การประเมินตามสภาพจริง (4)


การเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียน ในการประยุกต์ใช้ทักษะที่เรียนรู้มาให้เข้ากับชีวิตจริงและสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบท
บันทึกที่ผ่านมา  ครูอ้อยได้เขียนเกี่ยวกับ  แนวคิดที่ครูผู้สอนควรคำนึงถึง  ควรศึกษา  และควรทำความเข้าใจให้กระจ่างชัดเจน  ก่อนนำไปใช้ในการประเมินในชั้นเรียนของตน  และลักษณะสำคัญของการประเมินตามสภาพจริง  ซึ่งท่านผู้สนใจอ่านได้โดยละเอียดในบันทึกเรื่อง   การประเมินตามสภาพจริง (3)
พอมาถึงบันทึกนี้  ครูอ้อยจะกล่าวถึง  ประโยชน์ของการประเมินตามสภาพจริง  มีอะไรบ้าง
1.  การเรียนการสอนและการวัดผลตามสภาพจริง  จะเอื้อให้นักเรียนสามาถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล    เพราะการประเมินแบบนี้  มีลักษณะสำคัญอยู่ที่  การเน้นให้นักเรียนได้แสดงออก  สร้างสรรค์  ผลิตงาน หรือ ทำงาน  โดยดึงเอาทักษะการคิดชั้นสูง  การคิดซับซ้อน  และทักษะการแก้ปัญหาออกมาจากตัวนักเรียน  กระตุ้นให้เกิดการประยุกต์สู่โลกของความเป็นจริง  ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น  ก็เป็นผลมาจากการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความจริงในชีวิตประจำวัน
2.  การประเมินผลตามสภาพจริง  จะเอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มากกว่าการเรียนการสอนที่เกิดจากผู้สอนเป็นผู้บอกความรู้  นักเรียนจะเรียนรู้จากการกระทำ  หรือการปฏิบัติด้วยตนเองมากขึ้น  มีความสนใจในบทเรียนมากขึ้น  โดยผู้สอน  จะมีบทบาทเป็นเพียงผู้ชี้แนะ  การบ่งชี้ถึงความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน  ก็จะมิใช่เป็นเพียงทำข้อสอบได้คะแนนสูงเท่านั้น  แต่จะแสดงให้เห็นว่า  นักเรียนทำอะไร  ได้  มากกว่า  จะบอกให้รู้ว่า  นักเรียนรู้อะไร
3.  การประเมินผลตามสภาพจริง  จะเอื้อต่อการเตรียมนักเรียนให้มีทักษะการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข  สังคมมนุษย์ในปัจจุบันนี้และอนาคต  จะเป็นสังคมที่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่  เป็นสังคมโลก  เนื่องจากความเจริญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  คนในสังคมจะมีการแข่งขันกันมากขึ้น  วิถีชีวิตของคนในสังคมจะมีความซับซ้อนมากขึ้น  การจัดการศึกษาแบบให้นักเรียนได้เรียนรู้แยกเป็นส่วนๆ  จากการทำแบบฝึกหัด  จากสมุดแบบฝึกหัด  หรือใบงานแล้วตอบคำถาม  ไม่น่าจะพอเพียงสำหรับการเตรียมนักเรียนให้ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข  ดังนั้น  การให้นักเรียนได้สร้างงาน  เพื่อแสดงให้หเนถึงความสามารถในการพัฒนาการเรียนรู้  และการบูรณาการวิชาต่างๆ  เข้าด้วยกัน  เป็นโครงงานตามภาระงาน  จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการให้การศึกษาแก่เยาวชนของชาติในปัจจุบัน  ซึ่งผู้สอนจะต้องแสดงความรับผิดชอบ  (Accountability)  ต่อสังคม  ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนและการประเมินผล  ให้ความสามารถตอบสนองความต้องการของสังคม  เนื่องจากผลงานของนักเรียนมราปรากฏ  จะเป็นหลักฐานที่สำคัญที่แสดงถึง  ความรับผิดชอบของผู้สอนด้วย
4.  การประเมินตามสภาพจริง  จะช่วยให้นักเรียนมีความสุขในการเรียน  โดยทั่วไป  ผู้สอนมักจะมองภาพการสอน  การเรียนรู้ของนักเรียนและการประเมินผล  เป็นงานที่แยกออกจากกัน  โดยผู้สอนให้ความรู้ข้อมูลต่างๆ  พอเห็นว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว  จึงทำการประเมินผล  ซึ่งเป็นวิธีที่เรียกกันว่า  การสอบ  ทำให้นักเรียนเกิดความวิตกกังวล  ไม่มีความสุขในการเรียน  เพราะการสอบ  จะเป็นการเน้นการจับผิด  หาจุดด้อยของนักเรียน  ในขณะที่เจตนาที่แท้จริงของการประเมินผล  คือ  ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของผู้สอน  เป็นการค้นหาจุดดีของนักเรียน  เพื่อเสริมสร้างนักเรียนให้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ  ดังนั้น  การประเมินผลการเรียนรู้และการสอน  จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  และเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน  การสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีการต่างๆ  เมื่อนักเรียนไม่ผ่านจุดแระสงค์ย่อยๆ  ซึ่งเคยเป็นภาระแก่ผู้สอนจะหมดไป  ก็ผู้สอนจัดการเรียนการสอน  และการประเมินผลตามสภาพจริง  เพราะจะมีรายงาน หรือ หลักฐานการปฏิบัติงานของนักเรียนขณะที่เรียน  และมีการพัฒนาแก้ไขข้อบกพร่องมาโดยตลอด  รวมทั้งมีการบันทึกการปฏิบัติงาน  การรายงานการแสดงความคิดเห็นต่างๆ  ของนักเรียนแต่ละคน  ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มที่  รวมทั้งมีข้อมูลยืนยันความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน  เพื่อแสดงให้เห็นว่า  นักเรียนสามารถทำอะไรได้มากกว่าจะบอกว่า  เขารู้อะไร  แค่ไหน
ประโยชน์..ของการเรียนการสอน...และประเมินผลตามสภาพจริง..ขอจบแต่เพียงเท่านี้นะคะ
หากผู้สนใจอ่านเรื่องนี้อีก  ครูอ้อยจะนำเสนอ  ในเรื่อง  รูปแบบการประเมินตามสภาพจริง...ในอันดับต่อไปค่ะ  ขอบคุณสำหรับการติดตามค่ะ
หมายเลขบันทึก: 72207เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 01:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
แวะมาทักทายและเรียนรู้ ขอบพระคุณครูอ้อยมากครับ

สวัสดีค่ะคุณ สิงห์ป่าสัก

ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทายครูอ้อย ดีใจมากค่ะ

ที่สำคัญ...ในการประเมินวิทยฐานะ  ในตัวบ่งชี้นั้น  ได้มีเรื่อง  การประเมินตามสภาพจริงด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท