มาทบทวนความรู้เรื่อง KM กันเถอะ


ขุมความรู้เรื่อง KM

มาทบทวนความรู้เรื่อง  KM กันเถอะ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ KM การจัดการความรู้
(Knowledge Management-KM)

          การจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กร ไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

          ดังนั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิดเอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียง เพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเอง

แรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู้

       แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งานคน และองค์กรเป็นเงื่อนไข สำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ เป็นต้น เหตุที่นำไปสู่การทำการจัดการความรู้แบบเทียม และนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด เช่น ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด กล่าวคือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ หรือทำเพื่อชื่อเสียง ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดูดี หรือมาจากความต้องการผลงานของหน่วยย่อยภายในองค์กร เช่น หน่วยพัฒนาบุคลากร (HRD) หน่วยสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) หรือหน่วยพัฒนาองค์กร (OD) ต้องการใช้การจัดการความรู้ในการสร้างความเด่น หรือสร้างผลงานของตน หรืออาจมาจากคนเพียงไม่กี่คน ที่ชอบของเล่นใหม่ๆ ชอบกิจกรรมที่ดูทันสมัย เป็นแฟชั่น แต่ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการดำเนินการจัดการความรู้อย่างแท้จริง

ประเภทความรู้
ความรู้อาจแบ่งใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

  1. ความรู่เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือวิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน
  2. ความรู่ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา

โดยที่ความรู้ทั้ง ๒ ประเภทนี้มีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน
การจัดการ "ความรู้เด่นชัด" จะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีความได้เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ ก็นำมาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป (ดูวงจรทางซ้ายในรูป) ส่วนการจัดการ "ความรู้ซ่อนเร้น" นั้น จะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติงานได้ต่อไป (ดูวงจรทางขวาในรูป)

ในชีวิตจริง ความรู้ 2 ประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลาบางครั้งTacit ก็ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit
        "โมเดลปลาทู" เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทู หนึ่งตัวที่มี 3 ส่วน คือ

1. ส่วน " หัวปลา " (Knowledge Vision-KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือ ทิศทางของการจัดการ ความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า " เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?" โดย "หัวปลา " นี้จะต้องเป็นของ " คุณกิจ" หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมดโดยมี "คุณเอื้อ" และ "คุณอำนวย" คอยช่วยเหลือ

2. ส่วน "ตัวปลา" ( Knowledge Sharing-KS) หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง "คุณอำนวย" จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ "คุณกิจ" มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว " คุณกิจ" พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้
และเกิดนวัตกรรม

3. ส่วน "หางปลา" (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ " คลังความรู้" หรือ " ขุมความรู้" ที่ได้จากการเก็บสะสม" เกร็ดความรู้" ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ตัวปลา" ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ " หางปลา" นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป

คนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้

1. ผู้บริหารสูงสุด ( CEO) จัดได้ว่า "โชคดีที่สุด" สำหรับวงการจัดการความรู้ถ้าผู้บริหารสูงสุดเป็นแชมเปี้ยน (เห็นคุณค่า และดำเนินการผลักดัน KM) เรื่องที่ว่ายากทั้งหลายก็ง่ายขึ้น ผู้บริหารสูงสุดควรเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจัดการความรู้ โดยกำหนดตัวบุคคลที่จะทำหน้าที่ " คุณเอื้อ (ระบบ)" ของ KM ซึ่งควรเป็นผู้บริหารระดับสูง เช่น รองอธิบดี, รองผู้อำนวยการใหญ่ (Vice President)

2. คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer-CKO) ถ้าการริเริ่มมาจากผู้บริหารสูงสุด " คุณเอื้อ" ก็สบายไปเปลาะหนึ่ง แต่ถ้าการริเริ่มที่แท้จริงไม่ได้มาจากผู้บริหารสูงสุด บทบาทแรกของ " คุณเอื้อ" ก็คือ เอาหัวปลาไปขายผู้บริหารสูงสุดให้ผู้บริหารสูงสุดกลายเป็นเจ้าของ "หัวปลา" ให้ได้ บทบาทต่อไปของ "คุณเอื้อ" คือ การหา "คุณอำนวย" จัดให้มีการกำหนด " เป้าหมาย/ หัวปลา" ในระดับย่อยๆ ของ "คุณกิจ/ผู้ปฏิบัติงาน",คอยเชื่อมโยง "หัวปลา" เข้ากับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ขององค์กร , จัดบรรยากาศแนวราบ และการบริหารงานแบบเอื้ออำนาจ (empowerment), ร่วม share ทักษะในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการจัดการความรู้โดยตรงและเพื่อแสดง "คุณกิจ" เห็นคุณค่าของทักษะดังกล่าว, จัดสรรทรัพยากรสำหรับใช้ในกิจกรรมจัดการความรู้ พร้อมคอยเชื่อมโยงการจัดการความรู้เข้ากับกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ทั้งภายในและนอกองค์กร , ติดตามความเคลื่อนไหวของการดำเนินการ ให้คำแนะนำบางเรื่อง และแสดงท่าทีชื่นชมในความสำเร็จ อาจจัดให้มีการยกย่องในผลสำเร็จและให้รางวัลที่อาจไม่เน้นสิ่งของ แต่เน้นการสร้างความภาคภูมิใจในความสำเร็จ

3. คุณอำนวย (Knowledge Facilitator-KF) เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ ความสำคัญของ "คุณอำนวย" อยู่ที่การเป็นนักจุดประกายความคิด และการเป็นนักเชื่อมโยง โดยต้องเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ("คุณกิจ") กับผู้บริหาร( " คุณเอื้อ") เชื่อมโยงระหว่าง "คุณกิจ" ต่างกลุ่มภายในองค์กร และเชื่อมโยงการจัดการความรู้ภายในองค์กรกับภายนอกองค์กร โดยหน้าที่ที่ "คุณอำนวย" ควรทำ คือ

  • ร่วมกับ "คุณเอื้อ" จัดให้มีการกำหนด "หัวปลา" ของ "คุณกิจ" อาจจัด "มหกรรมหัวปลา"เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของ "หัวปลา"
  • จัดตลาดนัดความรู้ เพื่อให้ "คุณกิจ" นำความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดความรู้ออกมาจากวิธีทำงานที่นำไปสู่ความสำเร็จนั้น เพื่อการบรรลุ "หัวปลา"
  • จัดการดูงาน หรือกิจกรรม " เชิญเพื่อนมาช่วย" (Peer Assist) เพื่อให้บรรลุ "หัวปลา" ได้ง่าย หรือเร็วขึ้น โดยที่ผู้นั้น จะอยู่ภายในหรือนอกองค์กรก็ได้ เรียนรู้วิธีทำงานจากเขา เชิญเขามาเล่าหรือสาธิต
  • จัดพื้นที่เสมือนสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสำหรับเก็บรวมรวม ขุมความรู้ที่ได้ เช่น ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ซึ่งรวมทั้งเว็บไซต์ เว็บบอร์ด เว็บบล็อก อินทราเน็ต จดหมายข่าว เป็นต้น
  • เสริมให้เกิด ชุมชนแนวปฏิบัติ (Cop-Community of Practice) ในเรื่องที่เป็นความรู้หรือเป็นหัวใจในการบรรลุเป้าหมายหลักขององค์กร
  • เชื่อมโยงการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร กับกิจกรรมจัดการความรู้ภายนอก เพื่อสร้างความคึกคัก และเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายนอก

4. คุณกิจ (Knowledge Practitioner-a KP) "คุณกิจ" หรือผู้ปฏิบัติงาน เป็นพระเอก หรือนางเอกตัวจริงของการจัดการความรู้ เพราะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้
ประมาณร้อยละ 90 - 95 ของทั้งหมด "คุณกิจ" เป็นเจ้าของ "หัวปลา" โดยแท้จริง และเป็นผู้ที่ มีความรู้ (Explicit Knowledge & Tacit Knowledge) และเป็นผู้ที่ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุถึง "เป้าหมาย / หัวปลา"ที่ตั้งไว้

5. คุณประสาน (Network Manager) เป็นผู้ที่คอยประสานเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงาน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงที่กว้างขึ้น เกิดพลังร่วมมือทางเครือข่ายในการเรียนรู้ และยกระดับความรู้แบบทวีคูณ

ข้อมูลเอกสาร :
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิริธร

รายละเอียดทั้งหมดคลิก ที่นี่ 

เวปไซด์ที่น่าสนใจ ของ Hospital Knowledge Management (โครงการพัฒนาการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลภาคเหนือตอนล่าง

เครื่องมือ KM
  • 1.การเล่าเรื่อง (Story telling)
  • 2.เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
  • 3.After Action Review
  • 4.Retrospect
การเล่าเรื่อง (Story telling)
เป้าหมายสำคัญ
ให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ ปลดปล่อยความรู้ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึก
หัวใจ (ความเชื่อ)
สมอง (ความคิด)
ร่างกาย (การปฏิบัติ)
ออกมาเป็นคำพูด และหน้าตาท่าทาง (เป็นการปลดปล่อยความรู้จากการปฏิบัติ)

การเรียนรู้จากกัลยาณมิตร/

เพื่อนช่วยเพื่อน(Peer Assist) คืออะไร

  • เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งใน การจัดการความรู้ก่อนลงมือทำกิจกรรม” (Learning Before Doing) เป็นการใช้ ทีมผู้ช่วยหรือ ทีมที่ปรึกษาจากภายนอกที่มาเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในการทำงานนั่นเอง
  • Peer Assist จะเกี่ยวข้องกับการประชุมหรือการปฏิบัติการร่วมกันโดยมีผู้ที่ได้รับเชิญจากทีมภายนอก หรือทีมอื่น (ทีมเยือน) เพื่อมาแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ กับทีมเจ้าบ้าน (ทีมเหย้า) ที่เป็นผู้ร้องขอความช่วยเหลือ
ประโยชน์ของ Peer Assist
เป็นการเรียนลัดวิธีการทำงานต่างๆ ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน จากประสบการณ์ตรงของทีมผู้ช่วย จะทำให้รู้ว่าใครรู้อะไร และ
þ
 ไม่ทำผิดพลาดซ้ำในสิ่งที่เคยมีผู้ทำผิดพลาด อีกทั้งยังช่วยให้ทีมเจ้าบ้านได้ความช่วยเหลือ ความคิดเห็น และมุมมองจากทีมผู้ช่วยภายนอก ซึ่งอาจนำไปสู่
þ
 แนวทางในการแก้ปัญหาหรือการทำงานใหม่ๆ และก่อให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายบุคคลที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
AAR
(1).AAR เป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการถอดบทเรียน (Lesson Learned, Post - operation review, Learning review และ Learning after the event ซึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการวิเคราะห์ อ่านสภาพการณ์ ปรับแนวทางการดำเนินงานอยู่ตลอดเวลา สร้าง
วัฒนธรรมในการใช ้ความรู้ในการปฏิบัติและกำกับการทำงาน ซึ่งเรียกความรู้นี้ว่า “Actionable Knowledge”
(2). AAR เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการ/กิจกรรม ที่ปฏิบัติการไปแล้วเพื่อ
         2.1. หาแนวทางรักษาจุดแข็งของการปฏิบัติการเอาไว้เพื่อส่งเสริมให้มีการนำแนวทางปฏิบัติที่ดี ไปประยุกต์ปฏิบัติการต่อเนื่อง
         2.2. หาแนวทางหลีกเลี่ยงความผิดพลาดซ้ำรอย
         2.3. หาแนวทางการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ
(3). AAR เป็นกลไกเพื่อการเรียนรู้ ปรับตัวในโครงการพัฒนา เมื่อโครงการดำเนินการไปแล้วระยะหนึ่ง โดยมุ่งเรื่องการเรียนรู้ที่ทันเวลา (Just in Time Learning) หรือการตีเหล็กกำลั
1.
ใช้เครื่องมือ AAR เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลภายในองค์กร
2.
ใช้ AAR เพื่อการพัฒนาให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนในองค์กร (Learning Organization)
3.
ใช้ AAR เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในแนวราบเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในการพัฒนางานและมองสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นองค์รวมและมีบูรณาการรวมทั้งมีการเปิดใจ ซึ่งกันและกัน
4.
ใช้ AAR เพื่อเป็นกลไกในการบริหารจัดการเชิงวิชาการ และบริหารยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนโครงการอย่างเป็นระบบและทันเวลา

4 คำถามกับ AAR

1. สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการทำงานคืออะไร
2
. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร
3
. ทำไมจึงแตกต่างกัน
4
. สิ่งที่ได้เรียนรู้และวิธีการลด/แก้ความแตกต่างคืออะไร

AAR ทำอย่างไร

1.
ควรทำ AAR ทันทีทันใดหรืออย่างเร็วที่สุดหลังจากจบงานนั้น ๆ
2.
ไม่มีการกล่าวโทษ ซ้ำเติม ตอกย้ำซึ่งกันและกัน ไม่มีความเป็นเจ้านายหรือลูกน้อง มีแต่บรรยากาศที่เป็นกันเอง

ความรู้เรื่อง KM จากอาจารย์ วิจารณ์ พานิช 

ขออนุญาตท่านอาจารย์วิจารณ์ พานิช ในการนำ Link ของท่านมานำเสนอเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรื่อง KM ค่ะ   และขออนุญาตอาจารย์วิจารณ์ ณ ที่นี้ นำblog ของอาจารย์เข้า แพลนเนต KMfmbuddha  ด้วยค่ะ  ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

http://gotoknow.org/blog/thaikm/55  (ความรู้ของคุณอำนวย )

http://gotoknow.org/blog/thaikm/57  (ลูกเล่นคุณอำนวย)

http://gotoknow.org/blog/thaikm/60  (การจัดการความรู้ในหน่วยราชการ )

http://gotoknow.org/blog/thaikm/63746 (KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 213. นวัตกรรม)

 http://gotoknow.org/blog/thaikm/53504 (KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 176. บันทึกอย่างไรให้ความรู้ฝังลึกออกมา )

http://gotoknow.org/blog/thaikm/53346 (KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 175. คำถาม AAR ข้อที่ ๔ )

http://gotoknow.org/blog/thaikm/51461 (แนะนำหนังสือ KM เล่มใหม่ของ สคส. )

http://gotoknow.org/blog/thaikm/51089 (KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 165. เบื้องลึกของโจทย์ AAR ข้อที่ ๑ )

http://gotoknow.org/blog/thaikm/48094 (KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 148. KM กับนวัตกรรม (2) )

3.

นู๋ทิม รวบรวม

หมายเลขบันทึก: 72524เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2007 02:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ขอบคุณหนูมากเลยทีเดียวที่สามารถรวบรวมองค์ความรู้ของการจัดการความรู้มาไว้ให้พวกเรา คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต ในการทบทวนบทบาทของตัวเองได้เป็นอย่างดี และทำให้พี่นำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างมาก ไม่ต้องพลิกตำราเยอะ 555

     หนูรวบรวมมาให้อ่านแบบนี้เป็นระยะนะ ร่วมกันเรียนรู้ไปพร้อมหัดปฏิบัติควบคู่กันไป เราว่าน้องๆในกลุ่มงานเราจะสามารถใช้การจัดการความรู้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นธรรมชาติ เชื่อเรามั้ยว่าความสัมพันธ์ระหว่างพวกพ้องน้องพี่และประชาชนในความรับผิดชอบของเราจะดีขึ้นด้วยทันตาเห็น คอยดูกันต่อไปนะ

  • อาจารย์นิพัธคะ พี่โต้งคะ  nutim จะพยายามหารวบรวมมาอีกค่ะ ....ขอบคุณค่ะ
ขณะนี้เรากำลังขอที่ตั้งสำนักงาน KM อยู่นะครับ กำลังดำเนินการขอให้ห้องศูนย์คุณภาพเดิม  เพราะศูนย์คุณภาพย้ายไปอยู่ OPD ชั้น 5 แล้ว  ยังไม่ทราบว่าจะได้รับอนุมัติจากอาจารย์ยงยศหรือไม่
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท