อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

เด็กไทยยังอ่านเขียนไม่ได้อีกมาก


สภาพจริงการอ่านเขียนในโรงเรียนถูกปิดบังความจริง

13  มกราคม  2550  เป็นวันเด็กแห่งชาติ  ทั้งรัฐและหน่วยงานเอกชน

ต่างให้ความสนใจ ให้ความสำคัญสำหรับเด็ก ได้จัดกิจกรรมให้กับเด็ก

นับเป็นความโชคดีของเด็กที่ยังมีผู้ใหญ่ให้ความสนใจ  แต่เชื่อหรือไม่

ว่ายังมีเด็กไทยจำนวนมากที่ไม่มีความสุข  เพราะสภาพอ่านไม่ออก

และเขียนไม่ได้  ทั้งๆ ที่ความคาดหวังที่มีต่อนักเรียนชั้นประถม

ศึกษาปีที่ 1 ควรอ่านเขียนเรียนรู้คำศัพท์ได้อย่างน้อย  450  คำ

แต่สภาพความเป็นจริง  เด็กยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้  โดยเฉพาะ

นักเรียนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง

ปัญหาดังกล่าวนี้ ผู้บริหารระดับกระทรวงศึกษาธิการทั้งในอดีตและ

ปัจจุบันต่างก็ทราบดี  และพยายามที่จะกำหนดนโยบายพัฒนาการ

เรียนการสอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  แต่ดูเหมือนการแก้ไขปัญหา

ยังไม่สัมฤทธิผล  ปัญหาหนึ่งที่อาจจะมองข้ามแต่ส่งผลต่อการปฏิบัติ

คือการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยให้บุคลากรในโรงเรียนมีโอกาส

จัดทำหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและความต้องการ แต่

ในความเป็นจริง ครูเป็นผ้ใช้หลักสูตรมากกว่าผู้สร้าง  โดยเฉพาะวิชา

ภาษาไทย  ซึ่งมิใช่ว่าใครๆ ก็สอนได้  และการสอนภาษาไทยในอดีต

ที่ผ่านมา กรมวิชาการเป็นผู้จัดทำหลักสูตร แนวการสอนและกำหนด

หนังสือเรียนภาษาไทยมาจากส่วนกลาง  ปัจจุบันเปิดกว้างให้โรงเรียน

จัดทำหลักสูตร จัดทำหน่วยการเรียนรู้และแผนการเรียนรู้เอง ครูซึ่งไม่

สันทัดในการสอนภาษาไทย ไม่เจนจัดต่อการสร้างหลักสูตร   จึงไม่

ทราบหลักการสอน บางแห่งเริ่มบูรณาการกับวิชาอื่นเช่นวิชาภาษา

อังกฤษตั้งแต่คาบแรกที่ปฐมนิเทศ  ความสับสนเกิดกับเด็กเพราะครู

สอนไม่เป็นมีมาก  ผู้มีส่วนรับผิดชอบควรยอมรับความเป็นจริงและ

หาแนวทางแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จะดีกว่าพยายาม

ปกปิดความจริง  และสนใจในเรื่องอื่นมากกว่าการอ่านการเขียนของ

เด็ก เพราะการที่เด็กมาเรียนทุกวันแต่อ่านหนังสือไม่ออกหรือเขียน

ไม่ได้  มันเป็นความทุกข์  เป็นตราบาปติดตามเด็กไปตลอดชีวิต

วันเด็กแห่งชาติปีนี้  นอกจากจัดกิจกรรมให้เด็กได้รับความสนุกสนาน

มอบของขวัญให้กับเด็กมากมายแล้ว  ขอของขวัญสักชิ้นหนึ่งได้ไหม

ขอช่วยให้หนูอ่านออก เขียนได้   จะเป็นของขวัญที่มีค่าที่สุดในชีวิต

ของหนู

หมายเลขบันทึก: 72357เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นารีรัตน์ สร้างสรรค์

สวัสดีค่ะอาจารย์

เรื่องเกี่ยวกับการอ่านเขียนภาษาไทยเราหนูเห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะเพราะบางครังหนูก็ยังเขียนปิดพูดง่าๆก็คือสะกดคำได้ไม่ถูกต้อง แล้วอีกอย่างนะคะที่อยากเล่าให้อาจารย์ฟังแถวบ้านหนูเป็นหมู่บ้านเล็กๆมีครูเพียงคนเดี่ยวนักเรียนก็มีหลายชั้นทำให้บางที่การเรียนในแต่ละวิชาไม่เท่าเทียมกันทางบ้านหนูส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ภาษาท้องถิ่นในการสื่อสาร คนรุ่นตา ยาย ก็ฟังภาษาไทยไม่รู้เรื่องเด็กๆในหมู่บ้านได้ใช้ภาษาไทยก็เฉพาะในโรงเรียน หรือนอกหมู่บ้านเป็นบางครั้งเพราะหมู่บ้านก็อยู่ห่างจากตัวเมืองพอสมควรหนูว่าถ้ามีการส่งเสริมการเรียนการสอนในด้านการอ่าน เขียน พูด ในหลักสูตรเป็นพิเศษก็คงจะดีนะคะ

จิรนันท์ อุเต็น 50121917

สวัสดีคะ

หนูเห็นด้วยที่ตอนนี้เด็กๆๆส่วนใหญ่ก็ยังอ่านเขียนไม่ได้เพราะไม่ค่อยสนใจการศึกษาเท่าไหร่ เราควรรณรงค์ให้เด็กหันมาสนใจการศึกษาให้มากขึ้นเพื่อที่ในอนาคตจะได้นำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาบ้านเมืองให้ดีกว่านี้คะ

ตอบนารีรัตน์และจิรนันท์  ศิษย์รัก

ถ้าผู้มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการศึกษาของบ้านเมือง

ยอมรับความจริง ว่าเด็กไทย คนไทยยังอ่านเขียนไม่ได้อีกมาก

จะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหานี้  แต่นี้ ดูเหมือนทำตัวคุ้นชินกะ

ปัญหา  มากกว่า  ขอบใจจ๊ะที่แวะมาแจม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท