ตามไปดู KM บุรีรัมย์ที่ฐานการเรียนรู้บ้านส้มกบ


การสร้างนวัตกรรมต้องอาศัยความรู้ กิจกรรมที่สร้างความมั่งคั่งจากความรู้นั้น ยิ่งดำเนินการ ตัวปัจจัยหลัก คือนวัตกรรม และความรู้จะยิ่งงอกงาม อยู่ในสภาพที่ยิ่งใช้ยิ่งงอกงามมากขึ้น มากขึ้น...

ตอน : ความรู้มาคู่กับช้างสาร

          เก็บตกจากการประชุมที่ฐานการเรียนรู้ของน้องกิ่ง พ่อกว้าง  สุวรรณทา เดิมเป็นหัวหน้าฐานการเรียนรู้บ้านหายโศก
2 เล่าว่า การได้เข้ากลุ่มทำโครงการการจัดการความรู้กับครูบาสุทธินันท์ ถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์จริง ๆ ตนมีความโชคดีอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสอันนี้ เพราะกระบวนการของ KM เน้นที่การลงมือปฏิบัติ ให้ความสำคัญกับความรู้กระแสตรง ที่เกิดจาก ความคิดแล้วลงมือปฏิบัติตามที่คิดได้ผลเป็นเช่นไรนำมาวิเคราะห์และปรับปรุง นำกลับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แล้วพอใจในผลที่ทำหรือไม่ อย่างไร ถ้าพอใจก็สามารถประยุกต์ใช้ความรู้นั้น ๆ ได้แล้วได้อีก แต่ถ้าไม่พอใจ เราจะปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติจนเกิดความรู้ใหม่จนได้ และสุดท้ายเราก็จะสามารถพัฒนาต่อยอดความรู้นั้นไปจนได้ แต่กว่าจะได้ยืนอยู่ ณ จุดที่เล่าบอกได้ ผมก็กินอาหารทิพย์เข้าไปมากนะครับ           

          
อาหารทิพย์มี
2 อย่าง อย่างแรกคือ อากาศ จะต้องเป็นอากาศบริสุทธิ์จึงจะทำให้เกิดพลังจากทุกส่วนได้ อย่างที่สอง คือ จินตนาการ  พ่อกว้างให้ความหมายแบบหมัดตรงว่าจินตนาการคือความคิด คิดอย่างมีความสุข แต่ไม่ใช่เป็นการสร้างวิมานในอากาศ เพราะถ้าเราทำอะไรให้เต็มที่ ทำสุดขีดแล้ว จะทำให้ลืมทุกอย่างยกเว้นเรื่องที่ทำอยู่เท่านั้น  เราจะจดจ่ออยู่กับเรื่องนั้น ๆ  แล้วเราจะมุ่งหน้าทำเรื่องนั้น ๆ   ได้สำเร็จ และเป็นตัวที่จะช่วยให้คนเราทำอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญ ขนาดไหนก็ตาม         

          
พ่อกว้างมีความสุขกับงานทำนาเพื่อคัดพันธุ์ข้าว เพื่อให้ได้เมล็ดมากที่สุด และสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งเป็นการต่อยอดความรู้จากจังหวัดสุพรรณบุรี มาประยุกต์ใช้ในบริบทของอีสาน ที่มีทั้งความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง อากาศเปลี่ยน และคาดเดาภูมิอากาศไม่ได้เลย  แต่พ่อกว้างก็พอใจอย่างมากที่สามารถคัดพันธุ์ข้าวได้ด้วยวิธีที่ประยุกต์มาใช้ ด้วยการปลูกข้าวลงกระถางเพื่อนำข้าวสายพันธุ์ดีไปผสมกับข้าวในทุ่งนา ด้วยการอาศัยเวลา และแสงแดด กำหนดช่วงเวลาของวันทำการผสมพันธุ์ข้าว ข้าว
1 เมล็ดแตกกอได้ 50 ต้นขึ้นไป และ 1 รวงผลิตเมล็ดข้าวได้ 300 เมล็ดขึ้น          

           
ช่วงช้างสารเข้า ผมคิดว่าไม่ได้ข้าวไว้ทำพันธุ์แน่ ๆ เลย ผมใช้วิธีปล่อยน้ำออกจากแปลงนา ทำได้บางแปลงเท่านั้น บางแปลงก็ไม่สามารถปล่อยออกได้ เพราะนาลึก แต่ใช้วิธีการตามที่คิดไว้ว่าไม่ควรให้น้ำท่วมถึงคอรวงข้าว เพราะรวงข้าวจะเน่า แต่มีบางต้นที่น้ำท่วมหมดข้าวจะทิ้งราก ลอยคอขึ้นมาโดยที่ลำต้นไม่ได้อยู่ในดิน หลายวันเข้าจะมีรากออกตามปล้อง  ถ้าน้ำใสข้าวที่น้ำท่วมถึงปลายยอดก็จะมีอายุอยู่ได้ 7 วันโดยที่ไม่เน่าไม่ตาย แต่ถ้าน้ำขุ่น มีตะกอนพัดมาทับถมต้นข้าว 3 วันต้นข้าวก็จะเน่าแล้วแก้ไขไม่ได้ ดังนั้นควรหาทางปล่อยน้ำออกไปให้เร็ว         

            
ผมสังเกตุเห็นว่าผ่านไป 1 คืน ข้าวก็ปรับตัวหนีตายเช่นกัน เพราะมันยืดสูงขึ้นอีก 1 ปล้อง และเป็นปล้องที่ยาวกว่าปล้องอื่น ๆ  หากน้ำขัง 7 วัน ข้าวก็ขยายปล้องเพิ่มไปอีก 7 ปล้อง แต่หากเกิน 7 วัน ถ้าท่วมไม่ถึงคอรวง ข้าวก็มีสิทธิรอดตาย แต่ถ้าไม่ก็ยากที่จะแก้ไขเช่นกัน   พ่อบอกทิ้งท้ายไว้ว่าจะทำการทดลองคัดพันธุ์ต่อไปอีกเพื่อสั่งสมความรู้ไว้เป็นบทเรียนให้กับลูกหลานได้เรียนรู้และสืบทอดต่อไป

          จะเห็นได้ว่าการสร้างนวัตกรรมต้องอาศัยความรู้ กิจกรรมที่สร้างความมั่งคั่งจากความรู้นั้น ยิ่งดำเนินการ ตัวปัจจัยหลัก คือนวัตกรรม และความรู้จะยิ่งงอกงาม อยู่ในสภาพที่ยิ่งใช้ยิ่งงอกงามมากขึ้น มากขึ้น...

หมายเลขบันทึก: 72203เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรื่มฉายแววการเล่าบ้างแล้วครับ

แต่การเขียนแต่เรื่องเล่าอย่าเดียวยังไม่พอ ต้องเน้นการวิเคราะห์-สังเคราะห์ด้วยจึงจะเป็นการสร้างคุณค่าให้กับงานของเรา

เพราะแค่เล่านั้นเป็นเรื่องธรรมดา

ยังไม่สื่อไปหาวิทยานิพนธ์ครับ

             อ่านที่ อ.สำเนียง เล่าเรื่องน้องกิ่ง กับพ่อกว้าง สุวรรณทา ทำให้เห็นว่าท่านทั้งสองได้จัดการตนเองโดยใช้ชุดความรู้ใดบ้าง หรือใช้ความรู้ใดบ้างมาใช้จัดการกับเรื่องราวของตนเอง มีประโยชน์มาก

             และดีใจยิ่งขึ้นอีกเมื่อได้อ่านคอมเม้นต์ทีมีประโยชน์ยิ่งของ อ.ดร.แสวง ทำให้ผมได้เทียบกับการเขียนของตัวผมเอง เป็นข้อมูลอย่างดีสำหรับผมนำไปปรับปรุงแก้ไข วิจารณ์ออนไลน์ก็ดีอย่างนี้แหละนะ

             ขอบคุณท่านทั้งสองบนเส้นทางสู่สังคมอุดมปัญญา

       ขอบคุณท่าน ดร.แสวง ที่ช่วยคอมเม้นท์งานให้ซึ่งดีสำหรับดิฉันเป็นอย่างยิ่งที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไข และเป็นกำลังใจที่ทำให้พยายามเค้นสมองทั้งสองซีกเพื่อสร้างงานที่มีคุณค่า
             ขอบคุณครูนงเมืองคอนที่เข้ามาอ่านบล็อก พร้อมกับให้กำลังใจ และที่ดีใจมากยิ่งขึ้นอีกหลายเท่าที่ครูนงเมืองคอนมองเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์อยุ่บ้าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท