การประเมินตามสภาพจริง (5)


การเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียน ในการประยุกต์ใช้ทักษะที่เรียนรู้มาให้เข้ากับชีวิตจริงและสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบท
บันทึกที่แล้ว   ครูอ้อยได้กล่าวถึง  ประโยชน์ของการประเมินตามสภาพจริง  มีอะไรบ้าง  ในบันทึกเรื่อง  การประเมินตามสภาพจริง (4)   และในวันนี้  จะเป็น  เรื่องเกี่ยวกับรูปแบบการประเมินตามสภาพจริง
กระบวนการในการประเมินผลตามสภาพจริงมีหลายรูปแบบ   โดยใช้เทคนิคการประเมินหลากหลายวิธีตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง  เพื่อตรวจสอบคุณภาพของงานของนักเรียน  การวัดและประเมินตามสภาพจริง โดยทั้วไปที่ครูอ้อยเคยพบนั้น  มี 5 รูปแบบใหญ่ๆด้วยกันคือ
1.  การประเมินความสามารถจริงในชั้นเรียน  (Ecological Assessment)  เป็นการประเมินในขณะที่นักเรียนปฏิบัติภาระงานในการเรียนรู้  ครูผู้สอนจะใช้การสังเกต  และ  การบันทึก  สิ่งที่เกิดขึ้น  ขณะที่มีกิจกรรมการเรียนการสอน  เป็นการผสมผสานระหว่างการสอน  และการประเมินให้เป็นเนื้อเดียวกัน  
2.  การประเมินความสามารถโดยอิงหลักสูตร (Curriculum-based Assessment)  การประเมินลักษณะนี้  ยังคงใช้แบบทดสอบ  เพียงแต่ลักษณะการใช้แตกต่างไปจากเดิม  มีการวิเคราะห์ผลการประเมินที่ละเอียดรอบคอบมากขึ้น  เช่น  การประเมินที่ใช้การวัดเชิงปริมาณ  และเชิงคุณภาพ (Non-Measurement)  โดยที่จะทำให้ครูผู้สอนตระหนักดีว่า  การเริ่มต้นสอบนักเรียน 2 คนนั้นแตกต่างกัน  มีการตีค่าการให้ความหมายของคะแนนที่แตกต่างกันไป  ไม่มองเฉพาะถูกหรือผิดเพียงอย่างเดียว
3.  การประเมินปฏิสัมพัทธ์ระหว่างส่วนต่างๆของหลักสูตร (Dynamic Assessment)  การวัดการบูรณาการ หรือ อภิปัญญา  (Meatacognition)  ทั้งหลาย  ทีมีลักษณะที่ไม่ยึดติดเนื้อหา  ต้องการประเมินการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ต้องการให้เกิดในสังคม  คำถามที่ใช้นั้น  เน้นคำถามที่เกี่ยวกับทักษะ  การทดลอง  การแก้ปัญหา  การใช้ความคิด  และการนำไปประยุกต์ที่ใช้มากกว่าการถามข้อเท็จจริง
4.  การประเมินจากภาระงาน หรือ โครงงาน (Task or Project Assessment)  ซึ่งจุดประสงค์ของการประเมิน  ไม่ต้องการเน้น  การประเมินความสมบูรณ์ของงาน  แต่ต้องการการประเมินความสามารถในการพัฒนางาน  เป็นการฝึกนักเรียนให้เกิดคุณลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์ในการทำงาน  รู้ว่าเมื่อทำงานผิดพลาด  ต้องมีความรับผิดชอบ  และสามารถหาทางแก้ไขได้  ถ้าไม่ได้  คนรอบข้างก็สามารถช่วยได้  เน้นการประเมินการวางแผน  หรือกระบวนการ หรือ กระบวนการในการหาแนวทางแก้ไขความผิดพลาด  หรือการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง  การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  การประเมินลักษณะนี้จะช่วยให้นักเรียนเกิดความตระหนักและใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียน  หรือตัวอย่างในการดำเนิชีวิต  เป็นการฝึกได้เกิดความรู้สึกพึงพอใจในผลงานของตนเอง และสามารถวางแผนพัฒนางานต่อไปได้
5.  การประเมินจากผลการเรียนรู้ (Outcome-based Assessment)  เป็นการประเมินความสามารถรวมสุดท้าย  เมื่อนักเรียนเกิดการเรียนรู้  เป็นการตรวจสอบเป้าหมายทางการศึกษา
ทั้งหมดที่กล่าวมา  เป็นรูปแบบของการประเมินผลตามสภาพจริง  หากทำได้ทั้ง 5 รูปแบบ  จะดีมาก  ถือว่า  ครบของการประเมินผล
ครูอ้อยยังใช้ไม่ครบทั้ง 3 รูปแบบ...แต่พยายามนำมาใช้ในเวลาอันใกล้นี้
หมายเลขบันทึก: 72396เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2007 02:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท