สาเหตุของโรคจิตเภท: ปัจจัยทางกรรมพันธ์


แม้เป็นฝาแฝดไข่ใบเดียวกันก็ไม่ได้มีโอกาสเกิดโรคนี้ด้วยกัน 100% แสดงว่ากรรมพันธ์มีส่วนอย่างมาก แต่ก็ไม่ใช่สาเหตุเพียงอย่างเดียว
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคจิตเภทมักเป็นปัจจัยด้านกรรมพันธ์หรือปัจจัยสิ่งแแวดล้อม อย่างไรก็ตามใครๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ๆ ได้ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีปัจจัยดังต่อไปนี้ก็ตาม

 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของโรคจิตเภท

· ปัจจัยทางกรรมพันธ์
· ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
· ปัจจัยด้านพยาธิสรีรวิทยา
· ความผิดปกติของโครงสร้างสมอง 

ปัจจัยทางกรรมพันธ์ 

การศึกษาส่วนใหญ่พบว่าปัจจัยทางกรรมพันธ์มีความสัมพันธ์กับสาเหตุของโรคจิตเภท    ผลจากการศึกษาโรคจิตเภทของคนในครอบครัว  บุตรบุญธรรม หรือฝาแฝด ระบุว่าญาติของผู้ป่วยโรคจิตเภทมีโอากสเกิดโรคนี้สูงกว่าประชากรทั่วๆ ไป

ในญาติสายตรง (พี่น้องหรือลูกของผู้ป่วย) พบว่ามีโอกาสป่วยสูงกว่าคนทั่วไป 10 เท่า  จากการศึกษาเปรียบเทียบกับบุตรบุญธรรม พบว่าบุตรจริงของผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเภท มีโอกาสเกิดโรคนี้สูงกว่าคนที่เป็นบุตรบุญธรรม

การศึกษาคู่แฝดมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนในผลของปัจจัยทางกรรมพันธ์ต่อการเกิดโรคจิตเภท แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการบ่งไปด้วยว่ากรรมพันธ์ไม่ใช่สาเหตุเดียวของการเกิดโรคจิตเภท  จากการศึกษาฝาแฝดไข่ใบเดียวกัน พบว่าในฝาแฝดร้อยคู่ที่มีคนใดคนหนึ่งป่วย จะพบ 40-50 คู่ที่อีกคนหนึ่งป่วยตามไปด้วย 

จากข้อเท็จจริงที่ว่าแม้เป็นฝาแฝดไข่ใบเดียวกันก็ไม่ได้มีโอกาสเกิดโรคนี้ด้วยกันร้อยเปอร์เซ็นต์   แสดงว่ากรรมพันธ์มีส่วนอย่างมาก  แต่ก็ไม่ใช่สาเหตุเดียว  ยังอาจมีปัจจัยเหตุอื่นอีก  โดยเฉพาะสิ่งที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก คือ ความบกพร่องในพัฒนาของสมองเด็กขณะอยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดใหม่ ๆ  มีการวิจัยหาความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อในครรภ์ และการกระทบของสมองหลังคลอดกับสาเหตุของโรคจิตเภท

โดยทั่วไปพอสรุปทฤษฎีเกี่ยวกับการติดเชื้อกับโรคจิตเภทได้ว่า การติดเชื้อในระหว่างตั้งครภ์จะทำให้เกิดโรคจิตเภทได้ในเด็กที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมอยู่ก่อนแล้ว   ข้อสนับสนุนมาจากข้อมูลที่ว่า เด็กในทางตะวันตกที่เกิดในระหว่างฤดูหนาว และตอนต้นของฤดูใบไม้ผลิมีโอกาสเกิดโรคนี้สูงกว่าฤดูอื่น  ซึ่งอาจมีการติดเชื้อไวรัสในระหว่างนั้น

การกระทบกระเทือนต่อสมองในระหว่างคลอด อาจเกิดจากการกระแทก หรือการขาดอ็อกซิเจนในระหว่างคลอด ปัจจัยทางชีวภาพเหล่านี้อาจเป็นเหตุให้โครงสร้างของสมองผิดปกติตามมา เช่น มีช่อง ventricle ในเนื้อสมองโต และทำให้เกิดอาการของโรคจิตเภทตามมา

 ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจิตเภทในเครือญาติ

ความสัมพันธ์

ความเสี่ยง (%)
ประชากรทั่วไป 

1

พี่น้องของผู้ป่วย

8

ลูกที่พ่อหรือแม่ป่วย

12

คู่แฝดของผู้ป่วย (ไข่คนละใบ)         

12

ลูกที่พ่อและแม่ป่วย

4

คู่แฝดของผู้ป่วย (ไข่ใบเดียวกัน)      

47

  
คำสำคัญ (Tags): #โรคจิตเภท
หมายเลขบันทึก: 72394เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2007 01:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขอบคุณค่ะอาจารย์จะติดตามงานเขียนของอาจารย์ต่อไปค่ะ ในต่างจังหวัดเรายังมีความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย ตามโรงพยาบาล จิตแพทย์ก็จ่ายแต่ยา ไม่มีนักจิตวิทยาที่จะคอยให้คำแนะนำเป็นการส่วนตัวเหมือนในกรุงเทพฯ ดิฉันเลยต้องหาความรู้จากในเว็บค่ะ

ถ้าอาจารย์สนใจที่ web ของภาควิชามีเนื้อหาเยอะเลยครับ น่าจะเป็นประโยชน์ ดูได้ที่ http://www.ramamental.com ครับ

ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ ดีจังที่คุณหมอมาเขียนบ่อยๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท