สศค. ตีกลับแผนงบประมาณสมดุลปี"51


        นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า วันที่ 23 ม.ค.นี้ จะมีการประชุมหน่วยงานจัดเก็บของกระทรวงการคลัง เพื่อหารือถึงการจัดทำประมาณการรายได้ในปี"51 โดยจะเชิญตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เข้าร่วมรับฟัง ซึ่งจากการประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจปีหน้าคาดว่า    จะขยายตัวดีกว่าปี"50 เนื่องจากจะมีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่เกิดขึ้น เอกชนมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ต่อเนื่องไปจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่จะเริ่มต้นประมูลได้ในปีนี้ในหลายเส้นทาง ดังนั้น การจัดทำงบประมาณในปี"51 จึงคาดจะเป็นงบประมาณสมดุล เพราะทิศทางการลงทุนจะไปอยู่ในมือเอกชนแทนการใช้จ่ายภาครัฐ

            แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการเสนอการจัดทำงบประมาณสมดุลในปี"51 ต่อ       นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการ สศค. นั้น ได้มีการส่งกลับให้เจ้าหน้าที่ไปพิจารณาเพิ่มเติม เนื่องจาก         นางพรรณีเห็นว่าเศรษฐกิจในปี"50 มีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงคาดจะส่งผลต่อการจัดเก็บในปี"51 ด้วย อีกทั้ง      ที่ผ่านมาในช่วงปีงบประมาณ 48-49 ซึ่งมีการจัดทำงบประมาณสมดุล แต่เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของการ ใช้จ่ายงบประมาณแล้วพบว่าไม่ได้เป็นงบประมาณสมดุลจริง มีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มเข้ามาจำนวนมาก ทั้งค่าใช้จ่าย

ในค่ารักษาพยาบาลจากโครงการ
30 บาทรักษาทุกโรค และค่าใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มเข้ามา ส่งผลให้ต้องนำเงินคงคลังมาจ่ายและต้องกู้เพิ่ม "บอกว่าเป็นการจัดทำงบสมดุล กระทั่งจัดเก็บได้มากกว่า       ที่ประมาณการไว้ โดยเฉพาะในปี"48 แต่ไม่มีใครรายงานนายกรัฐมนตรีในช่วงนั้นว่ามีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเข้ามา และกินเงินคงคลังไปมาก มีอะไรก็มาเบิกจ่ายกับเงินคงคลัง ที่สุดก็นำไปสู่ภาวะคลังถังแตก ถึงปี"51 จะมีการจัดทำงบสมดุล จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 50 ทั้งเหตุระเบิดและปัญหาการเมือง ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ"แหล่งข่าวระบุ

            ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณในปี"48 ตั้งไว้ที่ 1.23 ล้านล้านบาท และในช่วงกลางปีสามารถจัดเก็บเพิ่มได้ถึง 50,000 ล้านบาท  รัฐบาลจึงนำรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มดังกล่าวไปจัดทำรายจ่ายเพิ่มเติม    ส่วนงบประมาณในปี"49 ตั้งไว้ที่ 1.36 ล้านล้านบาท แต่ด้วยภาระหนี้สะสมจำนวนมากอีกทั้งมีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เหตุการณ์สึนามิ ปัญหาน้ำท่วมซึ่งถือเป็นรายจ่ายที่ต้องเบิกจ่ายจากงบประมาณแทบทั้งสิ้น ทำให้กระทรวงการคลังต้องออก     ตั๋วเงินคลังจำนวน 80,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับการบริหารเงินสด แต่ก็พบว่าไม่เพียงพอกับ       ความต้องการและนำไปสู่ปัญหาถังแตกในที่สุด

                                                                                 ข่าวสด :15 ม.ค. 50
คำสำคัญ (Tags): #งบประมาณ
หมายเลขบันทึก: 72706เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2007 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท