beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

สถิติประชากรไทยในปี ๒๕๔๘ แยกตามช่วงอายุและเพศ (วิเคราะห์)


ช่วงอายุ 15-29 ปี อัตราการตายของเพศชายมีสูงกว่าเพศหญิง

    มีข้อมูลที่น่าสนใจ ที่คุณวิบูลย์อ้างอิงมาจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตามที่ได้เขียนข้อคิดเห็นไว้ใน บันทึกนี้

    ผมเห็นว่าตัวเลขน่าสนใจ จึงลองคัดลอกมา แล้วจัดหน้าใหม่ ให้ดูตัวเลขง่ายขึ้น...โดยการดัดแปลงทั้งหมด ทำในหน้าบันทึกนี้..ใน GotoKnow ครับ

    ข้อมูลในตารางเป็น สถิติจำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ (17 ช่วงอายุ ช่วงอายุละ 5 ปี) และเพศ ในปี ๒๕๔๘...หน่วย (ช่วงอายุ=ปี), (ชาย,หญิง,หญิง ลบ ชาย = ล้านคน) ส่วนช่องสุดท้ายเป็นอัตราส่วนไม่มีหน่วย...ซึ่งแสดงในตารางต่อไปนี้

 

ช่วงอายุ

ชาย

หญิง

หญิง-ชาย

หญิง/ชาย

 1

0-4

2.0330

1.9186

-0.1144

0.944

 2

5-9

2.3909

2.2640

-0.1269

0.947

 3

10-14

2.4570

2.3336

-0.1234

0.950

 4

15-19

2.3497

2.2536

-0.0961

0.959

 5

20-24

2.5793

2.5241

-0.0552

0.979

 6

25-29

2.6827

2.6678

-0.0148

0.994

 7

30-34

2.7265

2.7843

0.0578

1.021

 8

35-39

2.6723

2.7942

0.1219

1.046

 9

40-44

2.4390

2.5671

0.1281

1.053

 10

45-49

2.0427

2.1899

0.1471

1.072

 11

50-54

1.5830

1.7262

0.1432

1.090

 12

55-59

1.1459

1.2629

0.1170

1.102

 13

60-64

0.8849

0.9946

0.1097

1.124

 14

65-69

0.7395

0.8743

0.1348

1.182

 15

70-74

0.5327

0.6688

0.1361

1.256

 16

75-79

0.3222

0.4340

0.1118

1.347

 17

80-84

0.1637

0.2381

0.0744

1.455

    ผมลองวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง..โดยตั้งสมมุติฐานว่า อัตราการเกิดของประชากรไทย มีสัดส่วนชายต่อหญิงคงที่ ดังนี้ครับ

  1. อัตราการเกิดของประชากรไทย ผู้ชายเกิดมากว่าผู้หญิง เฉลี่ยปีละประมาณ 22,880 คน (ข้อมูลทางชีววิทยาบอกว่า Sperm Y เคลื่อนไหวได้เร็วกว่า Sperm X ดังนั้นจึงมีโอกาสว่ายไปผสมกับไข่ได้มากกว่า)
  2. ในช่วงอายุ 3 ช่วงแรก คือ เด็กแรกเกิดถึงอายุ 14 ปี หญิงและชายมีอัตราการตายพอๆ กัน (ช่วงนี้ เป็นช่วงที่เด็กหญิงเด็กชายอยู่กับพ่อแม่ ได้รับการปกป้องที่ดี เพศหญิงและเพศชายจึงมีอัตราการตายน้อย)
  3. ในช่วงอายุ 3 ช่วงถัดมา คือ ช่วงอายุ 15-29 ปี อัตราการตายของเพศชายมีสูงกว่าเพศหญิง ทำให้ สัดส่วนของเพศชายต่อเพศหญิงลดลงเรื่อยๆ (ช่วงนี้อยู่ในช่วงวัยรุ่น ถึงวัยผู้ใหญ่ ด้วยความคิดคะนอง อยากลองสารพัด การติดเอดส์ อุบัติเหตุ ทำให้อัตราการตายของเพศชายสูงขึ้นมากในแต่ละช่วงอายุ ส่งผลให้สัดส่วนของเพศชายต่อเพศหญิงค่อยๆ ลดลง)
  4. ใน 11 ช่วงอายุที่เหลือ คือ ช่วงอายุ 29-84 ปี สัดส่วน หญิง/ชาย เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ แสดงให้เห็นว่า..เพศชายมีอัตราเสี่ยงในการตายด้วยสาเหตุต่างๆ สูงกว่าเพศหญิง (เหตุผลทางชีววิทยา คือ เพศชายมีพละกำลังมากก็จริง แต่ความทนทานต่อโรคภัยมีน้อยกว่าเพศหญิง และระบบสรีรวิทยาโดยรวมของเพศชายเสื่อมเร็วกว่าเพศหญิง ส่งผลให้เพศหญิงอายุยืนกว่าเพศชาย)
  5. ....อาจมีผู้วิเคราะห์เพิ่มเติม

      หวังว่าบันทึกนี้คงมีประโยชน์บ้างนะครับ....ต้องขอขอบคุณ คุณวิบูลย์ที่สืบค้นข้อมูลมาให้ครับ

BeeMan

BeeMan

 

หมายเลขบันทึก: 72159เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 18:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • เพื่อให้สมดุลย์ผู้ชายควรมีแฟนมากกว่า 1 คนใช่ไหมครับอาจารย์ ยิ้ม ยิ้ม
  • ขอบคุณครับ
P แฟนแบบไหนครับ..แล้วคุณทำได้หรือยัง
ข้อมูลด้านประชากรเหล่านี้ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปกำหนดนโยบายในระดับประเทศ  หรือแม้แต่การวางแผนการตลาดของบริษัท ห้าง ร้าน ต่างๆ ในการคัดเลือกสินค้า หรือบริการที่เหมาะสมกับเพศ และวัย  ขอบคุณสำหรับข้อมูลของอาจารย์ครับ   เมื่อก่อนตอนผมศึกษา มักจะทำให้แสดงผลออกมาในรูปแบบของแผนภูมิปิรามิด แต่ตอนนี้ชักจะลืมๆ เดี๋ยวต้องกลับไปรื้อฟื้นหน่อยครับ    ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ
P ข้อคิดเห็นมีประโยชน์ และมีประเด็นที่น่าสนใจครับ...ตอนลงก็ไม่ได้นึกถึงครับ...ขอบคุณที่มาลปรร.

น่าสนใจค่ะ ขอบคุณ อ Beeman

ต้องกระจายข่าวให้ชายไทยทั้งหลายรอบตัว รักษาสุขภาพ มากขึ้นแล้ว

อ. ครับ

  • ไม่ได้แยกประชากรที่อายุเกิน 84 ปี ใช่ไม๊ครับ
  • ผมเพิ่งเข้าไปดูสถิติประกรในช่วง 10 ที่ผ่านมาของกรมการปกครอง พบว่า ประชากรสูงอายุที่อายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
  • แต่ประชากรที่อายุ 100 ปี ขึ้นไป ลดลงเรื่อยๆ
  • แสดงว่าประชาชนไทยอายุสั้นลงครับ

 

  • ขอขอบคุณ อาจารย์หมอ P ที่มาเยี่ยมเยียนนะครับ..
  • ความจริงก็ copy เขามา แต่หวังว่า ชาว GotoKnow จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ แบบบูรณาการ
  • พอมีท่านผู้อ่านเอาไปใช้ประโยชน์ได้ รู้สึกดีใจมากๆ ครับ
  • ท่านอาจารย์หมอ P ครับ ภาพเล็กของท่านรู้สึกว่าจะออกในแนวกว้างนะครับ
  • ผมเข้าใจว่า ประชากรที่อายุเกิน 84 ปี คงมีน้อย เขาก็เลยไม่ได้เก็บ หรือถ้าเก็บก็อาจไม่ได้แสดงในข้อมูลครับ
  • ประเด็นประชากรไทย อายุสั้นลงนี้ก็น่าสนใจครับ..
ข้อมูลนี้น่าสนใจมากและน่ารู้

อยากทราบข้อมูลสถิติสาเหตุการตายของคนไทยค่ะ มีบ้างไหมค่ะ

  • ขอบคุณทุกท่าน ที่แวะมาเยี่ยมบันทึกนี้ครับ

ขออนุญาตินำตารางข้อมูลนี้ของเจ้าของบล๊อกไปทำรายงานส่งอ.นะคะ

ขอบคุณค่ะ

ข้อมุลที่อาจารย์นำขึ้นเว็บไซต์

เป็นประโยชน์ และน่ารู้มากเลยค่ะ

ซึ่งเป็นการนำความรู้ทางชีววิทยา มาอธิบายถึงอัตราการเกิดของประชากร

จึงขอนำข้อมูลไปสนับสนุนรายงานเรื่องความแตกต่างระหว่างเพศค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

  • ขอบคุณการทิ้งรอยไว้ ของเพชรและกอไก่..อิอิ

จากตารางนี้แปลความหมายได้ว่า

ประชากรของกลุ่มรักเพศเดียวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ

ความสัมพันธ์ของเพศชายต่อหญิงในลักษณะผัวเดียวเมียเดียวจะยังมีอยู่ได้แต่จะเกิดผลกระทบ

คือหากประชากรหญิง ไม่เกิดการจับคู่ในลักษณะกลุ่มรักเพศเดียวกัน มีแนวโน้มที่ผู้หญิงจะอยู่เป็นโสดมากขึ้น

ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติในสังคมให้ผู้ชายมีลักษณะสามารถมีคู่หลายคนอย่างเป็นที่ยอมรับ

เหมือนในสมัยสุโขทัยถึงอยุธยาที่เพศชายมีน้อยกว่า มีแนวโน้มที่สังคมจะพัฒนาไปสู่สังคมหญิงเป็นใหญ่โดยอ้อม

จะมีผู้หญิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ต้องอยู่อย่างไม่มีคู่จนหมดอายุขัย ผลทางการตลาดคือผู้หญิงจะต้องทำงาน

ที่ผู้ชายทำได้และต้องอาศัยอยู่ในบ้านขนาดที่เล็กลงลักษณะเป็น studio มากขึ้น จะมีสินค้าที่คอยตอบสนอง

ต่อหญิงโสดที่มีรายได้มาก ส่วนรัฐจำเป็นจะต้องสนับสนุนรายจ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย การรักษาโรค และสวัสดิการต่าง ๆ

สำหรับหญิงที่เป็นโสดมากขึ้นเรื่อย ๆ หากไมมีพลวัตรในการอยู่ร่วมกันระหว่างชายหญิงที่มากกว่า หนึ่งต่อหนึ่ง

ในแง่ดีคือจำนวนประชากรจะลดลง 30 % ภายในระยะเวลา 50 ปี

  • ขอบคุณสำหรับการแปลความหมายอีกแบบหนึ่ง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท