสุขศึกษา

9.  คุณวาสนา  เกตุมะ          พยาบาลประจำศูนย์สุขภาพชุมชน

10.คุณสุขสม  เอื้ออริยะกุล     หัวหน้าหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1

11.คุณอุทุมพร  มาลัยทอง      หัวหน้าหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1

            นพ.นิพัธ  กล่าวต้อนรับอย่างอบอุ่น เป็นกันเอง เหมือนพี่ใหญ่ผู้พร้อมจะให้ และแลกเปลี่ยนสิ่งดี ๆ ต่อกัน และมอบหน้าที่ให้คุณลัดดาวัลย์ดำเนินการต่อ โดยช่วงแรกจะเป็นการให้ทีมผู้ใฝ่รู้จาก รพ.นครไทย แนะนำตนเอง และเล่าถึงความคาดหวังที่มาในครั้งนี้

            คุณรัชดา ความเป็นมาของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการ ซึ่งกลุ่มงานเวชศาสตร์ ได้เริ่มทำจริง ๆ จัง ๆ มาประมาณ 3 ปี มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ความเหมาะสมตลอดเวลา แต่ความเข้มแข็งของทีมทำให้งานเป็นไปด้วยดีจนถึงปัจจุบัน

            คุณทับทิมClinic DM foot :  เริ่มจากไปรับการฝึกดูแลเท้าที่ รพ.เทพธารินทร์ กลับมาตั้งคลินิกดูแลสุขภาพเท้า, ตั้ง PCT ซึ่งประกอบด้วย ศัลยกรรม, อายุรกรรม, กายภาพบำบัด และขยายเครือข่ายไปสู่ PCU สร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยในการดูแลเท้า สร้างกำลังใจให้ผู้ป่วย ชี้ให้เห็นปัญหา ตระหนักในปัญหา และผู้ป่วยสามารถดูแลเท้าตนเองได้ และพบว่าผู้ป่วยมาตรวจเท้าแล้วพึงพอใจ

            คุณเปรมสุรีณ์ Clinic DM foot : ขูดตาปลาทำเท้าทำเล็บให้ผู้ป่วย เคยมีผู้ป่วยชวนไปเปิดร้านด้วย มีการไปให้ความรู้ ในที่ต่าง ๆ เช่น สุโขทัย, นครสวรรค์, ม.นเรศวร ผู้ป่วยทหารถูกตัดเท้า นัดมาทำตอนแรกไม่มาแต่เราก็ให้โอกาสตัดสินใจและขอให้มาลองทำดูสักครั้งก่อน เมื่อมาลองทำและเห็นว่าแผลดีขึ้น ตอนนี้มาตามนัดทุกสัปดาห์

            คุณมณีวรรณ สุขศึกษา  :  เน้น ใจ สังคม จิตวิญญาณ โดยเฉพาะในรายใหม่ทุกคนเราจะมีการทำกลุ่ม เพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับว่าตนเองป่วยเป็นเบาหวาน และก็ได้รู้จากผู้ป่วยนี้เองว่ามีเบาหวานตัวผู้และเบาหวานตัวเมีย โดยเบาหวานตัวเมียจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตาและไต เบาหวานตัวเมียเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้า การทำกลุ่มเริ่มจากการถาม เช่นคิดอย่างไรเบาหวานจึงสูง คิดอย่างไรจึงคุมไม่ได้ ผู้ป่วยต้องตระหนักก่อนว่าเป็นปัญหา และผู้ป่วยต้องเลือกเอาว่าต้องการ FBS เท่าไร และให้ปรับ life style เอง เช่น ปรับข้าวมันไก่เป็นข้าวมันธรรมดา เราจะไม่บังคับ แต่ให้ผู้ป่วยนำไปปรับใช้เอง

ความภูมิใจ  ตุลาคม 49 ที่ผ่านมาได้จัดค่ายฯเบาหวาน  ในแกนนำหลักของชุมชน 45 คน สนุกมากโดยให้ผ่านกระบวนการเรียนรู้เหมือนกัน และฝึกเจาะน้ำตาลเองทุกวัน วันละ 4 ครั้ง หลักสำคัญที่เน้นมากที่สุดคือ "คนให้และคนรับมีความสุข" แต่มีข้อจำกัดคือใช้งบประมาณมากและใช้ได้กับคนจำนวนน้อย

            คุณสุขสม หน.หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1  :  ผู้ป่วยเขตอำเภอเมืองซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลพุทธฯ มีการวางแผนการดูแลต่อเนื่องโดยใช้ บส.1 และการส่งต่อทาง Internet แต่นอกเขตทำได้เพียงบางส่วน การดูแลในหอผู้ป่วยจะทำตาม Guild line และมีการรักษาโรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อน และส่ง consult ตามความจำเป็น ให้การดูแลคนไข้เฉพาะราย ซึ่งมีการแก้ปัญหาแตกต่างกัน และจะปรับใช้ Guild line ตามความเหมาะสม ,การนัด F/U จะมีใบติดตามให้แพทย์สามารถทราบประวัติของผู้ป่วยได้ การแนะนำฉีดยาเบาหวานของแพทย์จะแนะนำฉีดยาที่หน้าท้องอย่างเดียว เพราะที่แขนมีการเคลื่อนไหวบ่อยยาจะลดเร็วเกินไปทำให้เกิดภาวะ Hypoglycemia ได้  และเป้าหมายการดูแล คือ ลดการ Re – Admit เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน 10 ปี Re – Admit ตลอด จะแนะนำและให้ความรู้ แก่ญาติทุกคนในการดูแลผู้ป่วย ถ้าหินมาก ๆ ก็จะโทรประสานงานสุขศึกษามาช่วยดูแล

            อุทุมพร หน.หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1  :  เริ่มจากผู้ป่วยตัดขาและส่วนใหญ่ที่ตัดขาเกิดจาก DM foot และต่อมาจึงเกิดแนวคิดในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันมารวมกันเป็น PCT โดยมีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้

 "Admit " ประสาน PCT Clinic DM เท้า " ประเมินเท้าทุกราย " เก็บข้อมูลเฉพาะ อ.เมือง

" เวชกรรมฟื้นฟู " รองเท้า Modified shoes

" เตรียมผู้ป่วย D/C " กลับบ้านร่วมกับ PCU, PCT

" การทำแผลแบบ Vacuum Dressing ซึ่งเคยไปศึกษาดูงานที่รพ.เทพธารินทร์ ต้องทำในรายที่แผลไม่ ติดเชื้อแต่ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจาก Infect + หลอดเลือด จึงไม่ค่อยได้ทำ

            วาสนา PCUสมอแขการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการ เจ้าหน้าที่ควรมีความรู้ในเรื่องเบาหวาน เพื่อสามารถไปดูแลผู้ป่วยได้ ควรมีการอบรมบ่อย ๆ เพราะเจ้าหน้าที่ PCU ต้องทำงานเป็นทุกอย่าง ทั้งเป็นผู้รักษา ผู้ให้การพยาบาลและผู้ให้คำปรึกษา และมีระบบส่งต่อผู้ป่วย เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาล  การคัดกรองผู้ป่วยในชุมชน ใช้วิธีอบรม อสม.ให้มีทักษะในการเจาะ DTX และให้รับผิดชอบไปคัดกรองกลุ่มเป้าหมายของตนเอง โดยใช้เกณฑ์ ดังนี้ คือ เกณฑ์ปกติ หลังอาหารทันที ไม่เกิน 200, ภายใน 1 hr. ไม่เกิน 140 mg% และ 6 hr. ไม่เกิน 126 mg% ถ้าพบผู้ป่วยจะส่งมาคลินิกเบาหวานเพื่อพบแพทย์และให้การักษา  ถ้าสามารถ control ได้ดีจะนัดผู้ป่วย 6 เดือนและส่งกลับรับยาต่อที่ PCU สำหรับการเยี่ยมบ้าน ส่วนใหญ่จะเลือกเยี่ยมในรายที่มีปัญหาก่อน เช่น กรณี คุมระดับน้ำตาลไม่ได้ จะไปดูว่าใครเป็นคนทำอาหาร เพื่อให้ความรู้กับคนที่ทำอาหารโดยตรง เพราะหลายครั้งที่พบว่าผู้ป่วยมีความรู้เรื่องอาหารแต่เกรงใจลูก ลูกหาอะไรมาให้กินก็กินทุกอย่าง ซึ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ เป็นต้น

            และภายหลังจากรับประทานอาหารกลางวัน ได้พาทีมนครไทยไปศึกษาดูงานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิก โดยมีเจ้าหน้าที่อธิบายหลักและขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานทุกจุดบริการ เริ่มจากประชาสัมพันธ์ : คุณอภิชญา, การส่งต่อข้อมูลเยี่ยมบ้านทาง Internet :คุณยุคลธร, ซักประวัติ : คุณรัชดา, คลินิกเท้า : คุณเปรมสุรีย์, ห้องตรวจ : พญ.สาวิตรี, จุด Exit : คุณสุนันทา จากนั้นได้เปิดโอกาสให้พูดคุยซักถามกันเอง ซึ่งการถามกันเองนี่แหละคือการรับรู้ที่ฝังลึกและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ๆ

sunantapa/note

คำสำคัญ (Tags): #peer#assist
หมายเลขบันทึก: 72707เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2007 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ อจ.นิพัธ เป็นอย่างสูงที่ให้แนวคิดว่าการดูงานที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือทั้งทีมผู้ให้และทีมผู้ขอมาศึกษาดูงานน่าจะใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน (peer assist)เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสกัดเอาขุมความรู้ที่ซ่อนอยู่ในแต่ละคนออกมา และเราก็สามารถทำได้ประสบความสำเร็จถึงแม้จะเป็นครั้งแรก ทั้งหมดนี้ก็ขอยกความดีให้กับทีมผู้แบ่งปันตั้งแต่ คุณกิจ คุณลิขิต จนถึงคุณอำนวย ที่มีความตั้งใจทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนบรรลุวัตถุประสงค์ค่ะ
     อ้อยจะมีตอนต่อไปรึเปล่า มีบันทึกของทีมนครไทยที่เล่าเรื่องหรือซักถามมั่งมั้ยล่ะหือ ลองเอามาลงไว้ในบล็อกก็คงจะดีเนอะ
  • คุณอ้อย  คุณลิขิตของเราบันทึกได้อย่างละเอียดมากเลยขอบอก...พี่โต้ง เลือกคนไม่ผิดเลย...คราวต่อไปคงเป็นอ้อย และอ้อย...
  • จะรอ อ่าน Peer Assist  กับโรงพยาบาลธาตุพนมนะจ๊ะ
  • เป็นกำลังใจให้ลงบันทึกให้เสร็จเร็วๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท