โครงการเด็กกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน


เป้าหมาย : เพื่อให้เด็กพัฒนาวิธีคิดในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาสร้างเสริมสุขภาพของเด็กและคนในชุมชน/เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาของเด็กในการสร้างเสริมสุขภาพ/เพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ/เพื่อพัฒนากระบวนการและความเข้มแข็งในการดำเนินงานของชมรมนักอนุรักษ์ภูผายา-ผาซ่อนโชคชัย

โครงการเด็กกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน

 

1.คำสำคัญ:  การมีส่วนร่วม ,เด็ก ,การพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน

 

2.จังหวัด :หนองบัวลำภู

 

3.กลุ่มเป้าหมาย :เด็กจำนวน 100 คนในพื้นที่บ.นาเจริญ บ.โนนมีชัย บ.นาไร่ ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา เด็กจำนวน 100 คน ในพื้นที่ บ.ผาซ่อน บ.โชคชัย หมู่ 8 , บ.โชคชัย หมู่ 12 ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา

 

4.เป้าหมาย : เพื่อให้เด็กพัฒนาวิธีคิดในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาสร้างเสริมสุขภาพของเด็กและคนในชุมชน/เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาของเด็กในการสร้างเสริมสุขภาพ/เพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ/เพื่อพัฒนากระบวนการและความเข้มแข็งในการดำเนินงานของชมรมนักอนุรักษ์ภูผายา-ผาซ่อนโชคชัย

 

5.สาระสำคัญของโครงการ :อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นอำเภอเล็กๆ ในจังหวัดเล็กๆแต่มีจุดเด่นคือเป็นอำเภอที่มีสภาพแวดล้อมและธรรมชาติที่สมบูรณ์ในพื้นที่มีป่าชุมชน อาทิ ป่าชุมชนโคกผายา ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่ ป่าชุมชนผาจันได ชุมชนได้ประโยชน์จากการเก็บหน่อไม้ และเห็ดจากป่า แต่ขาดการดูแลป่าอย่างจริงจัง จึงทำให้มีเอกชนพยายามเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติ  /ชมรมเด็กนักอนุรักษ์น้อยภูผายา ได้ถูกสร้างและหล่อหลอมแนวคิดด้านการอนุรักษ์ เด็กๆได้เรียนรู้และเริ่มสั่งสมต้นทุนประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และระบบนิเวศในพื้นที่ป่าชุมชน ปี2546 องค์กรแพลนประเทศไทย(องค์กรพัฒนาเอกชนจากต่างประเทศ) ได้เข้ามาชักชวนเด็กและครูทำกิจกรรมด้านอนุรักษ์ แต่ทำกิจกรรมได้เพียงปีเดียวก็ออกไป  ปี2547เมื่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงใจอยากทำงานต่อสมาคมพัฒนาชนบทอีสานจึง ขอทุน สสส.

 

6.เครื่องมือที่ใช้ :เน้นสร้างแกนนำเด็กผ่านกิจกรรมประมาณ 20 กิจกรรม โดยทีมเด็กแกนนำช่วยออกแบบโครงการ  กิจกรรม กระบวนการพัฒนาความเป็นผู้นำ/ โครงการพี่สอนน้อง

สืบค้นความรู้  /สำรวจสมุนไพร ป้ายรณรงค์คุ้มครองพืชหายาก /รณรงค์คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

สนับสนุนสวนสมุนไพรดีเด่น /เพาะสมุนไพรในครัวเรือน ค่ายสิ่งแวดล้อมในพื้นที่/ ค่ายสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ขยายผล /เวทีเด็ก

 

7.การจัดระบบ โครงสร้างกระบวนการทำงาน :แกนนำชมรมนักอนุรักษ์น้อยภูผายา  34 คน เจ้าของและคณะกรรมการโครงการ เป็นผู้กำหนดงาน แกนนำกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญในโครงการเพราะเป็นผู้คิดและสร้างสรรค์กิจกรรมและดำเนินกิจกรรมโครงการแกนนำชุมชน นายบุญเรือง จำปาศักดิ์ ประธานป่าชุมชนโคกผายาและผู้ใหญ่บ้านนาเจริญ ,นายสุเทพ แดงนา ประธานป่าชุมชนผาจันไดและผู้ใหญ่บ้านโชคชัยหมู่ 12 เป็นเจ้าของโครงการร่วมเป็นคณะกรรมการโครงการ ร่วมกำหนดแผนงานกระตุ้นให้คนมีส่วนร่วมกับโครงการผู้ประสานงานโครงการจากสมาคมพัฒนาชนบทอีสาน ประภาพร ศรีมหาพรหม   ที่ปรึกษาโครงการ สมพจน์ สมบูรณ์ นายกสมาคมพัฒนาชนบทอีสาน,พรวิทย์ ธราพร ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม  เป็นที่ปรึกษา สนับสนุน ติดตามประเมินผล ขยายผล ครูแกนนำ  อ.บรรพต เตชะศรี รร.บ้านนาไร่อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมนักอนุรักษ์น้อยภูผายา  ,อ.สงวน ป้องศิริ โรงเรียนบ้านผาซ่อนโชคชัย มีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดการดำเนินงาน จัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆร่วมกับเด็กและชุมชน มีบทบาทในการเข้าร่วมกิจกรรมขยายผลในโรงเรียนที่สนใจ

 

8.ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ :1มิถุนายน2546-31 พฤษภาคม 2547

 

9.การประเมินผลและผลกระทบ :เด็กมีการพัฒนาวิธีคิดในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เด็กมีความมั่นใจและภูมิใจ กล้าเป็นผู้นำ /เด็กเยาวชนมีจิตใจเป็นอาสาสมัครต้องการเข้าร่วมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของชุมชน มีเด็กได้อาสาสมัครเข้ามาทำงานเป็นชมรมชัดเจน 16 คน โรงเรียนเริ่มเปิดพื้นที่ โรงเรียนเห็นความสำคัญกับการสนับสนุนกิจกรรมให้ครูและเด็กเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ/มีการกำหนดหลักสูตรเนื้อหาการเรียนรู้ร่วมกันเรื่องระบบนิเวศป่าซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และพืช/ชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญของป่าการดูแลและใช้ประโยชน์อย่างรักษาเริ่มมีจิตสำนึกในการเฝ้าระวังป่าในพื้นที่บ้านตนเองมากขึ้น/พ่อแม่ได้เข้ามามีส่วนสนับสนุนกิจกรรมของเด็กมากขึ้น

 

10.ความยั่งยืน :สภาพป่าไม้และระบบนิเวศน์กลับฟื้นคืนมาอุดมสมบูรณ์ /ชุมชนเห็นความสำคัญของป่ามากขึ้นเริ่มมีจิตสำนึกในการคุ้มครองบ้านตัวเองมากขึ้น/ไม่มีการสัมปทานโรงโม่หิน เพราะพื้นที่ป่าถูกประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ โดยการประกาศของ อบต. /เด็กรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อ /เรื่องการอนุรักษ์ป่ากลายเป็นหลักสูตรท้องถิ่น

 

11.จุดแข็ง และอุปสรรค :

จุดแข็ง เด็กที่มีความสนใจและได้รับการปลูกฝังเรื่องการอนุรักษ์มาอย่างต่อเนื่องจากในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนเด็กมีความกระตือรือร้นสนใจที่จะเข้าร่วมเป็นเจ้าของโครงการร่วมคิดและสร้างสรรค์กิจกรรม /ผู้ประสานงาน ประภาพร มีใจมุ่งมั่น อดทน เสียสละ ทุ่มเท /ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำเต็มที่/การเชื่อมประสานความร่วมมือกับเครือข่ายหน่วยงานผู้นำพื้นที่-อาศัยผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นแกนนำที่เข้มแข็งเป็นที่เชื่อถือเป็นผู้ประสานงานขอความร่วมมือ

อุปสรรค คือ โครงการยังขาดกลไกพี่เลี้ยงที่จะสนับสนุน/จัดการให้การเกิดชมรมอย่างยั่งยืน เมื่อประภาพรซึ่งเป็นผู้ประสานงานและประสานของบประมาณจากแหล่งทุนออกไปจากพื้นที่ /การทำงานขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากคณะกรรมการชมรมเด็กย้ายโรงเรียนออกไปนอกชุมชน หรือโรงเรียนไม่สนับสนุนให้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียน/ความไม่เข้าใจภายในชุมชน คณะครูและผู้นำชุมชนคาดหวังให้เด็กทำได้หลายอย่าง เช่นกล้าพูดกล้าแสดงออก ทำให้เด็กที่ไม่พร้อมไม่กล้าเข้าร่วมกิจกรม/ผู้บริหารโรงเรียนบางแห่งไม่เข้าใจเรื่องการทำกิจกรรมนอกระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน/ภายในชุมชนมีผู้มีอิทธิพลระดับผู้นำที่ลักลอบตัดไม้เพื่อแปรรูปขาย ทำให้เด็กทำกิจกรรมได้ลำบาก/ขาดงบประมาณสำหรับกิจกรรมที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า /ขาดงบประมาณสำหรับการบริหารจัดการ และประสานงาน

 

12.ที่ติดต่อ

-ชมรมนักอนุรักษ์ภูผายา โรงเรียนบ้านนาไร่ ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา

นิว ลลิตา แตงน้อย/เปิ้ล  รณฤทิ์ จิตน้อม/ตาม เอกสิทธิ ศรีบุญเรือง

-บุญเรือง จำปาศักดิ์  ประธานป่าชุมชนและ ผู้ใหญ่บ้านนาเจริญ

โทร .06-2411841

-สมพจน์ สมบูรณ์  นายกสมาคมพัฒนาชนบทอีสาน

โทร .043-241171 /05-8624584

-ประภาพร ศรีมหาพรหม ผู้ประสานงานโครงการ

- อ.บรรพต เตชะศรีรร.บ้านนาไร่อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมนักอนุรักษ์น้อยภูผายา  

(083-348-7491)

-อ.สงวน ป้องศิริ  โรงเรียนบ้านผาซ่อนโชคชัย

09-9375228

องค์กรที่รับทุน :สมาคมพัฒนาชนบทอีสาน  

 
หมายเลขบันทึก: 72097เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท