มา AAR กันเถอะ


AAR กับคำถาม 4 ข้อ 7 ขั้นตอน

พอเราเรียนรู้เรื่อง KM ก็เลยมีคำว่า หลัก AAR ปรากฏขึ้นมาด้วย บางคนที่เพิ่งจะเริ่มรู้จัก KM ก็ยังงง ๆ ว่า AAR คืออะไร? เป็นอย่างไร? และทำไปเพื่ออะไร? อ.หาญชัย จาก สสจ.นม. จึงมาเล่าให้พวกเราฟังเกี่ยวกับ AAR ว่า...

AAR (After Action Review)

- เป็นการเรียนรู้ระหว่างทำงาน

- เป็นการทบทวนวิธีการทำงานทั้งด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อทบทวน/แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดปัญหาทำนองนี้ขึ้นอีก ขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งวิธีการที่ดีอยู่แล้ว

        อาจารย์หาญชัยได้แบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่ม เล่นกิจกรรมสนุก ๆ โดยการนำไข่ไก่ติดกระดาษกาวไว้บนเพดานห้อง และให้นักศึกษาในกลุ่มช่วยกันทำภาชนะจากกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อรองรับไม่ให้ไข่ไก่ที่ตกลงมาจากเพดานแตก ผลออกมาว่าไข่ไก่ที่ตกลงมาจากกลุ่มหนึ่งแตก อีกกลุ่มหนึ่งร้าว จากนั้นอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มตอบคำถาม 4 ข้อ 7 ขั้นตอน ดังนี้

         4 คำถามกับ AAR คือ

          1.      สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการทำงานคืออะไร

           2.      สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร

           3.      ทำไมจึงแตกต่างกัน

           4.      สิ่งที่ได้เรียนรู้และวิธีการลด/แก้ความแตกต่างคืออะไร

         7 ขั้นตอนกับ AAR คือ

             1.      ควรทำ AAR ทันทีทันใดหรืออย่างเร็วที่สุดหลังจากจบงานนั้น ๆ

          2.      ไม่มีการกล่าวโทษ ซ้ำเติม ตอกย้ำซึ่งกันและกัน ไม่มีความเป็นเจ้านายหรือลูกน้อง มีแต่บรรยากาศที่เป็นกันเอง

          3.      มี "คุณอำนวย" (Facilitator) คอยอำนวยความสะดวก และกระตุ้นด้วยการตั้งคำถามให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของตน

          4.      ถามตัวเองว่าสิ่งที่เราควรได้รับคืออะไร

          5.      หันกลับมาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร

          6.      ความแตกต่างคืออะไร ทำไมจึงต่างกัน

          7.      จดบันทึกเพื่อเตือนความจำว่าวิธีการใดบ้างที่คุณได้เคยนำมาแก้ปัญหาแล้ว

      ในการทำ AAR ไม่ได้ยุ่งยากเหมือนที่เราเคยคิด เพียงแต่ตอบคำถาม 4 ข้อ และทำให้ครบ 7 ขั้นตอน ซึ่งวิธีแก้ปัญหาที่ได้จากการทำ AAR คงไม่ใช่คำตอบสุดท้ายสำหรับแต่ละงาน เพราะเมื่อเวลาเปลี่ยนไป บริบทเปลี่ยนไป ย่อมทำให้เกิดปัญหาใหม่ได้ตลอดเวลา ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย 
                                   นันท์นภัส สุขใจ
                         นศ.สม.4 ม.ราชภัฏนครราชสีมา
คำสำคัญ (Tags): #aar#สม.4
หมายเลขบันทึก: 72154เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ปกติเราใช้กัน 3R (Review) ครับ

 BAR = Before Action Review ทบทวนก่อนกิจกรรม หรือ ภาระกิจเกิด

 DAR = During Action Review ทบทวนระหว่างกิจกรรมนั้นดำเนินการ ยังไม่เสร็จ

 AAR = After Action Review ทบทวนหลังกิจกรรมสำเร็จ เสร็จสิ้น

อยากขอแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมในการทำ 3R (Review)หรือยกตัวอย่างค่ะ เพราะว่าเคยทำแต่ AAR และ BAR สามารถใช้ในการวัดผลก่อนทำกิจกรรมได้หรือไม่คะ

 Teacher กราบเรียนอย่างนี้ครับ

 DAR ในโครงการ หรือ กิจกรรม ที่ใช้ระยะเวลา นานพอสมควร จะเป็นตัว Monitor ผล เมื่อ เทียบกับ แผน ได้เป็นอย่างดีครับ

 ทำให้เราปรับกระบวนการ ขั้นตอน เปลี่ยนได้ตาม สภาพแวดล้อม ได้เป็นอย่างดี ทันต่อเหตุการณ์ ที่อาจมีการปรับเปลี่ยน เนื่องอิทธิพลภายนอกได้ครับ

 ประเด็นที่สำคัญ จะวัดผลได้ ต้องมีเป้าหมายชัดเจน มีดัชนีชี้วัด มีการกำกับอย่างใกล้ชิด ครับ

ฝากรูปทีมงาน สคร๕ มาให้ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท