บันทึกครั้งที่ ๑๒ ข้อมูลที่ควรรู้เมื่อเกิดข้อพิพาท กรณีข้อมูลตัวอย่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น (มหาชน) จำกัด


การระงับข้อพิพาทของเอกชนในระดับระหว่างรัฐ จะใช้หลักกฎหมายมหาชนภายในของรัฐคู่กรณีในนิติสัมพันธ์ เว้นแต่จะมีการกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้จะมีการระบุไว้ในสัญญาระหว่างกันว่า เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น ต้องเลือกว่าจะใช้กฎหมายและศาลใด Choice of laws & Choice of courts

รูปแบบการระงับข้อพิพาทที่มีลักษณะระหว่างประเทศของเอกชน

 

ถ้าในระดับภายในรัฐ จะเป็นศาลภายในของรัฐ หรือโดยอนุญาโตตุลาการ ซึ่งไปสู่กระบวนการรับคดี ส่งหมาย สืบพยาน และบังคับคดี ตามลำดับ

 

ถ้าในระดับระหว่างรัฐ จะใช้หลักกฎหมายมหาชนภายในของรัฐคู่กรณีในนิติสัมพันธ์ เว้นแต่จะมีการกำหนดเป็นอย่างอื่น  ทั้งนี้จะมีการระบุไว้ในสัญญาระหว่างกันว่า เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น ต้องเลือกว่าจะใช้กฎหมายและศาลใด [Choice of laws  & Choice of courts]

 จุดที่ขอกล่าวถึงคือ เวลาที่เราจะดำเนินการนั้น จำเป็นต้องตรวจสอบก่อนว่า เรื่องพิพาทอยู่ในอำนาจหน้าที่และพื้นที่ของศาลใด เช่นจะฟ้องต่อศาลแพ่ง ก็ต้องเช็คเบื้องต้นข้อกฎหมาย มาตรา ๔  ทั้งข้อ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก่อน ดังนี้

มาตรา ๔ แห่ง ปวพ.

เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(๑) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่

(๒) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

มาตรา ๔ ทวิ แห่ง ปวพ.

คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือไม่หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

มาตรา ๔ ตรี แห่ง ปวพ.

คำฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ทวิ

ซึ่งจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร

ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร

ให้เสนอต่อศาลแพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้

จากนั้นดูว่าคดีข้อพิพาทเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือไม่

ถ้าไม่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ จะเข้าเงื่อนไขของมาตราใดใน 5 ข้อนี้ นั่นคือ

1.จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลไทย จะตรงกับ (๔(๑)/ปวพ)

2. มูลคดีเกิดในเขตศาลไทย จะตรงกับ (๔(๑)/ปวพ)

3. ทรัพย์สินที่อาจบังคับได้ ตั้งอยู่ในเขตศาลไทย จะตรงกับ (๔ ตรี ว.๒/ปวพ.)

4. โจทก์มีสัญชาติไทย จะตรงกับ (๔ ตรี ว.๑/ปวพ.)

5. โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลไทย จะตรงกับ (๔ ตรี ว.๑/ปวพ.)

ถ้าเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ จะเข้าเงื่อนไขได้ 2 ข้อ คือ ข้อ 2 หรือ ข้อ 3

สำหรับกรณีข้อมูลตัวอย่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น (มหาชน) จำกัด  มีรายละเอียด ดังนี้

สถานที่ตั้ง

            18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

ประวัติ

           บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (True Corporation Public Company Limited) เดิมชื่อบริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2533 (และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)เมื่อเดือนเมษายน 2547) ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการลงทุน จัดหา ติดตั้งและควบคุม ตลอดจนซ่อมบำรุงและรักษาอุปกรณ์ในระบบ สำหรับการบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายใต้สัญญาเป็นระยะเวลา 25 ปี นับจากนั้นมาทรูมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และสามารถตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ ตามความต้องการของลูกค้า

ทรูเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานรายใหญ่ที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 56 และเป็นผู้ให้บริการบรอดแบนด์หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงรายใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่าร้อยละ 85 รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตชั้นนำ สำหรับทีเอ ออเร้นจ์ ได้มีการเติบโอย่างรวดเร็ว และเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ เป็นอันดับที่สามของประเทศ

ในปัจจุบันกลุ่มบริษัทมีการประกอบธุรกิจในกลุ่มธุรกิจใหญ่ๆ ดังนี้
1. ธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐาน และบริการเสริม
2. ธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานใช้นอกสถานที่ (PCT) และบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (TA Orange)
3. ธุรกิจโครงข่ายข้อมูลดิจิตอล
4. ธุรกิจโครงข่ายมัลติมีเดียและ Broadband
5. ธุรกิจอินเทอร์เน็ต Content และ Application
6. ธุรกิจอื่นๆ เช่นบริการ ศูนย์บริการลูกค้า (Call Center) ครบวงจร

กลุ่มบริษัทหลักในเครือของทรู ประกอบด้วย
- บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด
- บริษัท เอเซีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
- บริษัท ทรู มัลติมีเดีย จำกัด
- บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด
- บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ยูบีซี)

บริษัทย่อย/ร่วมอื่นๆ ได้แก่
- บริษัท เทเลคอมโฮลดิ้ง จำกัด
- บริษัท ทรู พรอพเพอร์ตีส์ จำกัด(เดิมชื่อ บริษัท นิลุบล จำกัด)
- บริษัท เทเลเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด
- บริษัท ทรู ฟลีต แมเนจเม้นท์ จำกัด(เดิมชื่อ บริษัท ดับเบิ้ลยู เซเว่น เรนท์ทัล เซอร์วิสเซส จำกัด)
- บริษัท ใยแก้ว จำกัด
- บริษัท เทเลคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- บริษัท เค.ไอ.เอ็น. (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท เทเลคอมฝึกอบรมและพัฒนา จำกัด
- บริษัท เทเลคอมอีควิปเมนท์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
- บริษัท ไวร์เออ แอนด์ ไวร์เลส จำกัด
- บริษัท ยูเน็ต จำกัด
- บริษัท เอเชีย ดีบีเอส จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เอเซีย อินโฟเน็ท จำกัด
- บริษัท ส่องดาว จำกัด
- บริษัท เอเซีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท มัลติมีเดีย เน็ตเวิร์ค จำกัด)
- บริษัท ทรู มัลติมีเดีย จำกัด(เดิมชื่อ บริษัท เอเซีย มัลติมีเดีย จำกัด)
- บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด(เดิมชื่อ บริษัท ทีเอ อินเตอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด)
- บริษัท ทรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
- บริษัท ทีเพย์ จำกัด
- Nilubon Co.,Ltd. (จดทะเบียนที่ BVI)
- K.I.N. (Thailand) Co.,Ltd. (จดทะเบียนที่ BVI)
- บริษัท กรุงเทพอินเตอร์เทเลเทค จำกัด
- บริษัท เอ็นทียู (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด
- บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เอ็นอีซี คอมมิวนิเคชั่น ซิสเทมส์ จำกัด)
- บริษัท เอเซีย รีแมนูแฟคเชอริ่ง อินดัสทรี่ จำกัด
- บริษัท เอ็นซี ทรู จำกัด
- บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ รีเทล จำกัด

ทรัพย์สิน

             ณ วันที่ 11/01/06 บริษัทฯมีทุนจดทะเบียน 39,780.16 ล้านบาท ทุนที่เรียกชำระแล้ว 33,953.40 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรก ณ วันที่ 18/03/05
1. บริษัท ยูนีค เน็ตเวิร์ค จำกัด จำนวนหุ้นที่ถือ 280,000,000 คิดเป็นร้อยละ 8.25
2. บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด จำนวนหุ้นที่ถือ 261,356,200 คิดเป็นร้อยละ 7.70
3. บริษัท ซี.พี.อินเตอร์ฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด จำนวนหุ้นที่ถือ 221,298,462 คิดเป็นร้อยละ 6.52
4. บริษัท ไวด์ บรอด คาสท์ จำกัด จำนวนหุ้นที่ถือ 196,000,000 คิดเป็นร้อยละ 5.77
5. บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด จำนวนหุ้นที่ถือ 143,347,481 คิดเป็นร้อยละ 4.22

นโยบายการจ่ายเงินปันผล
         ร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิในแต่ละปี ภายหลังการจัดสรรเป็นสำรองต่างๆ และหากมีเงินสดคงเหลือ

แหล่งข้อมูลอ้างอิงคือ http://gotomanager.com/resources/?menu=resources,company&m=profile&n=1&ph=1&id=2987 

ขอสรุปเพิ่มเติมในเรื่องสัญชาติ ว่า จากรายงานสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2549 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549  ซึ่งแสดงรายชื่อผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุม และบุคคลที่เป็นประธานการประชุม นั้นแสดงว่า ยังเป็นคนไทยที่มาทำหน้าที่บริหารงานอยู่ จึงน่าเชื่อได้ว่าเป็นของคนไทย

ข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ จะมีที่ทำกับรัฐในเรื่องสัมปทาน  และกับบริษัทเอกชนที่ไปกู้เงินมา

หมายเลขบันทึก: 72381เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท