สรุปกิจกรรมช่วงบ่าย : “คุณกิจ” กับการออกแบบกระบวนการเรียนรู้


KM Workshop : W-5

หลังจากที่เราฟังครูอิ่มกล่าวถึงบรรยากาศของห้องเรียน ICT  ของโรงเรียนอนุราชประสิทธิไปแล้วในภาคเช้าไปแล้ว

กิจกรรมในช่วงบ่ายนี้ ครูอิ่มให้นักเรียนแสดงผลงานที่ทำขึ้นจากโปรแกรมสองโปรแกรม คือ

Microworlds Pro และ Kahootz



โปรแกรม Microworlds  มาจาก MIT  เป็นโปรแกรมหนึ่งที่เครือปูนฯ ไทย ได้นำมาใช้ในการทำงาน  เช่น การจำลองการลำเลียงวัตถุ  และเพราะเป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นมาก  โปรแกรมเดียวกันนี้ในโรงเรียนอนุราชประสิทธิให้เด็กใช้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยม 

 

โปรแกรม Kahootz เป็นโปรแกรมที่รัฐบาลออสเตรเลียร่วมกับเอกชนพัฒนาให้นักเรียนออสเตรเลียใช้  ซึ่งเอกชนนี้ได้กลายเป็นมูลนิธิแล้ว  ครูอิ่มติดต่อขอซ้ือมา  เป็นเครื่องมือช่วยให้นักเรียนเรียนเรื่องมิติสัมพันธ์มาก  ซึ่งนับเป็นโชคดีที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และให้ใช้โปรแกรมนี้มาสนับสนุนการเรียนรู้

 

โปรแกรม Microworlds   เป็นโปรแกรมที่เรียนรู้ได้ง่ายสำหรับเด็กเล็ก  ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อน  ตอบสนองจินตนาการของนักเรียนมัธยมได้ดีกว่า 

น่าแปลก…อย่างนี้ก็มีด้วย  ที่โปรแกรมหนึ่งจะมีความยืดหยุ่นมากขนาดที่ถูกใจเด็กในวัยต่างกันมากขนาดนี้ได้

ในขณะที่ Kahootz  ที่มีลักษณะเป็น ๓ มิติตอบสนองเด็กในช่วงชั้นที่ ๒ ได้ดีกว่า

เมื่อนักเรียนของครูอิ่มนำเสนอผลงานนั้น  นักเรียนได้อธิบายให้เห็นตัวอย่างการแก้ปัญหา  ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน  ซึ่งที่มาของปัญหานั้น ไม่ใช่มาจากใครที่ไหนแต่เป็นตัวนักเรียนเอง  ที่ มันเขี้ยว” ตั้งขึ้นมาท้าทายตัวเอง  นั่นย่อมหมายความว่า เขา “สนุก” กับการสร้างงานมากเกินกว่าการทำงานตามสั่ง  และยืนยันได้ว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ

เมื่อผู้ใหญ่ในห้องสัมมนาได้ตั้งคำถามว่า ระหว่างการเล่นเกม กับ การสร้างเกมเองนี้ แตกต่างกันอย่างไร  คำตอบที่ผ่านการเรียบเรียงคำพูดสักครู่ก็คือ

 

“ สิ่งที่ผมสร้าง ผมเป็นคนควบคุมได้  บังคับได้  แต่ถ้าเป็นการเล่นเกม  เราต้องทำตามกฎที่เกมตั้งให้เรา  การสร้างเอง  ถึงจะไม่ตื่นเต้น  แต่สนุกกว่า  

 

ผู้ใหญ่ในห้องได้ตั้งคำถามให้เด็กๆ ตอบอีกด้วย 

 

คำถาม  :  ก่อนรู้จักโปรแกรมเหล่านี้  และหลังจากการใช้โปรแกรมแล้ว  มีความแตกต่างกันอย่างไร  คุยกับเพื่อนน้อยลงไหม

คำตอบ : ได้ใช้จินตนาการ  และได้ทำ  ถ้าไม่มีโปรแกรมก็อาจมีจินตนาการได้แต่ไม่ได้ลองทำ  ไม่ได้อยู่กับเพื่อนน้อยลงถ้าเราอธิบายให้เพื่อนฟัง  อยู่บ้านก็คุยกับคุณพ่อคุณแม่เหมือนเดิม  และได้ช่วยงานที่คุณพ่อยังไม่รู้  (คุณช่วยคุณพ่อทำ Presentation) 

 

คำถาม  :  เคยไหมว่าไม่อยากเห็นมันอยู่เพียงในจอ  แต่อยากทำจริงๆ นอกจอ  เช่น  มีห้องที่มีอุปกรณ์จริงๆ ให้ลองทำ  จะใช้เวลาทำในจอหรือจะลองสร้างของจริงในห้องนั้นมากกว่ากัน

คำตอบ :  ห้องนั้นครับ

 

ที่เราได้เห็นกับตา  ฟังกับหู  จากการบอกเล่าของลูกศิษย์ทั้งสามคนของคุณครูอิ่มในวันนี้  ทำให้เราเห็นรูปธรรม  ในแววตาและน้ำเสียงว่า  ความสุขที่นักเรียนได้จากการใช้ความสามารถฟันฝ่าโจทย์ต่างๆ ได้  นั้นสนุก และอร่อยน่าหม่ำอยู่อย่างไม่รู้เบื่อ  ภาษาผู้ใหญ่เรียกว่า “ภาคภูมิใจ”  (น่าคิดว่าผู้ใหญ่ในห้องสัมมนานี้ต่างก็ใช้คำนี้สรุปคำบอกเล่าของนักเรียน  ในขณะที่นักเรียนไม่ได้เอ่ยขึ้นเองแม้แต่ครั้งเดียว  นอกจากเป็นการกล่าวตามเท่านั้น) 

 

กระบวนการเรียนรู้ที่นักเรียนสร้างขึ้นมาเองจาก  ความอยากทำสิ่งยากที่ตัวเองเป็นผู้กำหนดระดับความยากเอง  แล้วนำมาสู่   การคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยง  “สิ่งที่ทำได้เล็กๆ ” มาทำซ้ำ มาต่อยอดกับสิ่งที่คิดขึ้นมาใหม่  เมื่อผ่านการการลองผิดลองถูก  ก็เกิดเป็น “สิ่งที่ทำได้ขนาดใหญ่ขึ้น”  กลายเป็นวงจรการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ   ลองจินตนาการดูว่า “สิ่งที่ทำได้เล็กๆ”  จะขยายใหญ่ขนาดไหน  ถ้าเด็กนำวงจรที่ไม่รู้จบนี้ติดตัวไปตลอดชีวิตของเขา

 

สิ่งที่ครูอิ่มทำอยู่ในการจัดการเรียนการสอนก็คือ จัดพื้นที่และโอกาสให้นักเรียนเมื่อสร้างความรู้เองได้แล้วต้องนำเสนอออกมาได้ด้วย  ครูปาด รองผอ.จากโรงเรียนเพลินพัฒนาเสริมว่า  ความสำเร็จไม่ใช่อยู่แค่ในจอ  แต่เป็นแบบจำลองให้เราใช้ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ

 


<p class="MsoNormal">เนื่องจากเรามีเวลาจำกัด  และเพลิดเพลินไปกับการนำเสนอของเด็กๆ เวลาจึงหมดเสียก่อนที่โรงเรียนเพลินพัฒนาจะได้นำเสนอ ตัวอย่างกิจกรรม Active Learning ที่ตั้งใจเตรียมมาทำ Workshop ในวันนี้  ครูใหม่จึงขอขอบคุณที่ทุกคนได้เข้าร่วมจนหยดสุดท้ายสัญญาว่าจะนำเสนอในโอกาสต่อไป</p><p class="MsoNormal"> </p><p class="MsoNormal">ถอดเทปช่วงเช้า  ตอนที่    1   2   3   4   5      สรุปช่วงบ่าย </p>

หมายเลขบันทึก: 72382เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท