ครอบครัวผู้ป่วย กลุ่มคนที่ถูกมองผ่าน


ผู้ปกครองหรือญาติ ผู้ป่วยมีความกังวลมากกว่าผู้ป่วยโดยตรง แต่ กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุน หรือช่วยในด้านการผ่อนคลาย หรือรับฟัง

เวลามีความเจ็บป่วยเข้ามา คนที่เป็นทุกข์ร่วมก็คงหนีไม่พ้น ผู้ปกครองและญาติใกล้ชิด หวังจะให้หายป่วยหรือบรรเทา อาการความเจ็บปวดนั้นลง

     จากการเข้าไปทำกิจกรรมร่วมกับ รพ.เด็ก (ห้องเรียนคอมพิวเตอร์)ในนามอาสาสมัครนั้น ได้เห็นหลาย ๆ มุม ของการทำงาน และผู้คนในโรงพยาบาล แต่ในสถานที่แบบนี้เรื่องส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้น เรื่องของความเจ็บปวด ความตึงเครียด อาการเหน็ดเหนื่อย และล้า ซึ่งมันบ่งบอกออกมาจากใบหน้า ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาการเจ็บป่วย ที่เห็นจะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้น ผู้ปกครองและญาติ ผู้ป่วย ซึ่งมีความกังวลมากกว่าผู้ป่วยเองเสียด้วยซ้ำ จึงทำให้ฉันคิดอยากเข้าไปซักถาม ถึงภาวะที่เขากำลังแบกรับอยู่นั้น แต่การที่คนแปลกหน้าจะเข้าไปถามนั้น ถ้ามองในแง่ดี ก็ไม่เป็นไร ถ้ามองในแง่ร้ายอาจเกิดการต่อต้านจากกลุ่มคนเหล่านี้ เพราะบางทีเหมือนไม่อยากให้รับรู้ถึงอาการเจ็บป่วยของญาติ หรือไม่ก็ไม่อยากให้ซักถามให้รำคาญใจ

     ทำให้ฉันไม่กล้าเข้าที่จะไปถามนอกจากยิ้มให้เขา จึงคิดว่าเราจะทำตัวอย่างไรดี ในที่ ที่แบบนี้ ซึ่งจะเข้าไปอยู่ในพื้นที่ ที่คนกลุ่มนี้อยู่ เพื่อเข้าไปรองรับหรือ ช่วยสนับสนุนในการบรรเทาความเครียดที่เป็นอยู่ให้มันคลายลง หลังจากคิดอยู่นานเหมือนกันกับการเข้าไปพูดคุย สรุปแล้ว การเข้าไปพุดคุยก็ได้ผล ได้สอบถามถึงความอยู่ใน รพ. อาการเจ็บป่วยของบุตรหลาน โดยรวมแล้วผู้ปกครองหรือญาติผู้ป่วยมีความเครียดมาก ไม่เฉพาะแต่อาการเจ็บป่วยของบุตรหลาน แต่ยังรวมไปถึงหลาย ๆ เรื่อง

  • เรื่องการทำงาน (เลี้ยงชีพ)
  • การอยู่ รพ.นาน ๆ ทำให้สภาพร่างกายล้า เหนื่อย
  • ค่าใช้จ่ายในการอยู่ รพ. บางกรณีเป็นคนต่างจังหวัด
  • ช่วงที่อยู่ รพ. นาน ไม่มีกิจกรรมหรืออะไรทำเพื่อให้ผ่อนคลาย
  • ค่าเดินทางมา รพ.
  • ที่พัก อาศัย ช่วงอยู่ รพ.

สรุปแล้วผู้ปกครองหรือญาติ ผู้ป่วยมีความกังวลมากกว่าผู้ป่วยโดยตรง แต่ กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุน หรือช่วยในด้านการผ่อนคลาย หรือรับฟัง เพราะเรามีความเชื่อว่า หากผู้ปกครองมีสุขภาพจิตที่ดี ก็จะส่งผลถึงบุตรหลานที่เจ็บป่วย ทำให้มีอาการป่วยที่คลายลง สืบจากเด็กมีกำลังใจที่ดี บุคคลากรทางการแพทย์ก็จะทำการรักษาง่ายขึ้น

หมายเลขบันทึก: 72113เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ที่ญาติผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อาจเนื่องจากว่า ทุกคนอยากให้ทุ่มเทกับผู้ป่วยมากกว่านะครับ เพราะถ้าแพทย์ และพยาบาลหันมาดูแลญาติ ทางญาติๆก็ต้องการให้ดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถมากกว่า

มันไช่อย่างนั้นอย่างที่คห1บอกน่ะค่ะ

การที่เราให้ความสำคัยกับญาติผู้ป่วย น้ำว่า มันเป็นการดีออก

เพราะญาตินอกจากจะเข้าใจเรามากขึ้นแล้ว เราสามารถสร้างเครือข่ายสุขภาพที่ดีให้กับญาติได้อีกด้วย

 

 

และเมื่อญาติเข้าใจก็จะสามารถให้การดูแลผู้ป่วยต่อที่บ้านได้อย่างเหมาะสม อีกด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท