การหาค่าอ้างอิงของการตรวจ PT / APTT ในโรงพยาบาลขอนแก่น


จินดามณี แสนบุญศิริ, ดารี่ พลนามอินทร์ , ศิรินทร มาเห็ม
กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลขอนแก่น

-  การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ มีการกำหนดค่าอ้างอิง ( reference value) หรือในบางแห่งอาจเรียกว่า ค่าปกติ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการประเมินผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่เป็นค่าที่ระบุอ้างอิงมาจากต่างประเทศ ซึ่งในทางปฏิบัติที่เหมาะสมควรมีการทดสอบหาค่าอ้างอิงในแต่ละพื้นที่ก่อน ทั้งนี้เพราะในรายการตรวจบางประเภท มีความแตกต่างกันด้านเชื้อชาติ  สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่อาหารที่รับประทานเข้าไป หรือเครื่องมือที่ทำการทดลองก็อาจมีผลกระทบต่อค่าการตรวจวิเคราะห์

วัตถุประสงค์
-เพื่อหาค่าอ้างอิงของรายการตรวจวิเคราะห์เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด คือ PT และ APTT

วิธีการศึกษา
- ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ที่บริจาคโลหิตประจำและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี ที่มาบริจาคโลหิตในช่วงเดือนตุลาคม 2547 ที่คลังเลือด โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 40 ราย ทำการเจาะเลือดเก็บประมาณ 5 มล. ตัวอย่างที่นำมาตรวจวิเคราะห์ คือ 3.2% Sodium citrate blood เครื่องมือที่ตรวจวิเคราะห์ คือ เครื่องตรวจอัตโนมัติ Sysmex รุ่น CA-510 S/N A 1036 09/2000 ที่ผ่านการตรวจสอบระบบของเครื่องก่อนใช้อย่างสม่ำเสมอและทดสอบค่าของสารมาตรฐาน 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา
- ค่าอ้างอิงของ PT คือ 10.3 – 13.9 วินาที ( ที่ระบุไว้ 10-14 วินาที  ) ส่วน ค่าอ้างอิง ของ APTT คือ 22.2 -32.8 วินาที (ที่ระบุไว้ 25-35 นาที)

สรุป
- ค่าอ้างอิงนี้ได้นำมาใช้ในการประเมินผู้ป่วยที่ส่งตรวจ PT/APTT ในโรงพยาบาลขอนแก่นและมีการทดสอบติดตามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ทั้งนี้เพื่อช่วยประเมินผลการตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการให้มีคุณภาพ เกิดประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย
.

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร


หมายเลขบันทึก: 72314เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท