ขาดความมั่นใจในตัวเองในการเรียน


เมื่อเราพยายามมากขึ้นก็ทำให้เรามีความคาดหวังกับตัวเองมากขึ้น

ได้อ่านหัวข้อทำไมผมจึงเรียนเก่งน้อยลง  ทำให้คิดมาถึงเรื่องของตัวเองค่ะ  ชอบที่อาจารย์บอกว่า หัวใจเราเตรียมใจที่จะมาพบเพื่อนๆ ที่เก่งหรือเปล่า  มันทำให้คิดถึงตัวเองค่ะ เพราะสำหรับตัวเองแล้วคิดว่าเตรียมใจมาตั้งแต่รู้ว่าสอบติดคณะนี้ด้วยคะแนนที่อยู่ท้ายๆ ของคนอื่นๆ และเมื่อมาเรียนก็เรียนด้วยความสบายใจ  มีความสุขที่เราสามารถเรียนรู้ร่วมกับคนที่เขาเก่งๆ ได้  ยอมรับว่าการเรียนโดยที่เราไม่มีความกังวลเรื่องเกรด ทำให้ตนเองมีความสุขกับการเรียนในคณะนี้มาก  ใจก็จดจ่อคิดว่าวันหนึ่งอยากลองทำ lab อยากทำคลินิกเหมือนพี่ๆ แต่พอการเรียนที่เริ่มหนักขึ้นมากๆ  พร้อมกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนที่เหมือนจะเครียด และมีการแข่งขันกันมากขึ้น ทำให้ตนเองก็พยายามมากขึ้นเพื่อที่จะเกาะกลุ่มกับเพื่อนคนอื่นไปให้ได้  และเมื่อเราพยายามมากขึ้นก็ทำให้เรามีความคาดหวังกับตัวเองมากขึ้น  ว่าจะทำคะแนนออกมาได้ดีขึ้น  แต่ผลก็คือเรายังทำได้ไม่ดีอยู่ดี คะแนนก็ยังน้อยมาก  ทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเองไปเลยค่ะ  และยังเครียดขึ้นด้วย

จะทำยังงัยดีคะอยากกลับมาเรียนอย่างมีความสุขเหมือนเดิมค่ะ อยากขจัดความรู้สึกไม่ดีเหล่านั้นออกให้ได้ ไม่รู้ว่าอะไรทำให้ความรู้สึกเราเปลี่ยนไปอย่างนี้ได้

ขอให้เจ้าของคำถามและผู้เข้ามาอ่านบล็อกช่วยอีเมล์ถึงอาจารย์อ๊อดด้วยครับว่าได้รับประโยชน์จากคำแนะนำของเราหรือไม่ อย่างไร เพื่อเราจะได้นำไปปรับปรุง จะขอบคุณมาก

คำสำคัญ (Tags): #ความมั่นใจ
หมายเลขบันทึก: 72421เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2007 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
สิ่งที่ศิษย์ถามมาเป็นประเด็นสำคัญ เพราะ ความมั่นใจ ในตัวเองเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำการใดๆ ให้สำเร็จ การเรียนก็ไม่ต่างจากการทำงาน  หลายครั้งที่เราไม่อาจคาดหวัง ผล ของงานได้  แม้ว่าเราจะตั้งใจทำอย่างเต็มที่แล้ว  ทั้งนี้เพราะผลสุดท้ายของงาน  ไม่ได้มีเราเพียงคนเดียวที่เป็นผู้กำหนดเสมอไป แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ระหว่างทางจากคนอื่นๆ จากเพื่อนๆ ที่เข้ามามีผล  ปัจจัยเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา  และเราไม่ควรเอามันมาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว ส่วนที่เราทำได้แน่ๆ ก็คือ ตั้งใจทำงานให้ดี ให้ถูกต้อง เพื่อแข่งขันกับตัวเอง ดีกว่า  การแข่งขันกับตัวเองเป็นสิ่งที่ไม่มีความกดดัน แต่ต้องมี วินัย และยึดมั่นต่อคำสัญญาที่ให้ไว้กับตนเอง คนเราไม่สามารถเก่งไปหมดทุกเรื่อง  และศิษย์ก็ไม่จำเป็นต้องเก่งเรื่องเดียวกับเพื่อน  ลองค้นหาจุดเด่นของเรา  ค้นหาศักยภาพของเรา แล้วนำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขจุดอ่อนที่เรามีอยู่  เพื่อให้เราสามารถทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับตัวเองได้สำเร็จ ดีกว่าครับ

 

อยากเพิ่มเติมอีกหน่อยว่า  หลายๆ ครั้งที่เราคิดว่าเราสื่อสารกับคนอื่นได้เข้าใจ  แต่จริงๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้น  อาจารย์คนหนึ่งอาจคิดว่าเขาสอนนักเรียนได้เข้าใจ  แต่เด็กกลับตอบข้อสอบไม่ได้  หรืออีกแบบหนึ่ง  นักเรียนอาจคิดว่าเข้าใจสิ่งที่อาจารย์สอนแล้ว  แต่จริงๆ เข้าใจผิด

เป็นไปได้หรือเปล่าว่า ที่ศิษย์บอกว่าตนเองพยายามมากในการทำข้อสอบ  แต่คะแนนก็ออกมาไม่ดี  เป็นเพราะสาเหตุข้างต้น  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น  เราอาจจะต้องตรวจสอบความเข้าใจในบทเรียนของเรากับคนอื่นๆ  ก่อนอีกครั้งเสมอ

ความสุขของนักศึกษาท่านนี้ถูกความเครียดและบรรยากาศแห่งการแข่งขันมามีอิทธิพลต่อตัวเองโดยการเบียดเบียนและบดบังความสุขที่เคยได้รับจากเรียนร่วมกันกับเพื่อนทำให้ดูเหมือนความสุขจะจางหายไปจากที่ที่เคยเป็นอยู่และย้ายไปอยู่ที่ผลของการแข่งขันแทนซึ่งผิดหวังได้เพราะขึ้นกับเหตุปัจจัยหลายอย่าง

ถ้าเป็นเช่นนี้จริง การที่จะทำให้ความสุข return
ก็ต้องย้ายมันกลับไปไว้ที่เดิม
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วคือมีความสุขจากการที่ได้เรียนรู้และทำแล็ปกับเพื่อนๆในสิ่งใหม่ที่อาจจะยากขึ้นเรื่อยๆ จึงควรช่วยกันเรียนความสุขเช่นนี้ได้รับทุกครั้งที่ทำ

ในขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักคลายเครียดโดยการรู้จักปล่อยวางซะบ้าง

วันนี้ ได้นำเทปการบรรยายของ พลอากาศตรี นพ. บุญเลิศ  จุลเกียรติ ในหัวข้อ "ชีวิตนี้เพื่อใคร?"มาฟังอีกรอบ  เป็นเทปที่ฟังกี่ครั้งก็รู้สึกดี และได้อะไรเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ฟัง   สิ่งหนึ่งที่อาจารย์บุญเลิศเน้นอยู่เสมอๆ ก็คือ  พระเจ้าเป็นผู้สร้างทุกสิ่งบนโลกใบนี้  แต่พระองค์ทรงสร้างภายใต้กฎของธรรมชาติ คือไม่มีอะไรที่สมบูรณ์ 100%  สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นจึงมีความหลากหลายโดยมีการกระจายแบบปกติ (normal distribution) หรือโค้งรูประฆังคว่ำ

เช่น คนในสังคมจะมีประมาณ 90% ที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ธรรมดาๆ  แต่จะมีอีก 5% ที่เป็นอัจริยะ และอีก 5% ที่เป็นคนไง่เขลา  หรือจะมีคนในสังคมประมาณ 90% ที่เป็นคนปกติธรรมดาๆ  แต่จะมี 5% ที่เป็นคนดีใครๆ รัก และจะมีอีก 5% ที่เป็นคนที่ไม่มีใครอยากคบด้วย เป็นต้น

ทำให้นึกว่า การมีคนเก่ง คนไม่เก่ง และคนปานกลางในขั้นเรียนนั้นก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติอีก  อาจารย์บุญเลิศแนะไว้ว่า  คนที่อยู่ในกลุ่ม 5% แรกที่จัดเป็นคนดีใครๆ รักเมื่อทราบว่าตัวเองเป็นเช่นนี้ก็ควรที่จะรู้ว่าตนเองโชคดีมากและต้องรักษาความดีเอาไว้  ส่วนคนที่อยู่ในเกณฑ์ปกติธรรมดา  (90%) ก็ควรดีใจที่ตนเองแม้ไม่ได้เป็นคนดีเลิศแต่ก็เป็นคนปกติทั่วไป  และเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม   แต่ใครจะรู้ว่าสักวันหนึ่งเราอาจจะพัฒนาตนเองขึ้นไปอยู่ในกลุ่มยอดคน 5% ได้เหมือนกัน 

สำหรับคนในกลุ่ม 5% สุดท้ายที่แย่ไม่มีใครอยากคบด้วยนั้น  อาจารย์บุญเลิศบอกว่า  ทุกคนควรจะเห็นใจ เพราะไม่มีใครอยากเกิดมาเป็นอย่างนี้หรอก (แต่บังเอิญมันเป็นกฎของธรรมชาติ)  อย่างไรก็ตามใครที่คิดว่าตนเองตกอยู่ในกลุ่มนี้  แต่ไม่ยอมรับความจริงก็คงไม่มีทางแก้ไข  ตรงข้าม ถ้าคนๆ นั้นพยายามไตร่ตรอง  ครุ่นคิดด้วยปัญญาให้ดี  ก็สามารถจะพัฒนาตนให้สูงขึ้นได้เช่นกัน

ไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องการขาดความมั่นใจในการเรียนหรือเปล่าครับ

บางครั้งคนเราก็ขาดความมั่นใจในตนเองได้บ่อย ๆ ซึ่งสมัยที่เรียนพี่ก็เป็น เนื่องจากเป็นคนที่ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเองอยู่แล้ว แต่การเรียนทันตแพทย์ จริง ๆ แล้วพี่คิดว่ามันขึ้นอยู่กับตัวเราเองมากกว่า การที่เราทำได้ไม่ดีเท่าเพื่อน บางครั้งก็อาจเกิดจากเราเอาตัวไปเปรียบเทียบกับเค้ามากเกินไปหรือเปล่า ถึงแม้เราจะไม่มั่นใจในตัวเอง แต่ถ้าเรามีจุดยืนของเราว่าเราต้องการอะไรจากการเรียน หรือเราหวังผลอะไรจากการเรียน มีหลักเกณฑ์ของเราเอง ถ้าเราสามารถทำได้อย่างที่เราพอใจ เราก็น่าจะเรียนแบบมีความสุขได้นะคะ

สู้ๆพี่

แบบนี้มีกันทุกคณะ

ตั้งใจเหอะนะ ไม่ต้องไปเครียดมาก แข่งกับตัวเองดีกว่า ก็ทำให้เต็มที่ผลออกมายังไงก็ไม่ต้องไปเสียใจ อย่างน้อยก็ได้พยายามแล้ว อีกอย่างถึงเราจะรู้สึกว่าไม่เก่งเหมือนแต่ก่อน แต่ใช่ว่าจบไปแล้วจะเป็นหมอฟันที่ดีไม่ได้นี่นา เป็นกำลังใจให้นะพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท