น้ำดี


------------------น้ำใช้ใส่ตุ่มตั้ง เต็มดี

-----------------น้ำอบอ่าอินทรีย์ อย่าผร้อง

 ---------------น้ำปูนใส่เต้ามี อย่าขาด

 --------------น้ำจิตรอย่าให้ข้อง ขัดน้ำใจใครฯ

    เนื้อหาการสอนของโคลงบทนี้ เราจำเป็นต้องย้อนอดีตไปสู่ยุคคุณปู่ คุณย่ายังสาวรุ่น เมื่อได้เข้าไปศึกษาจะทำให้เรารู้สึกว่า คนสมัยก่อนเป็นของแปลก ที่แปลกคือแปลกจากยุคสมัยนี้ และยุคสมัยนี้ก็เป็นของแปลกของคนสมัยก่อน

    เราเดินทางไปไหนใกล้ไกล เหนื่อยนักก็พักลงข้างทาง หรือเข้าไปขอน้ำฝนเย็นๆ จากตุ่มดินที่เจ้าของบ้านรองไว้เมื่อหน้าฝน ซึ่งหน้าฝนก็คือฝนจริงๆ มิใช่ฝนบ้าง ร้อนบ้าง หนาวบ้างอย่างปัจจุบัน คนมีน้ำใจดีเขาจะตั้งตุ้มไว้หน้าบ้านพร้อมกับกระบวยสำหรับให้คนเดินทางได้ดื่มกินแก้กระหาย บางบ้านจะมีศาลาพักหน้าบ้าน พ่อแม่ที่เป็นคนโอบอ้อมอารีมักจะสอนลูกหลาน โดยเฉพาะลูกผู้หญิงให้หมั่นดูแลตุ่มน้ำที่ใช้สำหรับต้อนรับแขกและคนเดินทางอย่าให้ขาด ถ้ามันพร่องก็ต้องตักให้เต็มอยู่เสมอ และในคราวที่เราเดินทาง เราก็จะได้รับบริการที่ดีด้วยความเต็มใจในความมีมิตรไมตรีของคน นอกจากน้ำดื่ม น้ำอบก็ต้องจัดเตรียมไว้ เผื่อว่าใครเดินทางมาไกลต้องการอาบน้ำ หลังอาบน้ำได้ชโลมน้ำอบด้วยแล้วทำให้รู้สึกเย็นกาย อีกอย่างหนึ่งคือ น้ำปูนไว้สำหรับต้อนรับแขกที่กินหมากและน้ำคำปราศรัยด้วยไมตรีจิต ทั้งหมดเตรียมไว้เพื่อการต้อนรับแขกโดยมิหวังจะทวงคืน นั้นคือไมตรีของคนโบราณที่มีแต่จิตคิดจะให้

    ส่วนปัจจุบันการเดินทางไปไหน ใกล้ไกล อย่าเผลอไปกินอะไรต่อมิอะไรของใครเข้า เดี๋ยวจะถูกฟ้องร้องให้ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แม้การเดินเข้าในเขตรั้วบ้านก็อันตราย ทุกตารางนิ้วล้วนมีเจ้าของและอภิสิทธิ์ชน แต่ไม่ได้หมายความว่าบรรยากาศโบราณอย่างนั้นจะไม่มีเลย อยากรู้ต้องไปดูคนบ้านนอก (ต้องเป็นบ้านนอกจริงๆ) ที่เขายังไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจเงินตรา

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมะหน้าเดียว
หมายเลขบันทึก: 71826เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2007 08:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท