คนดีวันละคน : (7) รศ. ดร. รพีพรรณ วิทิตสุวรรณกุล


ผมได้เรียนรู้อย่างมากมายจาก ดร. รพีพรรณ ว่าน้ำยางก็คล้ายเลือดคน มีสารต่าง ๆ ที่ต้นยางสร้างขึ้นตามธรรมชาติและสร้างขึ้นเพื่อปกป้องตนเองจากศัตรู การที่เรากรีดเปลือกยางเพื่อเอาน้ำยาง ทำให้ต้นยางเป็นแผลและมีจุลินทรีย์เข้าไปรบกวน ต้นยางจึงสร้างสารต่อสู้จุลินทรีย์และหลั่งออกมาในน้ำยางด้วย

         รศ. ดร. รพีพรรณ  เป็นนักวิจัยเรื่องยางพารา   วิจัยส่วนของน้ำยางที่ไม่ใช่ยาง (rubber)   ตอนที่รับโล่จากนกยกทักษิณในฐานะเมธีวิจัยอาวุโส สกว.   ทาง สกว. ทำวิดีโอเรื่องราวการวิจัยสารเคมีในน้ำยาง   ฉายให้ผู้อยู่ในห้องประชุมที่ทำเนียบรัฐบาลฟัง   นายกทักษิณติดใจมาก   ถึงกับบอกให้เขียนโครงการวิจัยตั้งสถาบันวิจัยเพื่อดำเนินการวิจัยเรื่องสารที่ไม่ใช่ยางในน้ำยางโดยเฉพาะ  แต่แล้วก็เหลว   รัฐบาลไม่ได้ให้งบประมาณตามคำสัญญา

         ดร. รพีพรรณเป็นอาจารย์ภาควิชาชีวเคมี   คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  จบการศึกษาปริญญาตรี - โท - เอก จากมหาวิทยาลัยมินนี่โซต้า  สหรัฐอเมริกา   โดยได้รับทุนจากรัฐบาลไทย

         งานวิจัยอยู่ในด้านชีวเคมีของน้ำยางธรรมชาติ,  สารก่อภูมิแพ้จากน้ำยางธรรมชาติ,  กระบวนการสังเคราะห์ยางทางธรรมชาติ,  เทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวกับยางธรรมชาติ

         ได้รับรางวัลทากูจิ ในฐานะนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นด้านเทคโนโลยีชีวภาพ พ.ศ.2534,  พ.ศ.2535 ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,  พ.ศ.2543 เป็นเมธีวิจัยอาวุโส สกว.

         ผมได้เรียนรู้อย่างมากมายจาก ดร. รพีพรรณ   ว่าน้ำยางก็คล้ายเลือดคน   มีสารต่าง ๆ ที่ต้นยางสร้างขึ้นตามธรรมชาติและสร้างขึ้นเพื่อปกป้องตนเองจากศัตรู     การที่เรากรีดเปลือกยางเพื่อเอาน้ำยาง  ทำให้ต้นยางเป็นแผลและมีจุลินทรีย์เข้าไปรบกวน   ต้นยางจึงสร้างสารต่อสู้จุลินทรีย์และหลั่งออกมาในน้ำยางด้วย

         คิดได้แค่นี้ก็ทำวิจัยได้ไม่มีวันจบ   เป็นวิธีคิดที่ทำให้ผมชื่นชมในความสามารถในการคิดของ รศ. รพีพรรณ อย่างที่สุด

         ผลงานวิจัยของ ดร. รพีพรรณ มีการนำไปจดสิทธิบัตรและมีบริษัทมาขอซื้อสิทธิทางปัญญาไปผลิตสินค้า   ทั้งชุดตรวจสอบการแพ้ยางและวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ยางที่ไม่ก่ออาการแพ้

วิจารณ์  พานิช
 1 ม.ค.50

หมายเลขบันทึก: 72055เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท