CKO กับการทำ KM


สิ่งหนึ่งที่อาจารย์ประพนธ์เน้นตลอดเวลา คือ"การชื่นชมยินดีซึ่งกันและกัน” และ"การยอมรับความสำเร็จของคนอื่น” ถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่อาจจะหาได้ไม่ง่ายนักในสังคมไทย

เมื่อวันที่ 9 ม.ค.50 ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในห้วข้อ "ชวนคิด ชวนดู เรียนรู้ KM" รุ่นที่ 1 ซึ่งกองการเจ้าหน้าที่ มอ. เป็นผู้จัดให้กับ CKO ของ มอ. โดยมีอาจารย์ประพนธ์ จาก สคส.เป็นวิทยากร ประทับใจกับวิธีการให้ความรู้ของอาจารย์มาก อาจารย์ไม่ได้ใช้วิธีบรรยายแบบเป็นทางการ แต่จะใช้วิธีให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนในการคิด และแลกเปลี่ยนความรู้กันตาม concept ของ KM ผู้เข้าร่วมในวันนั้นจะมีทั้ง CKO ที่มีประสบการณ์ในการทำ KM มาแล้ว เช่นอาจารย์ปารมี จากภาคพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มอ. และ CKO หน้าใหม่ เพิ่งได้รับมอบหมายจากหน่วยงานก่อนวันอบรม หรือบางคนบอกว่าเพิ่งได้รับมอบเมื่อเช้าก่อนเข้ามาร่วมโครงการ CKO ส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง KM มากนัก อาจารย์ประพนธ์บอกว่าอาจารย์จะไม่บรรยายให้พวกเราฟังว่า KM คืออะไร เพราะ มอ. เองได้ให้ความรู้เรื่องดังกล่าวกับบุคลากรไปพอสมควรแล้ว

การอบรมในวันนั้นจึงเริ่มด้วยการเปิด VCD เกี่ยวกับการทำ KM ของเกษตรกร กระทรวงเกษตร และบริษัทปูนซิเมนท์ไทยให้ดู เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม มองเห็นภาพและบรรยากาศจริง ๆ หลังจากนั้นอาจารย์จะให้แต่ละคนเปิดใจถึงความภาคภูมิใจในองค์กรของตนเองว่าได้ทำอะไรไปบ้างเกี่ยวกับ KM โดยการเล่าให้เพื่อนในกลุ่มฟัง และนำเสนอในภาพรวมของกลุ่ม

 ช่วงบ่ายอาจารย์ให้ทุกคนจิตนาการถึงอนาคตว่าหากนำ KM มาใช้ในองค์กรจนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แล้ว อยากเห็นองค์กรเป็นอย่างไร โดยให้ทุกคนสื่อด้วยการวาดภาพ ไม่น่าเชื่อเกือบทุกกลุ่มจะใช้ต้นไม้เป็นสื่อ อาจจะหมายถึงการแผ่กิ่งก้าน ออกดอก ออกผล เช่นเดียวกับความรู้ ยิ่งใช้ยิ่งเจริญงอกงาม ช่วงสุดท้ายอาจารย์จะให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนพูดในประเด็น หลังจากวันนี้จะกลับไปทำอะไรที่หน่วยงาน หลายคนพูดตรงกันว่าจะขอนำ VCD อาจารย์ไปจุดประกายบุคลากรในหน่วยงานก่อน

สิ่งหนึ่งที่อาจารย์ประพนธ์เน้นตลอดเวลา คือ"การชื่นชมยินดีซึ่งกันและกัน” และ"การยอมรับความสำเร็จของคนอื่น” ถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่อาจจะหาได้ไม่ง่ายนักในสังคมไทย จากการเข้าอบรมในวันนั้น ดิฉันได้คำตอบที่ตัวเองอาจจะเข้าใจผิดมาตลอด คือ การประชุมระดมสมองเพื่อแก้ปัญหาและกำหนดเป็นแนวปฏิบัติ ดิฉันเข้าใจว่านั่นคือการทำ KM แล้ว แต่อาจารย์บอกว่าหากยังไม่ได้นำข้อสรุปไปทดลองปฏิบัติ และประเมินว่าทำได้ผลจริง ยังไม่ถือเป็น KM  ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ให้ความกระจ่าง

หมายเลขบันทึก: 72114เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
คุณสายพิณ เก็บประเด็นได้ครบถ้วน ยอดเยี่ยม ไม่ตกหล่น เลยค่ะ ขอชื่นชม และขอเป็นกำลังใจให้ในการทำหน้าที่ CKO ของหอสมุดนะคะ (อยากบอกว่า เขียนได้น่าติดตามให้ชวนอ่านบันทึกต่อ ๆ ไป มากเลยค่ะ เชียร์ให้เขียนเยอะ ๆ นะคะ) รอร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในโอกาสต่อไปค่ะ

คุณสายพิณเขียนบรรยายได้อย่างลื่นไหล  น่าอ่าน

จะรออ่านบันทึก และ เรื่องราวดีๆ ของหอสุดนะค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์ปารมี และคุณรัตติยามากนะคะที่ให้กำลังใจ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับคนในห้องสมุดต่อไปคะ โอกาสต่อไปคงต้องรบกวนเรียนเชิญอาจารญปารมี ไปเล่าประสบการณ์ความสำเร็จในการทำ KM ให้พวกเราชาวหอสมุดได้รับรู้ด้วยคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท