สถานการณ์งานวิจัยในเมืองไทย:บางประการที่น่าเป็นห่วง


พัฒนามาจากการสนับสนุนทุน และ คำแนะนำและข้อเสนอแนะ ผ่านความช่วยเหลือของต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ จนทำให้นักวิจัยไทยบางคนเสพติด และไม่สามารถทำงานวิจัยอย่างอิสระด้วยตัวเอง

การพัฒนางานวิจัยในเมืองไทยอดีต ได้เริ่มพัฒนามาจากการสนับสนุนทุน และ คำแนะนำและข้อเสนอแนะ ผ่านความช่วยเหลือของต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ จนทำให้นักวิจัยไทยบางคนเสพติด และไม่สามารถทำงานวิจัยอย่างอิสระด้วยตัวเอง ได้ ที่ทำให้เกิดผลกระทบในทางการพัฒนาการวิจัยที่ทำอยู่ในปัจจุบัน หลายๆ ประการ เช่น

  

ประการที่ ๑  นักวิจัยไทยบางคนคิดหัวข้อวิจัยไม่เป็น 

  เรื่องนี้น่าจะสืบเนื่องมาจากที่เราไม่เคยฝึกคิด ฝึกซักถาม ฝึกวางสมมุติฐาน ฝึกค้นหาคำตอบ แต่เราฝึกกันให้เชื่อครูบาอาจารย์ เชื่อตำรา จนหัวปักหัวปำ พอถึงวันที่จะต้องทำงานวิจัยก็เลยคิดไม่ออก เพราะทุกอย่างมีข้อสรุปอยู่แล้ว ไม่รู้จะถามไปทำไม  เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นต่อเนื่องจากที่นักวิจัยของเราไปทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยให้ต่างชาติ ทั้งในนามของการเป็นนักศึกษา หรือผู้ร่วมวิจัย ก็แล้วแต่ เมื่อไม่มีหัวหน้ามาคิดแทนเรา เราก็เลยคิดไม่เป็น 

ประการที่ ๒  นักวิจัยไทยจำนวนมากไม่ใช้หลักอริยสัจ ๔ ในการวางโครงร่างการวิจัย 

 มีการเขียนโครงการวิจัยแบบไม่ค้นหาสาเหตุของปัญหา เขียนไปตามความคิด เลื่อนไหลไปเรื่อยๆ โดยไม่วิเคราะห์ว่า สาเหตุและปัญหามีอะไรบ้าง แนวทางในการแก้ไขปัญหามีอยู่กี่รูปแบบ และวิธีการที่จะนำเสนอในการแก้ปัญหานั้นมีอยู่กี่แบบ และแบบที่เสนอมาดีมากน้อยกว่าแบบอื่น ๆ อย่างไร ทำให้โครงการวิจัยที่เขียนไม่ค่อยมีความหมาย ไม่ค่อยมีประโยชน์ และไม่ค่อยได้รับอนุมัติทุนวิจัย

  

ประการที่ ๓  นักวิจัยไทยจำนวนมากไม่พร้อมที่จะทำงานวิจัยที่สามารถส่งผลในเชิงรูปธรรมของการพัฒนา

  

แต่พร้อมที่จะทำงานในลักษณะที่เก็บข้อมูลมา แล้วก็นำเสนอ จบๆ กันไป ไม่จำเป็นต้องมีหรือสร้างผลกระทบ ไม่จำเป็นต้องมีประโยชน์ ขอให้สักแต่ว่าเป็นการเก็บข้อมูลมานำเสนอก็พอ บางทีก็เน้นแค่การตีพิมพ์ที่มีนักวิชาการประเภทเดียวกันอ่านกันเอง ไม่มีการประเมินผลกระทบที่แท้จริง จึงทำให้งานวิจัยขาดคุณภาพ

  

ประการที่ ๔  นักวิจัยไทยจำนวนมากไม่ถนัดในการทำงานวิจัย

  

 แต่ถนัดในการรวบรวมข้อมูลและนำเสนอ อันเนื่องมาจากงานวิจัยนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์ วิจารณ์ หาข้อสรุปของประเด็นที่ทำงานวิจัยต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับนักวิจัยไทยโดยทั่วไป จึงเป็นผลงานที่ไม่ค่อยมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ แต่ก็ยังเรียกว่า เป็นงานวิจัยอยู่

  

ประการที่ ๕  นักวิจัยไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำงานกับผู้ที่จะใช้ผลงานโดยตรง

  ทั้งนี้เพราะการทำงานเช่นนั้นต้องจริงจัง และจริงใจ ทำเล่นทำหัว ไม่ได้ ความสำเร็จของงานจะถูกตรวจสอบด้วยการนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ได้เป็นหลัก ซึ่งทำให้นักวิจัยอึดอัด เพราะไม่แน่ใจว่างานที่ทำนั้นจะเกิดประโยชน์หรือไม่ จึงมักจะมีการหลบเลี่ยงที่จะไม่ทำงานประเภทนี้ 

ประการที่ ๖  นักวิจัยไทยส่วนใหญ่ชอบทำงานเชิงเดี่ยว  

 

ซึ่งทำให้การแก้ปัญหาที่มีปัจจัยหลาย ๆปัจจัยมาปฏิสัมพันธ์กัน ไม่ได้รับการศึกษาวิจัย แต่เน้นการทำงานวิจัยเพียงปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดเพียงอย่างเดียว ทำให้ไม่สามารถจะนำผลงานที่ได้ไปใช้ในการทำงาน ในสถานการณ์ที่เป็นจริง

  

ประการที่ ๗  นักวิจัยไทยบางคนไม่ชอบทำงานแบบบูรณาการ

   ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานแบบบูรณาการนั้น ผลลัพธ์ที่ได้คือผลคูณของงานในแต่ละส่วน ถ้ามีปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดมีค่าเป็น ๐ ผลลัพธ์ก็จะเท่ากับ ๐ ทันที ทำให้เสมือนหนึ่งว่างานล้มเหลว  ซึ่งแตกต่างจากการทำงานในโครงการชุด ที่ต่างคนต่างทำแล้วเอามารวมกัน ก็ยังจะได้คำตอบจากผลรวมต่างๆ เหล่านั้นอย่างแน่นอน  โดยไม่จำเป็นว่าจะได้ประโยชน์หรือไม่

 

ประการที่ ๘  นักวิจัยไทยไม่ชอบทำงานกับผู้ด้อยโอกาส

  

สาเหตุมาจาก การทำงานกับผู้ด้อยโอกาสเป็นเรื่องยาก อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งทำให้ตัวเองรู้สึกว่าเสียเวลา สู้ทำงานกับคนมีฐานะดี หรือในระบบสังคมที่พร้อมจะมีโอกาสประสพผลสำเร็จมากกว่า

  

จากลักษณะ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น เป็นสาเหตุให้งานวิจัยของเมืองไทย ยังไม่ค่อยบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา ยังเป็นงานในลักษณะทำเพื่อตีพิมพ์ ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ โดยผู้ที่ต้องการผลงานวิจัย ทำให้เป็นการสูญเสียงบประมาณและทรัพยากรของประเทศอย่างรุนแรง

  

นอกจากนี้ยังมีปัญหาการพิจารณาโครงร่างโครงการวิจัย แบบผลัดกันเกาหลัง พวกมากลากไป “Peer Review” แบบช่วยๆกัน ทำให้โครงการที่ขาดคุณภาพแต่มีคนเห็นพ้องมากๆ ได้รับการสนับสนุน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นโครงการวิจัยที่ดี และโครงการที่ดีแต่ไม่ค่อยมีใครทราบก็จะไม่ได้รับอนุมัติ ที่ทำให้งานวิจัยของไทยเราย่ำอยู่กับที่ ไม่มีอะไรใหม่ งานวิจัยดีๆอาจไม่ได้เกิด หรือทำงานแบบวนอยู่ในโอ่ง

  

ดังที่ท่าน นพ.วิจารณ์  พานิช ได้กล่าวไว้ในบล็อกนี้ ว่า งานวิจัยของประเทศไทยยังเป็นการสูญเสีย และไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

  

เราลองมาหาวิธีการพัฒนางานวิจัยของไทยกันหน่อยดีไหมครับ

  ทั้งนักวิจัย และหน่วยงานให้ทุนต่างๆ
หมายเลขบันทึก: 71820เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2007 07:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
งานวิจัยเป็นงานที่น่าสนใจคะ และรับใช้งานพัฒนาชุมชนได้อย่างดี จากที่ ตัวเองทำงานในชุมชน จากปีที่ผ่านมา ได้ร่วมงานกับอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ทำเรื่อง ...การพัฒนาการสื่อสารแบบชุมชนมีส่วนร่วมโดยใช้แหล่งเรียนรู้ชมชนเป็นฐาน.......ระหว่างการทำงาน ก็มีกระบวนการตั้งคำถาม หาคำตอบ ร่วมกันกับชาวบ้าน ...ดิฉันคิดว่า การตั้งคำถามกับชาวบ้านและชาวบ้านได้เล่าเรื่องตัวเอง กิจกรรม หรืออะไรต่างๆนานา........................... ก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับชุมชนมากคะ เพราะเวลาชาวบ้านเล่า เขาเล่าด้วยความภูมิใจ และมีความสุขในสิ่งที่ได้ทำ

อ.ดร.แสวง ครับ 

  • สาเหตุทั้ง 8 ประการที่อาจารย์ปุจฉา-วิสัชนามา แทงใจดำ โดนใจไทยแลนด์มากเลยครับ อ่านไปคิดตามไปใช่หมดเลย จริงหมดเลย ผมขีดเส้นใต้อ่านกลับไปกลับมาหลายเที่ยวเพราะโดนใจมากๆ เหมือนว่าถูกนิ้วจิ้มตากับข้อความที่อาจารย์กล่าวว่าการพิจารณาโครงร่างโครงการวิจัยแบบผลัดกันเกาหลัง พวกมากลากไป...สะใจจริงๆครับ มันค่อนข้างจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ ผมพูดจากความรู้สึกนะครับ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรไม่ทราบ
  • ผมอ่านข่าวสารติดตามข่าวเรื่องงบประมาณสนับสนุนการวิจัยเมืองไทยว่าได้รับน้อย ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ศูนย์จุดเท่าไหร่ผมจำไม่ได้แล้ว ก็ทำให้รู้สึกว่าสงสาร เห็นใจ อยากให้ใส่เม็ดเงินเข้าไปเยอะๆ...แต่ก็ต้องชั่งใจคิดใหม่ทันทีพอได้อ่านบทความของอาจารย์ เห็นอะไรในบทความของอาจารย์ที่อาจารย์แฉ ผ่าสถานการณ์งานวิจัยเมืองไทยออกมาให้เห็นกันจะๆ
  • ผมคิดว่าคงต้องช่วยกันทำงานหนักปรับปรุงคุณภาพงานวิจัยของเมืองไทยกันก่อนให้ได้คุณภาพก่อนแล้วมังครับ ไม่งั้นก็จะสูญเปล่างบประมาณที่จะได้รับเพิ่ม
  • อาจารย์ว่าไงครับ
  • อีกนิดหนึ่งครับเพลงฝรั่งในหน้าบันทึกของอาจารย์เพราะจัง อยากได้เนื้อด้วย จะได้ฝึกร้อง.....ขอบคุณครับ

ครูนงครับ

เป็นที่น่ากลัวครับว่าถ้าเราเติมน้ำไปในโอ่งที่รั่วทั้งถังเติมก็รั่ว โอ่งก็รั่ว

คงจะหกเรี่ยราดเสียหายเยอะเลยละครับ

ฉะนั้น ขณะนี้การเพิ่มงบ ยังไม่ใช่คำตอบ แต่อาจช่วยให้มีคนสนใจทำงานวิจัยมากขึ้นได้ครับ

และอาจมีคนให้เราเลือกมากขึ้น

อยู่ที่ว่าเราจะเสี่ยงแบบไหน

แบบประหยัด ก็ตัดโครงการไม่ได้ประโยชน์ออก เราก็จะเสียกำลังไปบางส่วน

หรือแบบฟุ่มเฟือย ก็โดยขยายงบชั่วคราว แล้วเลือกจับปลาตัวเด่นๆเข้ามาในระบบ แล้วจึงตัดงบลง

หรือจะจัดการงบเป็นช่วงๆ

ให้มีน้ำขึ้นน้ำลงก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจครับ

แต่ผมก็ไม่ทราบว่าแหล่งทุนเขาคิดอะไรอยู่

ผมนำเพลงมาให้แล้วครับ 

How many roads must a man walk down
Before you call him a man?
Yes, 'n' how many seas must a white dove sail
Before she sleeps in the sand?
Yes, 'n' how many times must the cannon balls fly
Before they're forever banned?
The answer, my friend, is blowin' in the wind,
The answer is blowin' in the wind.

How many times must a man look up
Before he can see the sky?
Yes, 'n' how many ears must one man have
Before he can hear people cry?
Yes, 'n' how many deaths will it take till he knows
That too many people have died?
The answer, my friend, is blowin' in the wind,
The answer is blowin' in the wind.

How many years can a mountain exist
Before it's washed to the sea?
Yes, 'n' how many years can some people exist
Before they're allowed to be free?
Yes, 'n' how many times can a man turn his head,
Pretending he just doesn't see?
The answer, my friend, is blowin' in the wind,
The answer is blowin' in the wind.

บ็อบ ดีแลน ร้องเพลงนี้ตั้งแต่ปี 1962 เขาร้องเพลงนี้เพื่อต่อต้านสงครามในเวียดนามและต่อต้านการนองเลือดทุกประเภท เพลงนี้เป็นเพลงที่คลาสสิคมาก เป็นเพลงมาสเตอร์พีซของเขา

คุณดอกแก้วครับ

การวิจัยกับชุมชน หรือผู้ใช้ประโยชน์จริงก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าทำ แต่นักวิจัยเมืองไทยไม่ค่อยชอบ เพราะไปทำเล่นๆตามสบายตัวเองไม่ได้

ในออสเตรเลียที่ผมทราบนะครับ

กลุ่มเกษตรกรเขาให้ทุนวิจัยเรื่องที่เป็นปัญหาเลยว่าแต่ละเรื่องจะแก้อย่างไร

ถ้าแหล่งทุนในไทยให้ทุนผ่านกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็งก็อาจทำได้เช่นเดียวกัน

แต่แหล่งทุนปัจจุบันเขาจะเน้นเอากระดาษเปื้อนหมึก และสิทธิบัตรไปอวดกันนี่สิที่เป็นปัญหาว่าทำยาก เพราะคนไทยส่วนใหญ่ ยังไม่ชินกับวัฒนธรรมกระดาษเปื้อนหมีกและการหวงปัญญา แม้แต่การบันทีกก็ยังมีปัญหาพอสมควร

แต่การวิจัยจริงๆ พอไปได้ระดับหนึ่ง

ถ้าเราเริ่มจากฐานคิดแบบไทย ไม่ไปลอกฝรั่งมา ป่านนี้เราคงไปไกลแล้วครับ

เพราะฐานคิดแบบไทย คนไทยก็ถนัด ของฝรั่งเขาก็คงถนัด

เหมือนจะให้เราไปว่ายน้ำแข่งกับปลา (โดยหลักการว่า ๓ ใน ๔ ของผิวโลกเป็นน้ำ) ยังไม่มีสิทธิ์ชนะแม้แต่จะแข่งกับปลาซิว

ไม่ต้องพูดถึงปลาฉลามหรอกครับ

  • รู้สึกเจ็บเข้าไปในใจครับ
  • เพราะตรงหลายประเด็นมากในสังคมงานวิจัยบ้านเรา
  • โดยเฉพาะข้อนี้ครับ
  • การพิจารณาโครงร่างโครงการวิจัย แบบผลัดกันเกาหลัง พวกมากลากไป “Peer Review”

คุณขจิตอยู่ไกล ยังไงก็ไม่เจ็บเท่าคนอยู่ใกล้หรอกครับ

แต่ก็ขอบคุณที่มาแบ่งเบาความเจ็บใจ

สงสัยจะได้ตั้งชมรมคนเจ็บ ซะละมั้งครับ

ทำให้บางครั้งงานวิจัยของประเทศไทยที่ตีพิมพ์ในวารสาร peer-review ของประเทศไทยไม่ค่อยได้รับความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะวารสารวิจัยของมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งที่มีขึ้นเพื่อให้นักวิจัยและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยตัวเองตีพิมพ์ผลงานเพื่อขอตำแหน่งวิชาการเท่านั้น ฟังแล้วก็หดหู่ครับ

 

 โจทย์ของเล่าฮูเรื่องนี้

เจ๋งมาก สะท้อนคิด เรื่องงานวิจัย ผมขอโยงไปถึงวัฒนธรรมการเรียนรู้ ฝรั่งอยากรู้ อยากเห็น อยากแก้ไขปัญหา เพราะในวิถีชีวิตของเราต้องสู้กับปัญหาให้ได้ เช่นหิมะตกจะมาอ้อยอิ่งมีหวังหนาวชักตาย เกิดเป็นนิสัยที่เอื้อการการวิจัย (ฐานทางวัฒนธรรม)

ชาวโลกตะวันตก โดนธรรมชาติบังคับให้ต้องต่อสู้ และต้องรู้จริง เขาจึงเรียนจริงๆ พอเข้ามาสู่กระบวยการวิจัย ซึ่งจำเป็นต้องมีฐานการกระหายรู้ และสู้กับความจริง เขาจึงพบความเป็นจริงในทุกเรื่อง แล้วเอาต้นทุนแห่งความจริงมาสร้างนวัตกรรมต่อยอดจากความจริงที่สะสมและสะสางจนสมบูรณ์แบบ

ทำให้ สามารถผลิตโทรศัพท์มือถือมาให้เรา  เอาข้าวหลายเกวียนไปซื้อความจริงสำเร็จในรูปของสินค้า

งานวิจัยที่เดินไปถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆของไทยก็คงมี แต่ยังอยู่ในจำนวนที่น้อยมาก ถ้าไปโทษคนจัดสรรงบประมาณ แหล่งทุนที่ไปขอ เราไม่มีตัวอย่าง ข้ออ้างที่เขามองและคิดร่วมกับเขาได้ ถ้ามีงานวิจัยที่นำไปสู่การสร้างความเป็นอยู่ ความก้าวหน้า ทุกสาขาวิชา ทำไมเขาจะเพิ่มงบประมาณให้ไม่ได้  จุดนี้เห็นด้วยกับท่านเล่าฮู ว่าไม่มีเหตุผลที่จะไปตักน้ำใส่โอ่งรั่ว

ในประเด็นที่ไม่ตั้งโจทย์ร่วมกันเป็นจุดด้อยหนึ่งของเรา สิ่งที่เรียกว่าภูมิปัญญาไทย จารีต วัฒนธรรม ตำหรับตำราพื้นบ้าน ทักษะชีวิต กุศโลบาย ความเชื่อ ค่านิยม บ้านเรือนไทย ศิลปะ ฯลฯ

ทั้งหมดนี้คืองานวิจัยสายพันธุ์ไทย แต่นักวิชาการสมัยใหม่มองไม่เห็น เข้าไม่ถึง เข้าใจว่ามันล้าหลัง ถ้าคิดอย่างนั้นก็อย่าพูดภาษาไทย กินอาหารไทย เขียนภาษาไทย สิครับ ทั้งหมดนี้คือแก่นแท้ของงานวิจัยไทย

ซึ่งมีตัวอย่างเชิงประจักษ์มากมาย ชาวบ้านไปคล้องช้างป่ามาขี่คอได้ นี่เขาไปลอกวิชาความารู้มาจากต่างประเทศหรือครับ ต้มยำกุ้ง แกงส้ม ต้มยำไก่ อุหน่อไม้  ลาบ ฯลฯ อาหารทุกชนิด คืองานวิจัยระดับกระดูกดำทั้งนั้น ขอยืนยันว่าไทยแลนด์มีระบบวิจัยที่เข้มแข็งไม่แพ้ฝรั่ง แต่มันซ่อนอยู่ในวิถีไทย

ที่เล่าฮูบอกว่า นักวิจัยไม่ชอบทำงานกับคนด้อยโอกาส ที่แท้ชาวบ้านเสียดายโอกาสที่จะสอนงานวิจัยให้เขา เพราะเขาเหล่านั้นยังไม่ได้เป็นนักวิจัย ถ้าได้มาผ่านวิธีคิดวิธีสอดใส่ความรู้ ระดับปั้นดินให้เป็นดาว เขาถึงจะเป็นนักวิจัยได้

ที่ผมแปลกใจนักวิชาการไปจบมาจากต่างประเทศมากมาย แต่วิธีวิจัย กระบวนการวิจัย วิสัยทัศน์ ต้องานวิจัย ทำไมไม่ทำอบ่างเขาบ้าง ถ้าลอกจุดดีมาทำได้ ก็ยอมรับได้นะครับ แต่ระบบวิจัยของเราในขณะนี้ส่วนใหญ่มันคงเป็นแบบเฉพาะ Thailand กระมั๊ง

ขอสรุปว่า มีงานวิจัย 2 สายพันธุ์

1 งานวิจัยสายพันธุ์ วิชาการ อยู่ในมหาวิทยาลัย

   สถาบัน  หน่วยงาน องค์กรต่างๆ

งานวิจัยสายพันธุ์ไทย อยู่ในวิถีไทย ครัวเรือน

  ชุมชน สังคมชนบทไทย

ที่พูดมทั้งหมดผมอาจจะผิด  แต่จะทำยังไงละ ชาวบ้านบ้องตื้นก็คิดได้แค่นี้แหละ

  

 

ดร.แสวง ครับ

           ขอบคุณสำหรับเนื้อเพลง....ครับ   ปล่อยอารมณ์คลายเครียดได้ดีครับ....ท่อนสองและสามสลับกันครับ

  • แวะมาเรียนรู้ด้วยคนครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
    เห็นด้วยว่าเป็นความจริงทุกประการครับ  และเห็นด้วย และ ฉุกคิดเช่นเดียวกับ ครูนงเมืองคอน  ว่า เพิ่มงบวิจัยแต่ไม่มีมาตรการที่ดี รองรับ ก็คงมีแต่งานวิจัย "ขึ้นหิ้ง" รกบ้านรกเมือง เปลืองกระดาษ และเวลา ทั้งของนักวิจัยและคนอ่าน ก็ได้นะครับ
  .. ผมสรุปถูกมั้ยครับถ้าจะบอกว่า .. งานวิจัยที่ดี ต้องดูขลัง มีอะไรรุงรังที่คนอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง .. การนำไปใช้ประโยชน์ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ไม่ต้องสนใจก็ได้

ดร.แสวง ครับ

          อาจารย์พินิจพูดสรุปความได้ถูกต้องแล้วครับ ที่ว่า ".. ผมสรุปถูกมั้ยครับถ้าจะบอกว่า .. งานวิจัยที่ดี ต้องดูขลัง มีอะไรรุงรังที่คนอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง .. การนำไปใช้ประโยชน์ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ไม่ต้องสนใจก็ได้.."

ครูบาแจงสี่เบี้ยได้อย่างคมชัดลึก จนมองเห็นทะลุปรุโปร่งถึงระบบการวิจัยในไทย

ที่ควรจะปรับตัวอย่างไร

ครูนง อาจารย์พินิจได้ลงดาบสองสะท้อนวิธีคืดของนักวิจัยไทยที่ดีมาก

อาจารย์แก่ (ขอโทษถ้าเรียกผิด)

เข้ามาสำทับ ระบบประเมินแบบ Inbreed แบบเตี้ยอุ้มค่อม ผลัดกันเกาหลัง พอรอดๆไป

แล้วทาง สภาวิจัยฯ กับ สกว. และแหล่งทุนอื่นๆ เขามองอะไรอยู่ หรือเขาก็ประเภทเดียวกันครับ

หรือ ตามสไตล์ที่ผมเคยได้ยิน "แมลงวันไม่ตอมกันเอง"

สาธุ.... อย่าให้เกิดในวงการวิจัยเล้ย....

ครูนงครับ

ขอโทษที่ผิดพลาดในการสลับเนื้อเพลง

ผมก็ไม่ได้ดู copy ต่อๆกันมา

นี่แหละเทคโนโลยีทันสมัย จนทำให้เราโง่โดยไม่รู้ตัว

เป็นบทเรียนที่ดีอีกอันหนึ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท