งานวิจัยหลังจบปริญญา การทำตามหัวใจเรียกร้อง


การแสวงหาแนวทาง เมื่อต้องมาร่วมทำวิจัยร่วมกัน
การทำงานวิจัย สำหรับหลายท่านเป็นสิ่งที่ต้องทำประจำอยู่แล้ว ทั้งงานวิจัยที่ต้องทำตามหน้าที่
งานวิจัยที่ได้รับทุน ได้รับมอบหมายมา

แต่สำหรับบุคคลที่ไม่ได้ทำงานวิจัยมาก่อน ไม่ค่อยได้ทำวิจัยมากนัก
 มีโอกาสได้มาทำงานวิจัย ในช่วงที่มาเรียนต่อปริญญานี่เอง
ได้เริ่มต้นเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานการทำวิจัย   การวางแผนการทดลอง ไปจนถึงการวิเคราะห์สถิติต่างๆ
....เมื่อเรียน course work จบ ก็จะต้องทำงานวิจัย ในรูปแบบวิทยานิพนธ์ หรือการศึกษาอิสระ ตามรูปแบบที่ลงทะเบียนเรียน

เมื่อทำงานวิจัยในส่วนนั้นเสร็จ เรียนจบ สำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาบัตรเรียบร้อยแล้ว
หลายท่านไม่มีโอกาสได้ทำงานวิจัยอีกเลย
เพราะงานประจำที่ทำอยู่ ไม่มีโอกาสได้ทำงานวิจัยด้วยตัวเองมากนัก

ในช่วงที่ทำงานวิจัยในช่วงที่เรียน ต้องวางแผนการทดลอง ซึ่งมีขอบเขตที่ชัดเจน ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด บางท่านอยากทำงานวิจัย สนใจในประเด็นที่หลากหลาย แต่ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาว่า สิ่งที่คิดนั้น กว้างเกินไป ต้องใช้เวลามากกว่านั้น แต่ที่มาเรียนหลักสูตรนี้ มีระยะเวลาศึกษาอีกไม่กี่ภาคเรียนเท่านั้น

ถ้าอยากจะทำวิจัยตามที่หัวใจเรียกร้องคงต้องทำวิจัยเองหลังจากนี้....

คนที่เรียนจบแล้ว หลายท่าน อยากจะทำงานวิจัยตามหัวใจเรียกร้อง
..แต่ไม่มีโอกาสได้ทำเลย ทำได้แค่คิด...

นิสิต ส.ม.1 มมส กลุ่มหนึ่ง มีความต้องการทำวิจัยตามหัวใจเรียกร้อง และพูดความใฝ่ฝันขึ้นมา

.... อยากทำงานวิจัยร่วมกันในกลุ่มเพื่อน มีชื่อของทุกคนในผลงานนี้ เสร็จแล้ว เอาผลงานไปนำเสนอในเวทีอื่นๆ หรือเผยแพร่ต่อไป ช่วยออกแบบความฝันนี้ให้ที......


แต่ละคนในกลุ่มเพื่อนนี้ อยู่คนละจังหวัด ยังคงติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ และพร้อมที่จะมาพบเจอกันอยู่
..งานวิจัย วิทยานิพนธ์ แต่ละคน สนใจทำคนละหัวข้อ....
เมื่อต้องมาร่วมทำวิจัยตามหัวใจเรียกร้อง ควรจะออกแบบแนวทางอย่างไรดี.....
เพราะต่างคน ต่างมีความฝัน มีประเด็นที่จะทำวิจัยตามแนวทางของตนเอง

ความฝันนั้น  ทุกคนฝันได้ แต่การทำให้ความฝันนั้นเป็นจริง   เส้นทางเดินตามความฝันนั้น มิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

หยิบแนวทางการออกแบบ งานวิจัยหลังจบปริญญา การทำตามหัวใจเรียกร้อง

เป้าหมายที่ต้องการนำไปเผยแพร่  -  เวทีประชุมวิชาการประจำปีของกระทรวงสาธารณสุข หรือเวทีอื่นๆ
สมาชิกที่ต้องการทำงานวิจัยตามหัวใจเรียกร้อง  - 4 คน หรือ มากกว่า (ถ้าพรรคพวกคนอื่นๆ รู้ข่าว ก็คงอยากจะขอร่วมด้วย)  รูปแบบจึงต้องออกแบบให้ทำกันเป็นทีม

การดำเนินงานขั้นเริ่มต้น
1. เลือกหัวข้อวิจัยที่อยากจะทำ ติดต่อแลกเปลี่ยน ตกลงกัน วางกรอบแนวคิด ซึ่งอาจจะเลือกไว้ 2-3 หัวข้อ หรือมากกว่า เพราะแต่ละคนมีความสนใจที่ต่างกัน

2. พิจารณาถึงข้อมูลที่แต่ละคนมีอยู่ ต่อการทำงานวิจัยร่วมกันในหัวข้อเดียวกัน เนื่องจาก
- ทุกคนต้องการมีส่วนร่วมในงานนี้ ต้อง
- ทุกคนต้องการนำข้อมูลในพื้นที่ของตน มาใช้ประโยชน์
- ทุกคนต้องการพัฒนาศักยภาพ ฝึกทักษะ และเรียนรู้จากการทำวิจัยร่วมกัน

3. ติดต่อประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูล กำหนดตารางเวลา และวางตัวผู้ประสานงารนระหว่างเพื่อน

4. ลงมือทำการวิจัยในรูปแบบที่แต่ละคนสามารถทำได้

5. ในระหว่างที่ลงมือทำ
- เมื่อพบกับปัญหา อุปสรรคต่างๆ ต้องตัดสินใจจะแก้ปัญหาอย่างไร จะลุยต่อ , หยุด-ทบทวน หรือ ยุติ เพราะงานนี้ เป็นการทำตามที่อยากจะทำ
- ไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยกำกับดูแล ไม่มีกรอบระยะเวลาตามกำหนดเวลาการศึกษาตามหลักสูตร เหมือนช่วงที่เรียน


นี่คือ แนวคิดความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพ และการเรียนรู้ของตนเอง หลังจากที่ได้รับความรู้ ทักษะต่างๆมากลายจากการทำงานวิจัยในช่วงเรียนปริญญา กลุ่มเพื่อนๆ ยังคงอยากที่จะพัฒนาความรู้ ประสบการณ์ต่างๆให้เพิ่มมากขึ้นต่อไป ถึงแม้ว่า จะไม่ได้เรียนต่อในระดับปริญญาเหมือนช่วงเวลาที่ผ่านมาอีก

... ไม่มีใครรู้ว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน แต่แนวความคิดที่นำมาบันทึกไว้นี้ น่าจะเป็นประโยชน์ จุดประกายให้กับผู้ที่มีความคิดเช่นนี้ ขับเคลื่อนความฝัน และลงมือพัฒนาศักยภาพของตนเองต่อไป



หมายเลขบันทึก: 72313เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท