เปลี่นจากสอน มาป็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตอนที่ 2


ผ่านมาเป็นวันที่ 4 ในการใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาแทนการสอน ผลงานออกมาเป็นที่น่าพอใจ
    หลังจากที่ได้เริ่มเปลี่ยนกระบวนสอนใหม่ กับกลุ่มผู้เรียนกลุ่มเล็กๆ ในเรื่องการใช้งานคอมพิวเตอร์ และได้เขียนตอนที่ 1 ไว้แล้ว (ไปดูตอนที่1) โดยสัปดาห์นี้ เป็นเรื่องการสร้างสื่อ Interactive Multimedia โดยเปลี่ยนจากการสอน มาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2 วันแรก ค่อนข้างจะยังไม่เคยชิน เวลาติดขัด หรือมีปัญหา ผู้เรียนจะมุ่งถามจากผู้สอนเป็นหลัก และไม่ค่อยคิดต่อ รอให้ผู้สอนมาช่วยแก้ปัญหา กระบวนการก็ต้องค่อยๆเปลี่ยน โดยผู้สอนช่วยแก้ปัญหาเฉพาะคน และถ้าผู้ใดมีปัญหาลักษณะเดียวกัน ก็ให้ไปเรียนรู้กันเอง หรือบางเรื่อง ผู้สอน ก็ต้องแกล้งโง่บ้าง แทนที่จะบอกว่า แก้ปัญหาอย่างไร ก็ใช้วิธีการนั่งคุยกันว่า ปัญหาน่าจะเกิดจากอะไร แล้วลองแก้ไขช่วยกัน
   วันที่ 3 ผู้สอน ถอยห่างออกไปมากขึ้น ผู้เรียนเดินไปเดินมา เพื่อเรียนรู้จากเพื่อน และคิดแก้ปัญหาเองมากขึ้น ดังนั้น ใช้เวลา 3 วันกับการเรียนรู้การใช้โปรแกรมในการสร้างสือ คือ Dreamweaver และ Captivate ตอนเย็นวันมที่ 3 เป็นการประมวลประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มา ช่วยกันสร้างสื่อขึ้นมาเรื่องหนึ่ง จากเนื้อหาวิชาทักษะชีวิต 1 ระดับ ม.ปลาย โดยช่วยกันเลือกเนื้อหา 1 เรื่องมาทำสื่อ หลังจากคุยกันอยู่พักหนึ่ง ก็เลือกเรื่องโรคมะเร็ง แล้วก็ช่วยกันดำเนินการตามขั้นตอนคือการวิเคราะเนื้อหา จนกระทั่งเขียน Storyboard แล้วแบ่งงานกันไปสร้างสื่อคนละหัวข้อ โดยนำเสนอเนื้อหา ในลักษณะการสนทนาของตัวการตูน 
   วันที่ 4 เร่งมาทำกันต่อเนื่อง ช่วยกันทำ ช่วยกันคิด เกิดปัญหามากมาย แต่ก็ช่วยกันแก้ไข จนถึงบ่าย 3 โมง  งานก็เสร็จ สามารถนำมานำเสนอได้ จากผลงานที่นำมาเสนอทำให้เห็นว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน โดย 2 วันหลัง ผู้สอนแทบจะไม่ได้ทำอะไรเลย เพียงแต่ช่วยเหลือในบางเรื่องเท่านั้น
   ประสบการณ์นี้ เป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่า ระหว่างการสอน กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ผลที่ต่างกัน การเรียนรู้ จากผู้สอนอย่างเดียวจะเป็นการเรียนรู้ที่ได้ผลผลิตออกมาเหมือนกันหมด และเป็นผลผลิตที่เหมือนกับที่ครูสอน ครูสอนเท่าไร ก็จะได้เท่านั้น หรือน้อยกว่าที่ครูสอน เพราะต้องคอยทำตามที่ครูบอก แต่ถ้าแลกเปลี่ยนกันเอง จะได้สิ่งที่ใหม่ๆ ขึ้นมา รวมทั้งครูก็ได้ด้วย บางเรื่องที่ครูก็ไม่รู้มาก่อน ก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียน ดังนั้น ผลผลิตที่เกิดจากการเรียนรู้จึงออกมาโดยที่ผูสอนก็ไม่คาดคิดมาก่อน ถ้าใช้การสอนแบบเดิม ก็คงได้ผลผลิดมาตามที่ครูกำหนด
    สิ่งที่สังเกตเห็นอีกอย่างคือ จากประสบการณ์การสอนคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนจะลืมคำสั่งต่างๆ ได้ง่าย ระหว่างที่นั่งฟังและทำตามครูต้องคอยจด บางที่ก็จดไม่ทัน พอมาทำใหม่จำไม่ได้ แต่ถ้าใช้วิธีการนี้ จะทำได้ง่าย เพราะสิ่งที่ได้เรียนรู้ไม่ใช่เป็นการจำจากครู แต่เป็นการค้นพบด้วยตัวเอง ไม่ต้องจด ก็จำได้
    กระบวนการเรียนรูแบบนี้ อาจจะดูว่าเสียเวลาในตอนต้น เพราะต้องปรับความคิด ปรับวิธีการจากเดิม แต่จะมีผลดีในระยะต่อมา  
หมายเลขบันทึก: 72144เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท