การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล


           นายสันติ อุทัยพันธ์ ผู้อำนวยการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.)    กล่าววัตถุประสงค์ในการออกกฎหมายให้กองทุนหมู่บ้านให้เป็นนิติบุคคล เพราะ สทบ. ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกเรียนรู้ ลองผิด ลองถูก โดยที่ไม่มีกฎหมายมาเป็นตัวบังคับ มาจนครบ 5 ปี          และเบื้องต้นขณะนี้สมาชิกกองทุนสามารถพึ่งพาและบริหารงานด้วยตนเองได้แล้ว การแปลงเป็นนิติบุคคลจึงไม่น่าจะทำให้เกิดปัญหา แต่จะช่วยให้กองทุนมีสภาพคล่องในการทำงานมากขึ้น          นายสันติกล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้าน พ.ศ.2547 ได้ระบุไว้ชัดเจนถึงคุณสมบัติของกองทุนหมู่บ้านที่สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ เช่นจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน           มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส รวมทั้งต้องมีเงินหมุนเวียนภายในกองทุนสม่ำเสมอหากเงินขาดบัญชีหรือมีหนี้ค้างชำระมากกว่า 15% ในหนึ่งรอบบัญชีจะไม่สามารถจดทะเบียนได้          ที่มองกันว่าการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลคือ การผลักภาระหนี้จากการดำเนินงานในช่วงแรกให้กับคณะกรรมการชุดใหม่ และสมาชิกก็ถือว่าถูกต้อง แต่เป็นเพียงส่วนเดียว เนื่องจากหนี้ที่เกิดขึ้นเป็นหนี้ของประชาชนที่เป็นสมาชิกกองทุน และคณะกรรมการ ก็กลั่นกรองแล้ว    และจะให้เป็นภาระของคณะกรรมการอย่างเดียวคงจะไม่ได้ คงจะต้องเป็นหนี้ของทุกคน     นายสันติกล่าว พร้อมช่วยถ้าเกิดฟ้องร้อง          นายสันติกล่าวว่า กองทุนหมู่บ้านที่ปรับเป็นนิติบุคคล ทางกฎหมายถือว่าจะถูกตัดขาด นิติสัมพันธ์การช่วยเหลือจากรัฐ แต่ภาครัฐก็ยังพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือกรณีที่เกิดคดีฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ระหว่างสมาชิกองทุนกับธนาคารต่างๆ ผ่าตัวแทน กทบ. จังหวัด และ สทบ.        ในกรุงเทพมหานครได้ตลอดเวลา          นายสันติกล่าวว่า ปัจจุบันมียอดการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านจำนวน 78,000 หมู่บ้านเป็นนิติบุคคลแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ยังไม่รับรู้ข้อมูลว่าจะมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีมากกว่า 10% ส่วนใหญ่อยู่ใน 3 จังหวัดชานแดนภาคใต้ และชาวเขา 2. กลุ่มที่อยู่ระหว่างรอปิดงบประมาณปี 2549 และเตรียมเอกสารยื่นขอเป็นนิติบุคคล มีมากกว่า 60% 3. กลุ่มที่ผ่านการตรวจสอบเอกสารและรอจดทะเบียนเป็นนิติบุคลมี 10% และ 4. กลุ่มที่ได้รับหนังสือจดทะเบียน เป็นนิติบุคคลแล้วมีประมาณ 10% ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่            ส่วนการนำเงินที่ยังไม่ได้จัดสรรไปลงทุนซื้อพันธบัตร และได้ผลตอบแทนไม่ต้อง       นำส่งรัฐนั้น นายสันติกล่าวว่า ถือเป็นสิทธิและอำนาจตามกฎหมาย และรัฐไม่เรียกผลตอบแทนคืน เพราะต้องการให้กองทุนมีต้นทุนทำงานต่ำ ยืนได้ด้วยตนเอง ปล่อยกู้ช่วยเหลือสมาชิกให้สามารถกู้เงินดอกเบี้ยต่ำได้ และมั่นใจว่าจะไม่มีการนำเงินส่วนต่างผลตอบแทนที่ได้ไปใช้ส่วนตัว          ทั้งนี้ จากการตรวจสอบมูลค่าผลตอบแทนจากการที่กองทุนหมู่บ้านนำเงินไปฝากกับธนาคารพาณิชย์หรือซื้อพันธบัตรของธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. เมื่อเดือนกรกฎาคม 2549    มีมูลค่ารวม 26,000 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนจากกองทุนละ 6 หมื่นบาทต่อปี         
คำสำคัญ (Tags): #กองทุนหมู่บ้าน
หมายเลขบันทึก: 72270เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท