008: CoP การวิจัยสำหรับแพทย์ประจำบ้าน


กิจกรรม ลปรร ระหว่างภาควิชา เพื่อพัฒนาการทำวิจัยของแพทย์ประจำบ้าน

ในปี 2545 ทางฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้ทุนวิจัยสำหรับแพทย์ประจำบ้านของแต่ละภาควิชา ไปทั้งหมด 21 ทุน (เป็นเงิน 7 แสนกว่าบาท) คิดเป็น 17% ของเงินทุนคณะฯ และจำนวนทุนเพิ่มขึ้นเป็น 21% และ 38% ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ

การติดตามผลการดำเนินการภายหลังได้รับทุนไปแล้ว 3 ปี พบว่า ในจำนวนงานวิจัยที่ทำแล้วเสร็จแต่ไม่ตีพิมพ์เป็นงานวิจัยของแพทย์ประจำบ้านเป็นส่วนใหญ่ (75%)

โดยที่หลายภาควิชาไม่มีการตีพิมพ์เลย แต่บางภาคฯ กลับมีการตีพิมพ์อยู่ในระดับที่น่าพอใจ 

                             ทีมงานวิจัยหารือกันในครั้งแรก

จากปัญหาและข้อมูลที่ได้ ทางฝ่ายวิจัย และ หน่วยงาน KM จึงได้หารือกันในเบื้องต้น ว่าจะลองใช้วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาควิชา เพื่อผลักดันให้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยของแพทย์ประจำบ้านเพิ่มขึ้น

แม้ว่าจะใช้เวลานานซักหน่อย กว่าจะเห็นผล

 จึงได้เชิญหัวหน้าภาควิชา หรือตัวแทน ที่เกี่ยวข้อง 12 ภาควิชา มาร่วมหารือในการใช้ KM เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ซึ่งได้จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 12 ม.ค. 50 มีภาควิชาที่เข้าร่ามกิจกรรมทั้งหมด 10 ภาค คือ ศัลยฯ สูติ-นรีเวชฯ กุมการฯ ออร์โธฯ จักษุ หูคอจมูก วิสัญญีฯ เวชศาสตร์ฟื้นฟู รังสี และ เวชศาสตร์ชุมชน ขาดไป 2 ภาคฯ คือ อายุรศาสตร์ และจิตเวช</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ตัวแทนจากภาควิชาต่างๆ

</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในการประชุมครั้งแรกได้ขอให้ทางภาค สูติ-นรีเวชฯ ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์ที่โดดเด่น ได้นำเสนอว่าทางภาควิชาฯ ดำเนินการอย่างไรบ้าง</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อ.สุพัชญ์ และ อ. วรลักษณ์ จากภาคสูติฯ

</p>จากนั้นมีการแลกเปลี่ยนความเห็นภาควิชาต่างๆ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในการประชุมครั้งแรกนี้ท่านรองฝ่ายวิจัยเป็นประธาน โดยให้ผมเป็นผู้ประสานงานของ CoP นี้ และมีคุณสรินธร รับหน้าที่เป็นเลขากลุ่ม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> 
รองคณบดีฝ่ายวิจัย..... สนับสนุนเต็มที่ครับ...

</p><p>ผลการประชุมในครั้งผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะดำเนินกิจกรรมนี้ต่อไป จะนัดประชุมครั้งต่อไปในเดือนมีนาคม ทั้งนี้แต่ละภาควิชาจะ update ข้อมูลการวิจัยของแพทย์ประจำบ้านในแต่ละปีมาด้วย

 สรุปความเห็นของภาควิชาต่างๆ จากที่ประชุม จะบันทึกไว้ในความเห็นใน web ของคณะแพทย์ต่อไป</p><p>Link ไป Web KM คณะแพทยศาสตร์ มข. ที่นี่
</p>

หมายเลขบันทึก: 72417เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2007 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ดิฉันเห็นงานนี้แล้ว...อดปลื้มใจกับฝ่ายวิจัย คณะแพทย์ ม.ข.ด้วยไม่ได้ค่ะ...อ.หมอสมบูรณ์มีความสามารถ..ทำคุณภาพ KM ได้ทุกที่...อยู่แล้ว...ฝีมือ...ขอให้ประสบความสำเร็จค่ะ
  • ชมมากเกินไปหรือเปล่าครับ
  • แต่ก็ต้องขอขอบคุณอยู่ดีที่ให้กำลังใจ
อาจารย์ครับ ที่รามาก็เจอปัญหาคล้ายๆ กันครับตามความคิดเห็นของผมนะครับ ประเด็นคือ1. dent ไม่รู้ว่าจะส่งตีพิมพ์ไปทำไม ยุ่งยาก เสียเวลา และไม่ได้ benefit จากผลงาน มองไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์อะไรต่อตัวเขาถ้าได้ตีพิมพ์แก้ : ให้เด้นท์ทำผลงานตั้งแต่ขึ้นปี 2 เสร็จก่อนขึ้นปี 3 ให้เวลาส่งเรื่องลง 1 ปี ถ้าเรื่องไม่ได้ลงถือว่าไม่ผ่าน comment : อันนี้โหดครับ อาจารย์ในภาควิชาหลายท่าน comment ว่าจุดประสงค์หลักของการ training คือต้องการให้เขาเป็นแพทย์ที่ดีมี skill และ attitude ในการดูแลรักษาคนไข้  การมีความรู้และทักษะในการวิจัยเพิ่มเติมเป็นสิ่งที่ดี และถ้าไปเน้นมาก ก็จะทำให้เด้นท์กังวลกับเรื่องนี้ จนเวลาที่จะดูคนไข้ หาประสบการณ์จากคนไข้ลดน้อยลง2. ผลงานของ dent ไม่ใช่ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ในคณะ อันนี้ผมว่าก็คงไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ ผมคิดว่าที่สำคัญคือ สิ่งที่ทำนั้นเป็นการต่อยอดหรือสั่งสมความรู้ไหม ไหม หรือเป็นสิ่งที่ dent ทำไปครั้งเดียวแล้วก็เลิก หากคิดในแง่ benefit ของคณะ ผมคิดว่าควรจะให้ทุนต่อเมื่อผลงานของ dent นั้นอยู่ในโครงการที่อาจารย์ในภาควิชาทำอยู่ เป็นไปในทำนองผู้ช่วยอาจารย์เรียนรู้จากอาจารย์ โดยอาจารย์คนหนึ่งอาจมี dent ที่สนใจมาเข้าร่วม 4-5 คนก็ได้  แต่เมื่อได้ทุน อาจารย์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกระตุ้นใน dent ตีพิมพ์ผลงานย่อย หาก dent ไม่ทำจริงๆ ข้อมูลนั้นจะต้องมีปรากฏในผลงานใหญ่ของอาจารย์ที่ขอทุนสนับสนุนโครงการผมคิดว่าประเด็นคือเราไม่ได้คาดหวังให้ dent เป็นนักวิจัยครับ แต่เราต้องการให้เขาเรียนรู้กระบวนการการวิจัย ซึ่งคนที่สนใจก็อาจต่อยอดหลังจบได้ ผลงานของ dent ถ้าเขาทำด้วยตัวเขาเองทั้งหมด ก็ไม่ใช่ผลงานการวิจัยของอาจารย์ในคณะ (ยกเว้นเป็น
โครงการใหญ่ของอาจารย์ที่
dent เป็นผู้ทำตาม idea ของอาจารย์แบ่งให้ไปทำ)  ถ้าป็นงานวิจัยของ dent ล้วนๆ การดู outcome ด้วยผลงานที่ได้ตีพิมพ์ผมมองว่าอาจไม่ตรงกับเป้าหมายของการเพิ่มปริมาณ publication paper เพราะไม่อาจนับได้ว่าเป็นผลงานของ staff  การให้ทุนจำนวนมากเพื่อหวังให้เขาเรียนรู้กระบวนการวิจัยนั้นผมคิดว่าอาจต้องมา weight กับการสงวนทรัพยากรมาสำหรับโครงการที่มี potential จริงๆ หรือเป็นไปเพื่อสนับสนุนให้อาจารย์สามารถสร้างผลงานโดยมี dent เป็นผู้ช่วย

อาจยาวไปนิดนะครับอาจารย์ เพราะเป็นสิ่งที่ผมคำนึงหลังได้เข้าประชุมอนุกรรมการเรื่องนี้

ขอโทษด้วยครับที่ย่อหน้าหายหมดทำให้อ่านยาก เพราะก็อปปี้มาจาก word (เคยเขียนยาวๆ อย่างนี้บนเว็บแล้ว upload ปรากฎว่าเว็บ disconnect หายหมดเลย ต้องพิมพ์ใหม่)

ความจริงน่าจะมีให้คนเขียนแก้ไขหลัง post ได้นะครับ

อ. มาโนช ครับ

  • ก่อนอื่นต้องขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยน
  • ที่อาจารย์พูดมาทั้งหมด คือปัญหาของทุกแห่ง การทำวิจัย ของ dent จะต่างจากของ นศ. ป โท เอก เป็นอย่างมาก หลายภาค บอกว่าทำเพื่อการเรียนการสอน
  • แต่จะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อ ผู้เรียน และผู้สอน
  • หลายที่ต่างก็แก้ปัญหาไปต่างๆ นานา การแลกเปลี่ยนจึงมีประโยชน์ ครับ

ปล. พิมพ์ใน word ดีแล้วครับ แต่การจัดวรรคตอน การเน้นคำ เพิ่มสี ก็สามารถทำได้เพื่อให้อ่านได้ง่ายครับ

ผมขอสรุปประเด็นที่ อ.สุพัชญ์ และ อ.วรลักษณ์ จากภาคสูติฯ ได้นำเสนอเรื่องการสนับสนุนระดับภาควิชา ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น

  • พยายามพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาให้เข้าใจการทำวิจัยมากขึ้น
  • ให้นักศึกษาได้นำเสนอกระบวนการทำวิจัยในขั้นตอนต่างๆ เป็น ภาษาอังกฤษ
  • ช่วยหาทุนเพิ่มเติมกรณีต้องใช้เงินเกินจากของคณะแพทย์ให้ทุน
  • เชิญนักศึกษา ป. โท จากคณะสาธารณะสุข มาช่วยให้คำปรึกษาและเรียนรู้ร่วมกันเรื่องสถิติที่ใช้ในการวิจัย
  • ฯลฯ

แสดงว่าปัญหาการตีพิมพ์เป็นสิ่งที่พบเห็นอยู่ในทุก ๆ ที่  เช่นกันคะ ที่คณะวิทยาศาสตร์ จำนวนผลงานวิจัย มีเยอะ และเป็นอาจารย์ที่ active วิจัย มีอยู่เป็นจำนวนมาก  แต่เมื่อนับเฉพาะจำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ยิ่งนับเฉพาะตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติด้วยแล้ว สัดส่วนยังไม่ถึง 0.5 งานวิจัยหลาย ๆ เรื่อง ตีพิมพ์เฉพาะในวารสารในประเทศ  ถ้าได้มีการชี้แนะ หรือหาแนวทางที่เหมาะสมให้  วิจัยหลาย ๆ เรื่องสามารถส่งตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติได้

    ผลการหารือในวันนั้น เป็นอย่างไร ถ้าไม่เป็นความลับอย่าลืมนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ อยากทราบเหมือนกันว่าแนวทางของวิทยาศาสตร์สุขภาพ  กับ วิทยาศาสตร์กายภาพ จะสามารถนำไปปรับใช้ด้วยกันได้หรือไม่

    ขอบคุณค่ะ

  • ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นหัวหน้าภาคเป็นส่วนใหญ่ อาจจะเข้าใจ concept ของ KM และ sharing บ้าง แต่ปัญหาในวันนั้น คือ ไม่มีใครมีเวลาที่จะร่วม share
  • วันนั้น ยังหาอาสาสมัคร ที่เป็น คุณลิขิต ไม่ได้ ผมแก้ปัญหา โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยทำไปก่อน
  • ภาคที่เป็น best practice ในเรื่องการตีพิมพ์ในขณะนี้คือภาคสูติ-นรีเวช ซึ่งมีวิธีการหลายๆ อย่างที่น่าสนใจ ที่ภาคอื่นๆ น่าจะทำตามได้
  • ครั้งหน้าจะเป็นประเด็นการติดตามกระบวนการวิจัยของแต่ละภาคฯ ว่าภาคไหนเป็นอย่างไร มา ลปรร กัน ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท