ความประมาท มัวเมา ลุ่มหลง คือช่องทางของมาร(๑)


มารย่อมรังควาญผู้ที่ลุ่มหลงอยู่ในความสวยงามไม่ระมัดระวังตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคเกียจคร้าน เพียรพยายามแต่เรื่องไม่ดี (หีนะ=เลวทราม) เหมือนลมที่สามารถระรานต้นไม้เปราะบางผุพังง่ายได้ฉะนั้นในทางตรงกันข้ามมารไม่สามารถจะรังควาญผู้ที่ไม่ลุ่มหลงอยู่ในความสวยงามระมัดระวังตาหูจมูกลิ้นกายใจ รู้จักประมาณในการบริโภคมีศรัทธาที่ดี มีความเพียรพยายามแต่เรื่องไม่ดีอยู่เสมอ เหมือนลมที่ไม่สามารถระรานภูเขาศิลาได้ฉะนั้น

            ในความรู้ของคนโบราณ เราอาจได้ยินคำว่า มาร อยู่บ่อย ที่นี้มารที่ว่านี้คืออะไร พจนานุกรมพุทธศาสน์ฯของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) หน้า ๒๓๑ แสดงความหมายที่ ๑ ไว้ว่า มารคือสิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดี หรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ ๑) กิเลสมาร มารคือกิเลส ๒) ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ๓) อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม ๔) เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร ๕) มัจจุมาร มารคือความตาย สิ่งเหล่านี้เป็นอย่างไร

  

   หัวหน้ากิเลสมีอยู่ ๓ ตัวคือ โลภ โกรธ หลง ยิ่งสะสมยิ่งพอกพูน ยิ่งโลภยิ่งอยากได้ ยิ่งโกรธยิ่งอาฆาต ยิ่งหลงยิ่งเขลา นั่นย่อมหมายความว่า ยิ่งมีมากเท่าไรก็ยิ่งขัดขวางไม่ได้เราทำความดีมากเท่านั้น

  

   ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ หมายถึง รูปร่าง การรับรู้ การจำได้หมายรู้ อะไรบางอย่างที่ทำให้ความคิดแปรสภาพ และความรู้สึก ซึ่งมีธรรมชาติที่เป็นจริง ๓ ลักษณะคือ ไม่เที่ยงแท้ถาวร คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และไม่มีตัวตนที่แท้จริง โดยสรุปคือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ร่ำไป ความเปลี่ยนแปลงบ่อยนี้เองจะเป็นตัวขัดขวางไม่ให้ทำความดีเช่น เดี๋ยวปวดหัว เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเมื่อยตัว เดี๋ยวเจ็บ มันยากแท้ที่จะทำให้ใจสงบได้ ดังนั้นเบญจขันธ์ก็เป็นตัวการหนึ่งที่จะขัดขวางการทำดี

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมะหน้าเดียว
หมายเลขบันทึก: 72406เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2007 07:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท